จากช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งก็ผ่านมาประมาณเกือบ 2 ปีแล้ว
ส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
เนื่องจากนักเรียนต้องเรียนออนไลน์ !!
ก็อย่างที่คุณครูทุกๆท่านทราบดีแหละครับว่าปัญหา มหาศาลมาก
วันนี้ผมได้แบ่งปัน หนึ่งวิธี (ซึ่งอาจจะดีมาก หรืออาจจะพื้นฐานนะครับ แค่อยากแบ่งปัน)
เป็นการจัดการเรียนการสอนเรื่อง การใช้กล้องจุลทรรศน์ แต่เป็นกล้องจุลทรรศน์ออนไลน์
หน้าตาประมาณนี้นะครับ ลิงก์ : ncbionetwork.org/iet/microscope
เป็นภาษาอังกฤษ
ซึ่งส่วนตัวผมเองได้ลองนำไปจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาชีววิทยา
ถือว่าได้ผลดีในระดับหนึ่ง (น่าจะดีกว่าการเรียนเลคเชอร์ในสไลด์)
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ได้ค้นคว้าหาศัพท์ภาษาอังกฤษใหม่ๆ
และได้ลองฝึกใช้เทคโนโลยีครับ
สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผมเขียนไว้ อาจจะไม่ละเอียด แต่คิดว่าอาจเป็นแนวทางให้หลายๆท่านนำไปปรับใช้ได้ครับ
ปล. สำหรับบางโรงเรียนที่ขาดแคลนกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
การใช้กล้องจุลทรรศน์ออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอน ส่วนตัวผมคิดว่าพอจะทดแทนได้ครับ
ภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ครับ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เลยครับ
ส่วนอันนี้เป็นภาพการจัดการเรียนการสอนออนไซต์ครับ ถือว่าดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้ดีเลยครับ
ผลงานนักเรียน : การศึกษาเซลล์สิ่งมีชีวิตใต้กล้องจุลทรรศน์ออนไลน์
จัดทำโดย : นางสาวสร้อยสวรรค์ รักนาควน นักเรียนโรงเรียนละแมวิทยา จังหวัดชุมพร
จัดทำเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565
ลิงก์ : drive.google.com/file/d/1B3ho1iSJnwR3_QDSqzH8A1VMvY-DK4e-/view?usp=sharing
ในส่วนของเนื้อหาที่เป็น Presentation การใช้กล้องจุลทรรศน์ออนไลน์
หากท่านใดสนใจ จะนำไปใช้ปรับแก้สามารถติดต่อได้ตามช่องทางด้านล่างนะครับ
Facebook : Khata Khatahat
Instragram : Goblingz
E-mail : [email protected]
ท้ายสุดนี้
ขอขอบพระคุณช่องทางสื่อที่ทำให้ผมได้ต่อยอดการจัดการเรียนการสอน
จากศึกษานิเทศก์สุจินต์ ภิญญานิล ศึกษานิเทศก์ สพม.สุราษฏร์ธานี ชุมพร ด้วยครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!