icon
giftClose
profile

ตลาดเตลิด

40768
ภาพประกอบไอเดีย ตลาดเตลิด

ชวน นร. เรียนรู้เกี่ยวกับตลาดตามประเภทการแข่งขัน (แข่งขันสมบูรณ์/แข่งขันไม่สมบูรณ์)

อุปกรณ์ที่ใช้วันนี้มี การ์ดตลาดเตลิด,ฝาจีบ (แทนเงินเหรียญ) และกระดาษสำหรับจดบันทึกการเล่น

ก่อนเริ่มก็เตรียม นร. กันก่อน...

  1. แจกเหรียญ 5 เหรียญให้ นร. ทุกคน
  2. สุ่มแจกการ์ดตลาดให้ นร.คนละ 1 ใบ โดยจำนวนการ์ดตลาด แบ่งประเภท ดังนี้
  • ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ > 15 ใบ
  • ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ไม่เกิน 7 ใบ
  • ตลาดผู้ขายน้อยราย 3-4 ใบ
  • ตลาดผูกขาด 1 ใบ

**จำนวนการ์ดตลาดรวมทั้งหมดให้พอดีกับนักเรียนในห้อง**

เท่ากับว่าทั้งห้องจะ นร. ได้ตลาดผูกขาดแค่ 1 คน



บทบาทผู้เล่น

บทบาทของครูเป็นผู้ซื้อ(อาจมีบางตาสลับเป็นรัฐบ้าง) บทบาทของนักเรียนเป็นผู้ขาย

เป้าหมายของผู้ขาย (นร.)

นร. แต่ละคนแต่ละตลาดจะต้องมีเหรียญให้มากที่สุดนะ

พร้อมแล้วก็เริ่มเกม!!!

รอบตลาด

  1. ครูให้นักเรียนต้องราคาสินค้าอยู่ในช่วง 5 - 20 เหรียญ จะตั้งกี่บาทก็ได้โดยห้ามบอกให้เพื่อนในตลาดเดียวกันรู้
  2. ครูไล่การซื้อขายไปทีละตลาด เช่น รอบตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ให้ นร. ที่อยู่ตลาดนี้ตั้งราคาสินค้า (อยู่ในเรท 5 – 20 เหรียญ)

ร้านไหนถูกสุด ครูซื้อร้านนั้น//ถ้าเป็นตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด และตลาดผู้ขายน้อยราย ครูอาจจะซื้อจากราคาที่ถูกที่สุด หรือซื้อตามใจชอบก็ได้ //ส่วนตลาดผูกขาดที่มีอยู่ 1 ราย ยังไงครูก็ต้องซื้ออยู่แล้ว (นร.เริ่มโวยวายว่าทำไมไม่ซื้อของหนู บางคนถามเพื่อนว่าขายกี่เหรียญทำไมครูถึงซื้อ)

**เสร็จรอบนี้ลองให้ปรับราคาและเล่นอีก 2 รอบ**

**ในรอบที่ 2 - 3 นี้ นร.ที่เป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์เริ่มปรับราคาให้ใกล้เคียงกันมากขึ้น แทบจะอยู่ที่ราคาต่ำสุดคือ 5 เหรียญ ในขณะที่ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดและผู้ขายน้อยรายก็เช่นเดียวกัน แต่ราคาจะสูงกว่าและเกาะกลุ่ม ขณะที่ตลาดผูกขาดแน่นอนว่ามีเจ้าเดียวซึ่งราคาไม่ต่ำกว่า18 เหรียญจนถึง 20 เหรียญทีเดียว


รอบรัฐช่วย

รัฐแจกเงินอุดหนุนให้แต่ละตลาด เช่น

  • ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ แจก 1 เหรียญ
  • ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด แจก 2 เหรียญ
  • ตลาดผู้ขายน้อยราย แจก 3 เหรียญ
  • ตลาดผูกขาด แจก 5 เหรียญ


แต่เงินที่ได้มา...สุดท้ายก็ต้องใช้

รอบการเข้าสู่ตลาด (เรียนรู้การเข้าสู่ตลาดของผู้ขายรายใหม่)

นร.จะต้องซื้อตลาดใหม่(จะซื้ออันเดิมก็ได้) โดยมีราคาที่ต้องจ่ายให้กับรัฐ เช่น

  • ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ จ่าย 2 เหรียญ //ถ้าปรับใหม่อาจจะไม่ต้องจ่ายเลยก็ได้ ให้เข้าแบบเสรีไปเลย//
  • ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด จ่าย 5 เหรียญ
  • ตลาดผู้ขายน้อยราย จ่าย 7 เหรียญ
  • ตลาดผูกขาด จ่าย 15 เหรียญ

ด้วยเงินเหรียญที่มี นร. จำเป็นต้องเลือกเข้าสู้ตลาดที่ตนเองจ่ายไหว ซึ่งแน่นอนตลาดผูกขาดมีคนที่จ่ายไหวแค่ 1 ราย (เจ้าเดิม)

ให้ นร. ลองนับเหรียญที่มีว่าเหลือเท่าไหร่...




แล้ว ชวน นร. กด SAVE กิจกรรม

  1. จำนวนเหรียญที่ให้ไปเท่า ๆ กันในรอบแรกสื่อถึงอะไรได้บ้าง //คำตอบกว้างมาก ตั้งแต่เงินทุนไปจนถึงความเท่าเทียมต่าง ๆ
  2. จำนวนผู้ขายแต่ละตลาดเป็นยังไง ตลาดไหนผู้ขายมีจำนวนมาก ตลาดไหนผู้ขายจำนวนน้อย
  3. ครูเลือกซื้อสินค้าในราคาแบบไหน //ราคาถูกที่สุด แต่บางตลาดครูก็ไม่ได้ซื้อเพราะราคาต่ำสุดนะ เป็นเพราะอะไรได้บ้าง
  4. ในรอบที่ 2 - 3 นร.ที่เป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ยังตั้งราคาตามความต้องการของตนเองอยู่ไหม หรือปรับราคาให้เป็นไปตามราคาอุปสงค์
  5. ทำไมตลาดผูกขาดเหลือเหรียญเยอะกว่าตลาดอื่น ๆ
  6. การเข้าสู่ตลาดของผู้ขายรายใหม่ ตลาดไหนเข้ายากเข้าง่ายบ้าง //ครูลองนับจำนวนแล้วเขียนบนกระดาน
  7. รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในตลาดไหม มีส่วนสร้างเงื่อนไขในการเข้าตลาดไหม ?
  8. ชวนดูจำนวนเหรียญที่ได้มา จ่ายไป และที่เหลือว่า ในชีวิตจริงอาจจะไม่ใช่แค่จำนวน 1 เหรียญ 10 เหรียญ 50 เหรียญ แต่อาจหมายถึง 1 ล้านเหรียญ 10 ล้านเหรียญ หรือ 50 ล้านเหรียญ ก็เป็นได้



สุดท้ายก็โยงเข้ากับส่วนสุดท้ายของใบงานคือการสรุปโครงสร้างตลาดประเภทแข่งขัน


จบคาบนี้ก็คิดกิจกรรมสู้กับความง่วงของนักเรียนต่อไป ตามคอนเซปป์ เล่น-เล่น-สลบ


กิจกรรมนี้ผมดัดแปลงมาจากกิจกรรม Classroom Activity- The Four Market Structures Candy Simulation

ถ้าสมาชิกท่านใดสนใจสามารถตามไปชมได้ ที่นี่ครับ

youtu.be/KGrmnynjHjI


หากมีข้อเสนอแนะตรงไหน..ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนครับ

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 6

ชื่อไฟล์​: ใบงานเกม ตลาดเตลิด.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 183 ครั้ง


แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(22)
เก็บไว้อ่าน
(25)