ผู้สอนได้ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้เพิ่มเติม และได้ประมวลความรู้ในการพัฒนานวัตกรรม “Active Learning นี้มีการศึกษาหลักวิชาการเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ และหลักวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา อ้างอิงในการจัดทำ ทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม คือ .ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และการจัดสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายตามหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ผู้สอนจึงใช้แนวคิดทฤษฎีดังกล่าวมาใช้ในการสร้าง กระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Problem – based Learing : PBL ( การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ) และจัดกิจกรรมแบบ Active Learning เพราะเป็นกระบวนการการจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้ลงมือกระทำ
การจัดกิจกรรม 4 รู้โมเดล PEUT MODEL เน้นให้ผู้เรียนใช้ นวัตกรรม 4 รู้โมลเดล (PEUT MODEL) ได้แก่ 1) รู้เล่น ( P:Play) คือ รู้จักการเล่นกีฬาต่างๆเพื่อส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง 2) รู้กิน ( E:Eat ) คือ รู้จักการรับประทานอาหารและการบริโภคอาหารที่มีความเหมาะสม 3) รู้ใช้ ( U:Use ) คือ รู้จักใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างฉลาดและมีความปลอดภัย 4) รู้คิด ( T:Think ) คือ สามารถคิดวิเคราะห์และนำไปใช้กับตนเองได้อย่างถูกต้อง ล้วนเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น เกิดจากการเล่น การลงมือปฏิบัติจริง และการร่วมกิจกรรมกลุ่ม ที่จัดขึ้นเน้นที่จะให้เกิดทักษะด้านต่างๆ มีการใช้ความรู้ใช้องค์ความรู้ที่ได้รับ หรือความสามารถที่มีในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น หรือการบริการสังคม จะทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการเรียน เห็นคุณค่าของตนเอง ส่งผลให้นักเรียนตั้งใจเรียนหรือทำกิจกรรมในรายวิชาหรือเรื่องอื่นๆ
กิจกรรมที่ 1 ให้นักเรียนทำแบบประเมินความรอบรู้สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส.ก่อนทำกิจกรรม และดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงด้วย เครื่องชั่ง และเครื่องวัดที่ได้มาตรฐาน คัดกรองนักเรียนทีมีภาวะทุพโภชนาการมีส่วนสูงไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานและมีการบันทึกข้อมูลน้ำหนักส่วนสูงลงในแบบบันทึก เพื่อนำไปเป็นข้อมูลภาวะโภชนาการ โดยใช้โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ เด็กอายุ 0-19 ปี ( Growth Nutri Program-HPC1) ของกรมอนามัย และจัดทำทะเบียนนักเรียนที่มีภาวะอ้วน ผอม
กิจกรรมที่ 2 รู้เล่น ( P:Play) ฝึกปฏิบัติออกกำลังกายส่งเสริมสุขภาพด้วยการเต้นแอโรบิคด้วยตารางเก้าช่อง (Exercise diary) และกิจกรรมการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การละเล่นกีฬาต่างๆ โดยเต้นในกิจกรรมหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียนและในชั่วโมงเพิ่มเวลาเรียนลดเวลารู้ และในวิชาพละศึกษา
กิจกรรมที่ 3 รู้กิน ( E:Eat ) ค้นหาสาเหตุ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่เป็นปัญหาและแนวทางแก้ไข ค้นหารูปแบบในการดำเนินชีวิตประจำวันของนักเรียน และวางเป้าหมายควบคุมน้ำหนัก ค้นหาแรงจูงใจ เสริมความคิดเชิงบวกและแรงสนับสนุนให้กับนักเรียน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านการบริโภคอาหาร (Food diary) การวางแผนพฤติกรรมสุขภาพ การเสริมแรงจากภายนอก โดยมีการใช้สื่อการเรียนรู้ชุดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและข้อมูลสารสนเทศด้านภาวะโภชนาการของนักเรียน เรื่องโภชนาอาหารที่ควร อาหารดีมีประโยชน์ ผัก 5 สี อาหารดีมีประโยชน์ โภชนาการธงโภชนาการ
กิจกรรมที่ 4 รู้ใช้ ( U:Use ) สอนรู้จักใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างฉลาดและมีความปลอดภัย สร้างความเข้าใจให้ความรู้กับนักเรียนการอ่านฉลากโภชนาการอาหารเพื่อสุขภาพ เครื่องหมายสินค้า กิจกรรมเปรียบเทียบฉลากผลิตภัณฑ์ กิจกรรมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจะนำไปถ่ายทอดและขยายผลให้กับครอบครัวและชุมชน
กิจกรรมที่ 5 รู้คิด ( T:Think ) คือ สามารถคิดวิเคราะห์จากกิจกรรมทำดำเนินการที่ผ่านมาทั้งหมด นำไปประมวลผลปรับประยุกต์และนำไปใช้กับตนเองและคนรอบข้างได้อย่างถูกต้อง ล้วนเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น เกิดจากการเล่น การลงมือปฏิบัติจริง และการร่วมกิจกรรมกลุ่ม ที่จัดขึ้นเน้นที่จะให้เกิดทักษะด้านต่างๆ มีการใช้ความรู้ใช้องค์ความรู้ที่ได้รับ หรือความสามารถที่มีในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น หรือการบริการสังคม จะทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการเรียน เห็นคุณค่าของตนเอง ส่งผลให้นักเรียนตั้งใจเรียนหรือทำกิจกรรมในรายวิชาหรือเรื่องอื่นๆ ติดตามผล การควบคุมตนเอง รู้จักคิดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร (Food diary) พฤติกรรมสุขภาพ การอ่านฉลากโภชนาการอาหารเพื่อสุขภาพ เครื่องหมายสินค้าเปรียบเทียบฉลากผลิตภัณฑ์
กิจกรรมที่ 9 ประเมินความก้าวหน้าในการปฏิบัติด้านการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกายการออกกำลังกาย พฤติกรรมสุขภาพ การอ่านฉลากโภชนาการอาหารเพื่อสุขภาพ เครื่องหมายสินค้าเปรียบเทียบฉลากผลิตภัณฑ์ เสริมแรงด้านกำลังใจ และสรุปกิจกรรมทั้งหมด การให้รางวัล สำหรับผู้ที่ลดน้ำหนักได้ และรางวัลสำหรับนักเรียนที่มีพฤติกรรมการบริโภคและกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม กิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจสมรรถภาพทางกาย และการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ให้คำชมเชย ให้รางวัลและให้กำลังใจนักเรียนและเสริมแรงให้กับนักเรียนในทางบวก และทำแบบประเมินความรอบรู้สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. หลังทำกิจกรรม
3. ขั้นตรวจสอบ (Check ) ตรวจสอบผลการดำเนินงานเป็นขั้นตอนการตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานตามกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งปรับปรุงระหว่างดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม
- เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยประเมินความรอบรู้สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส.การกำกับตนเองในการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การกำกับตนเองในการดูแลสุขก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรม
- แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม
- มอบรางวัลให้กับนักเรียนต้นแบบ /เกียรติบัตร
- วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปข้อมูล
4. ขั้นปรับปรุงแก้ไข ( Action ) เป็นการปรับปรุงแก้ไข พัฒนากิจการดำเนินงานตามโครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นพัฒนาการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการให้มีความครอบคลุม ความถูกต้องกิจกรรม ดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่ได้มาตรฐานทุกเดือน การออกกำลังการที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การตรวจสอบฉลากโภชนาการอาหารเพื่อสุขภาพ เครื่องหมายสินค้า ซึ่งนักเรียนได้ศึกษาสื่อและได้เข้าร่วมกิจกรรมแล้วสามารถวิเคราะห์ และนำมาใช้กับตนเองครอบครัวและชุมชนได้อย่างถูกต้อง
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!