สารประกอบแต่ละชนิดจะมีสูตรเคมีที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของธาตุที่เป็นองค์ประกอบ พันธะที่เกิดระหว่างอะตอม เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างของสารประกอบต่าง ๆโดยเฉพาะสารประกอบไอออนิกที่การเขียนสูตรจะพิจารณาถึงอัตราส่วนไอออน เช่น สารประกอบแมกนีเซียมออกไซด์ ซึ่งประกอบด้วยแมกนีเซียมไอออน (Mg2+) และออกไซด์ไอออน(O2-) ซึ่งผู้ที่เริ่มเรียนใหม่มักจะเขียนผิดเป็น Mg2O2 แทนที่จะเขียนด้วย MgO ทำให้เกิดความผิดพลาดในการเขียนสูตรเคมี
เพื่อให้สะดวกแก่ครูผู้สอนและนักเรียน ผมจึงได้ออกแบบกิจกรรมที่ผู้เรียนสามารถฝึกฝนได้ตลอดเวลา จึงได้เลือกใช้แอพลิเคชันที่เด็กนักเรียนส่วนมากนิยมใช้ นั่นคือแอพลิเคชัน Instagram โดยนักเรียนส่วนมากนิยมใช้เพื่อแชร์เรื่องราวและถ่ายถอดเรื่องราวในแต่ละวันเพื่อให้ผู้ติดตามและเพื่อน ๆ ผมจึงได้การนำเอาประโยชน์จากส่วนนี้มาใช้เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดให้ผู้ที่พบเห็นได้ในวงกว้างอีกด้วย
เพราะผมคิดเสมอว่า "เมื่อครูรู้ว่าผู้เรียนอยู่ที่ใด ให้จัดการเรียนรู้ที่นั้น" ซึ่งไม่ได้หมายถึงสถานที่ที่หมายถึงตำแหน่ง แต่หมายถึงบริบทของสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้
การออกแบบและสร้างสรรค์
การคัดเลือกสารประกอบ
ในการคัดเลือกสารประกอบที่จะนำมาใช้การสร้างฟิลเตอร์นี้ได้พิจารณาถึง
ซึ่งเป็นสารประกอบที่นักเรียนสามารถพบเจอได้บ่อยในเนื้อหาเคมีพื้นฐานในระดับการศึกษาปัจจุบัน และในอนาคต นักเรียนจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจและฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ
การสร้างฟิลเตอร์
ภาพประกอบได้ถูกสร้างจากแอพลิเคชัน Procreate และฟิลเตอร์นี้ได้ถูกสร้างจากโปรแกรม Spark AR ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรีที่สามารถดาวน์โหลดได้จาก https://sparkar.facebook.com/ar-studio/download/
การนำไปใช้
ฟิลเตอร์นี้ได้ถูกนำไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากการสอนเรื่อง การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก โดยใช้เป็นการประเมินนักเรียนจากการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนบันทึกวิดีโอและส่งลงกลุ่มเพื่อที่จะนำวิดีโอมาแสดงและร่วมกันอภิปรายผ่าน นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถใช้ในการทบทวนเพื่อให้เกิดความชำนาญได้อีกด้วย
จากการสอบถามพบว่าผู้เรียนมีความสนุกที่ได้ลองใช้ฟิลเตอร์นี้เนื่องจากการตอบคำถามจำเป็นต้องตอบแข่งกับเวลา และสามารถประเมินตนเองได้ว่าตอบถูกหรือตอบผิด พร้อมถึงยังสามารถกลับมาย้อนทบทวนในสิ่งที่ตนเองตอบไปได้อีกด้วย
หลังจากการเรียนรู้ และใช้ฟิลเตอร์นี้ผู้เรียนมีความเข้าใจในการทำนายสูตรสารประกอบไอออนิกมากขึ้น และสามารถทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้อง และเมื่อพิจารณาการเข้าใช้จากผลในภาพรวมจากทางสถิติของ Spark AR Hub ตลอดระยะเวลาที่เปิดใช้งานฟิลเตอร์ไอจีนี้พบว่า
มีผู้เข้าใช้มากถึง 9000 คน กดถ่ายภาพ วิดีโอ 1700 คน และบันทึกวิดีโอนี้ทั้งสิ้น 427 คน
ช่วงอายุส่วนใหญ่ที่ใช้งานคือ 13-17 ปี มีจำนวน 44% ซึ่งตรงกับกลุ่มเป้าหมายของการเรียนรู้ และที่น่าแปลกใจคือผู้เรียนในช่วงอายุ 18-24 (41%) ซึ่งตรงกับผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถคาดเดาได้ว่าผู้ที่เข้าใช้มีความสนใจในการใช้ฟิลเตอร์นี้เพื่อทบทวนและฝึกฝนการทำนายสูตรไอออนิก
จากข้อมูลดังกล่าวที่กล่าวมา ทำให้เห็นว่า การใช้ฟีเจอร์ ฟิลเตอร์ของอินสตาแกรม สามารถใช้ในการประเมินผลจากการเรียนรู้ และสามารถใช้ในการทบทวนหรือฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญได้อีกด้วย สำหรับผู้อ่านท่านใดที่ต้องการทดลองใช้ หรือนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนก็สามารถใช้ได้ผ่าน Ig filter : https://www.instagram.com/ar/859312621392993/
หรือหาจาก profile ของไอจีของผม piiragan ( https://www.instagram.com/piiragan/ ) ได้เลยนะครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!