icon
giftClose
profile

มงกุฎผู้ทรงอำนาจ

55372
ภาพประกอบไอเดีย มงกุฎผู้ทรงอำนาจ

เรียนรู้การถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตย รายวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยถือเป็นเรื่องสำคัญมากอย่างหนึ่งในระบอบประชาธิปไตย กิจกรรมมงกุฎผู้ทรงอำนาจนี้จึงจะช่วยทำให้นักเรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการถ่วงดุลอำนาจกันของทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติญัญติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ


อุปกรณ์

1. มงกุฏ (พับจากกระดาษ หรือถ้ามีงบประมาณสามารถซื้อหรือทำให้ดีกว่าเดิมได้)


วิธีการเล่น

1. ครูทบทวนเนื้อหาเรื่องอำนาจอธิปไตยก่อนเริ่มกิจกรรม

2. ครูแบ่งทีมเป็น 2 หรือ 3 ทีม โดยครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 ทีม คือ ทีม A ทีม B และทีม C (ถ้าคนน้อยก็แบ่งแค่ 2 ทีม)

3. ครูอธิบายเกี่ยวกับวิธีการทำกิจกรรมมงกุฎผู้ทรงอำนาจ มีรายละเอียดดังนี้

- มงกุฎผู้ทรงอำนาจมีทั้งหมด 2 หรือ 3 มงกุฎ แต่ละมงกุฎจะถูกสมมติว่ามีอำนาจเท่าเทียมกัน และมีอำนาจวิเศษอยู่ 2 ประการ

- อำนาจประการแรก คือ ผู้ที่สวมมงกุฎสามารถออกคำสั่งให้เพื่อน ๆ ทีมตรงข้ามทำตามที่ตนต้องการได้ โดยเลือกคำสั่งใดก็ได้ 1 อย่างจากคำสั่งทั้งหมด 3 อย่าง คือ 1) ปรบมือ 10 ครั้ง 2) ให้ลุกขึ้นและนั่งลงด้วยความรวดเร็ว 3) ให้หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ (อาจปรับเปลี่ยนคำสั่งได้ตามความเหมาะสม)

- อำนาจประการที่สอง คือ ผู้ที่สวมมุงกฎสามารถปกป้องสมาชิกในทีมตัวเองได้ เมื่อโดนทีมตรงข้ามสั่งให้ทำตามคำสั่ง โดยผู้สวมมงกุฎต้องพูดว่า "ข้าขอปฏิเสธ" คำสั่งของอีกทีมจะไม่มีผลทันที และสามารถปฏิเสธได้ตลอด

- ทีมไหนที่ไม่มีผู้สวมมงกุฎจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของทีมที่มีมงกุฎเท่านั้น ไม่สามารถปฏิเสธคำสั่งได้

4. ให้แต่ละทีมเลือกผู้นำที่สมควรได้รับมงกุฎมาสวม 1 คน

5. ครูมอบมงกุฎผู้ทรงอำนาจให้กับผู้นำในทีม A ก่อน จากนั้นให้นักเรียนที่สวมมงกุฎทีม A ออกคำสั่ง 1 ครั้ง เพื่อทดลองทำกิจกรรม

.

.

6. ครูมอบมงกฎให้นักเรียนในทีม A เพิ่มอีก 1 คน โดยไม่ซ้ำกับคนเดิม แล้วให้นักเรียนที่สวมมงกุฎทีม A คนใหม่ออกคำสั่ง 1 ครั้ง จากนั้นครูถามนักเรียนทีม B และ C ว่า “รู้สึกอย่างไรบ้างที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเพื่อนอีกทีมอย่างเดียวโดยไม่สามารถปฏิเสธได้” ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น โดยครูคอยเสริมคำตอบให้นักเรียนตอบให้ใกล้เคียงกับเรื่องของความยุติธรรมหรือความเท่าเทียม

7. ครูนำมงกุฎของทีม A กลับมา 1 อัน แล้วมอบให้กับผู้นำในทีม B และทีม C จากนั้นให้ทีม A ออกคำสั่งกับทีม B และทีม C อีก 1 คำสั่ง แล้วให้สังเกตว่าทีม B กับทีม C จะปฏิบัติอย่างไร

8. ครูสลับให้แต่ละทีมได้ลองออกคำสั่งกับทีมอื่น ๆ แล้วคอยสังเกตและสอบถามว่าแต่ละทีมรู้สึกอย่างไรขณะทำกิจกรรม

9. เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วครูสรุปกิจกรรม แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาการถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตย


กิจกรรมนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ม.1 ใช้ประกอบการสอนเรื่องการถ่วงดุลอำนาจอธิปไตย เวลาในการดำเนินกิจกรรม 15 - 20 นาที โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เล่น

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(10)
เก็บไว้อ่าน
(15)