inskru
gift-close

กิจกรรม ศิลปะแมนดาลา (Mandala Art)

0
0
ภาพประกอบไอเดีย กิจกรรม   ศิลปะแมนดาลา (Mandala Art)

จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป

1.ขอบเขตเนื้อสาระ      

       จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป

 

2. วัตถุประสงค์ (K-S-A)

        2.1ความรู้ (K)

         เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของ จิตตะ ได้

        2.2 ทักษะ (S)

         ๑. ผู้เรียนสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชิ้นงานได้

         ๒. ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นได้

        2.3 คุณธรรม (A)

         ผู้เรียนมีความอดทน รู้จักควบคุมตนเอง มีความละเอียดพิถีพิถันในการทำงานมากขึ้น

 

3.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

        3.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

ขั้นจุดประกายความใฝ่รู้

       ๑. นำผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์ นั่งสงบนิ่งเป็นเวลา ๒ นาที

       ๒. ผู้สอน เล่าถึงความเป็นมาว่า มันดาลา คือมณฑลแห่งการตรัสรู้ เป็นความเชื่อ และเป็นศิลปวัฒนธรรมแต่โบราณของพระนิกายมหายาน หรือลามะ ซึ่งการสร้างมันดาลา นั้นมีความเชื่อ และประเพณีที่สืบทอดกันมานาน เป็นศิลปวัฒนธรรมขั้นสูงของพระทิเบต แต่ละชิ้นนั้น ต้องใช้เวลาสร้างสรรค์นาน การสร้างมันดาลานั้น มีหลายแบบแต่แบบของพระทิเบต นั้นจะสร้างด้วยการพ่นทราย โดยเชื่อกันว่าการสร้างมันดาลา คือการบรรลุธรรมอย่างนึง เมื่อสร้างมันดาลาเสร็จแล้ว เหล่าลามะจะทำการแผ่สมาธิ และสวดบทใหญ่ๆ หลังจากนั้นจะทำลายทิ้ง โดยการโกยทรายบรรจุเข้าโถ และนำไปทิ้งสู่แม่น้ำ

       ๓. ครูตั้งคำถามชวนคิด - เพราะอะไรพระธิเบตจึงทำมันดาลาขึ้นมาแม้จะใช้เวลามากในการทำ - เมื่อทำด้วยความยากลำบากทำไมพระธิเบตจึงทำลายมันดาลาทิ้ง

       

       

       3.2 ขั้นกิจกรรม

ขั้นปฏิบัติกิจกรรม

       ๑. ผู้สอนเตรียมแผ่นภาพมันดาลาหลากหลายแบบไว้บนโต๊ะ พร่อมกับสีหลากหลายชนิด

       ๒. ผู้สอนบอกกติกากับผู้เรียน ว่า

         - ผู้สอนให้นักเรียนจับกลุ่มกัน ๖ คน ให้ตัวแทนมาหยิบสีที่จัดไว้

         - (มีแผ่นภาพมันดาลาวางอยู่บนโต๊ะ) ให้ผู้เรียนลุกมาเลือกภาพที่เราชอบที่สุดคนละ ๑ ภาพ เมื่อได้ภาพแล้ว กลับเข้ากลุ่มเดิม

       ๓. ผู้สอนบอกผู้เรียนให้ดูภาพที่ตนเองเลือกมา หาจุดศูนย์กลางภาพ ดูลายเส้นที่โยงใยรวมกันเป็นภาพนี้ ให้ผู้เรียนหลับตาสงบนิ่ง ๑ นาที

       ๔. ผู้สอนให้ผู้เรียนลงมือระบายสีภาพ โดยให้ผู้เรียนเลือกชนิดของสีที่ตนเองถนัดหรือชอบ และเมื่อระบายสีเสร็จแล้วให้ผู้เรียนคิดและเขียนความหมายของภาพไว้ด้านหลัง

       ๕. ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในกลุ่ม ว่า

         - เพราะอะไรจึงเลือกภาพนี้

         - เมื่อดูภาพของเราแล้วทำให้คิดถึงเหตุการณ์อะไรในชีวิต

         - ภาพนี้มีความหมายว่าอย่างไร เพราะอะไรจึงให้ความหมายเช่นนั้น

ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้

       ผู้สอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบ (สอนบันทึกคำตอบลงบนกระดาน) ว่า

         ๑. ขณะที่ระบายสีลงบนภาพมีความรู้สึกอย่างไร

         ๒. ผู้เรียนมีวิธีจัดการอารมณ์ที่เกิดขึ้นขณะระบายสีอย่างไร

         ๓. ได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้

         ๔. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนหรือการทำงานอย่างไร

        3.3 ขั้นสรุป

       ขั้นสรุปการเรียนรู้

       - ผู้สอนให้ตัวแทนนักเรียนสรุป

       - ผู้สอนสรุปกิจกรรม

 

4.สื่อ/อุปกรณ์

   - แผ่นภาพมันดาลา

   - สีเทียน สีไม้ สีชอล์ค สีน้ำ สีเมจิ สีที่ใช้ระบายได้

   – กระดาษฟลิบชาร์ต

 

5.การประเมินผล

   - การสังเกตุพฤติกรรมผู้เรียน - ชิ้นงาน


ไฟล์ที่แบ่งปัน

    พระพุทธศาสนา

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    OLE active
    ^_^ "เราจะสร้างห้องเรียนวิชาพระพุทธศาสนาที่มีชีวิติและความหมายต่อผู้เรียนได้อย่างไร" ^_^ "สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย"

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ