icon
giftClose
profile

กิจกรรม นิทานชาดก

29122
ภาพประกอบไอเดีย กิจกรรม   นิทานชาดก

ชาดก คือ เรื่องราวของพระพุทธเจ้าในชาติต่าง ๆ ก่อนที่จะมาประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายการศึกษาชาดกทำให้เราได้ข้อคิดและคุณธรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้และเป็น แบบอย่างในการดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง เช่นทีฆีติโกสลชาดก ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการรู้จักให้อภัย สัพพทาฐิชาดก ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการ

1. ขอบเขตเนื้อสาระ    

       ชาดก คือ เรื่องราวของพระพุทธเจ้าในชาติต่าง ๆ ก่อนที่จะมาประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายการศึกษาชาดกทำให้เราได้ข้อคิดและคุณธรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้และเป็น แบบอย่างในการดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง เช่นทีฆีติโกสลชาดก ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการรู้จักให้อภัย สัพพทาฐิชาดก ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการไม่หลงอำนาจ

 

2. วัตถุประสงค์ (K-S-A)

        2.1ความรู้ (K)

       ความรู้ (Knowledge)นักเรียนสามารถอธิบายเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทีฆีติโกสลชาดก และสัพพทาฐิชาดกได้

         -การสื่อสาร

         -ความคิดเชื่อมโยง

         -การคิดวิเคราะห์

         -ความคิดสร้างสรรค์

        2.2 ทักษะ (S)

         -การสื่อสาร

         -ความคิดเชื่อมโยง

         -การคิดวิเคราะห์

         -ความคิดสร้างสรรค์

        2.3 คุณธรรม (A)

         ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการศึกษาทีฆีติโกสลชาดก และสัพพทาฐิชาดก สามารถนำข้อคิดดังกล่าวไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

3.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

        3.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

       ผู้สอนอธิบายความเป็นมาเกี่ยวกับชาดก คือ เรื่องราวของพระพุทธเจ้าในชาติต่าง ๆ ก่อนที่จะมาประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายและอธิบายถีงการศึกษาชาดกทำให้เราได้ข้อคิดและคุณธรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้และเป็น แบบอย่างในการดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง

       

        3.2 ขั้นกิจกรรม

       ขั้นตอนที่ ๑ เสริมสร้างสติ

         ๑. ผู้สอนทักทายนักเรียนอย่างเป็นกัลยาณมิตร

         ๒. ผู้เรียนไหว้พระสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยทํานองแปล

 

       ขั้นที่ ๒ กระตุ้นจิตให้ใฝ่รู้

       ผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้สนใจที่จะเรียนรู้ ด้วยการให้คําถามชวนคิด “เราจะมีวิธีหาประโยชน์จากเรื่องที่คนอื่นเล่าให้ฟังได้อย่างไรบ้าง”

 

       ขั้นที่ ๓ รับรู้ประสบการณ์

       ผู้สอนแจกใบงาน ที่ ๑ ให้นักเรียนทุกคน

       ผู้สอนให้นักเรียนจับฉลากชื่อชาดกทั้งสองเรื่อง โดยทําฉลากเป็นชื่อเรื่อง ชาดกทั้งสองเรื่องให้ครบจํานวนนักเรียน (นักเรียน ๓๐ คน จะได้ฉลาก ชื่อชาดกเรื่องทีฆีติโกสลชาดก ๑๕ ใบ และฉลากผู้สอนให้นักเรียนได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับชาดกที่ตนได้จับฉลากได้นั้น ตามอิสระ เช่น หนังสือเรียน หรือสื่อเทคโนโลยีเป็นต้น แบ่งนักเรียนในชั้นเรียนออกเป็น ๒ กลุ่ม ตามชื่อเรื่องชาดกที่จับฉลากได้จากนั้นแบ่งนักเรียนจาก ๒ กลุ่มใหญ่ ออกเป็นกลุ่มย่อย

(กลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มควรมีสมาชิก ๓-๕ คน) ให้แต่ละกลุ่มย่อยแบ่งปันข้อคิดจากชาดกที่ได้ร่วมกัน ค้นคว้าภายในกลุ่มของตน (๕ นาที)

 

       ขั้นที่ ๔ สะท้อนผลการปฏิบัติ

ผู้สอนแจกกระดาษ flip chart ปากกาเคมี และสีเทียน ให้

แต่ละกลุ่ม

นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปข้อมูลที่ได้ค้นคว้าลงใน flip chart

ใน ๕ ประเด็น คือ ชื่อชาดก ตัวละครในชาดก เรื่องราวในชาดก

ข้อคิดจากชาดก วิธีการนําข้อคิดจากชาดกไปประยุกต์ใช้

ผู้สอนให้นักเรียนออกนาเสนอผลการค้นคว้าชาดกทั้ง ๒

เรื่อง (กลุ่มละ ๑ เรื่อง)

 

ขั้นที่ ๕ สรุปการเรียนรู้

ผู้สอนใช้คําถามถอดบทเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นจากการที่นักเรียนได้ทํากิจกรรมร่วมกัน ดังต่อไป นากชื่อชาดกเรื่องสัพพทาฐิชาดก ๑๕ ใบ

       ๑) นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรขณะร่วมกันทากิจกรรมภายในกลุ่ม และขณะออกอภิปราย/รับ ฟังการอภิปรายจากกลุ่มอื่น

       .๒) นักเรียนได้เรียนรู้และได้ข้อคิดอะไรบ้างจากการร่วมทากิจกรรมในครั้งนี้

       .๓) ผู้สอนกล่าวสรุป เนื้อหาของชาดกทั้ง ๒ เรื่องพร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อคิดและคุณธรรมที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ทั้งสิ่งที่ไม่ควรเอาเป็นแบบอย่าง

 

ขั้นที่ ๖ นําไปสู่การประยุกต์ใช้

       ผู้สอนถามคําถามกระตุ้น

       “นักเรียนจะสามารถนาสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไรบ้าง”ผู้สอนให้นักเรียนแต่ละคนนําข้อคิด และคุณธรรมที่ได้จากการเรียนรู้จากชาดก วางแผนการไปใช้จริงในชีวิตประจาวัน ผู้สอนแจกใบงาน ที่ ๑ ให้นักเรียนทุกคน ผู้สอนให้นักเรียนจับฉลากชื่อชาดกทั้งสองเรื่อง โดยทําฉลาก เป็นชื่อเรื่องชาดกทั้งสองเรื่องให้ครบจํานวนนักเรียน (นักเรียน ๓๐ คน จะได้ฉลากชื่อชาดกเรื่องทีฆีติโกสลชาดก ๑๕ ใบ และ ฉลากผู้สอนให้นักเรียนได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับชาดกที่ตนได้จับ ฉลากได้นั้น ตามอิสระ เช่น หนังสือเรียน หรือสื่อเทคโนโลยี

เป็นต้น แบ่งนักเรียนในชั้นเรียนออกเป็น ๒ กลุ่ม ตามชื่อเรื่องชาดกที่ จับฉลากได้ จากนั้นแบ่งนักเรียนจาก ๒ กลุ่มใหญ่ออกเป็นกลุ่มย่อย (กลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มควรมีสมาชิก ๓-๕ คน) ให้แต่ละกลุ่มย่อยแบ่งปันข้อคิดจากชาดกที่ได้ร่วมกัน ค้นคว้าภายในกลุ่มของตน (๕ นาที)

        3.3 ขั้นสรุป

       นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปข้อมูลที่ได้ค้นคว้าลงใน flip chart ใน ๕ ประเด็น คือ ชื่อชาดก ตัวละครในชาดก เรื่องราวในชาดก ข้อคิดจากชาดก วิธีการนำข้อคิดจากชาดกไปประยุกต์ใช้ ผู้สอนให้นักเรียนออกนำเสนอผลการค้นคว้าชาดกทั้ง ๒ เรื่อง (กลุ่มละ ๑ เรื่อง) สรุปการเรียนรู้ ผู้สอนใช้คำถามถอดบทเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมแสดง ความคิดเห็นจากการที่นักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ดังต่อไปนากชื่อชาดกเรื่องสัพพทาฐิชาดก ๑๕ ใบ

       ๑) นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรขณะร่วมกันทากิจกรรม ภายในกลุ่ม และขณะออกอภิปราย/รับ ฟังการอภิปรายจาก กลุ่มอื่น .

       ๒) นักเรียนได้เรียนรู้และได้ข้อคิดอะไรบ้างจากการ ร่วมทำกิจกรรมในครั้งนี้ .

       ๓) ผู้สอนกล่าวสรุป เนื้อหาของชาดกทั้ง ๒ เรื่อง พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อคิดและคุณธรรมที่สามารถยึดถือเป็น แบบอย่างได้ ทั้งสิ่งที่ไม่ควรเอาเป็นแบบอย่าง

 

4.สื่อ/อุปกรณ์

   - หนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาชั้น ป.๖

   -สื่ออิเล็กทรอนิกส์,คอมพิวเตอร์

   -ปากกาเคมี

   -กระดาษ Flip chart

   -สีเทียน

   -กระดาษ A4

5.การประเมินผล

      5.1 ด้านความรู้

         -การสรุปข้อมูลของแต่ละกลุ่มในขั้นที่ ๔

       5.2 ด้านทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

         - ความคิดสร้างสรรค์:ดูจากชิ้นงานในขั้นที่ ๔

         - การสื่อสาร: ขั้นที่ ๔ นักเรียนนำเสนอแผนความคิดของตน

         -การคิดวิเคราะห์ ขั้นที่ ๔ หาขอคิดจากชาดก

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: 056 พระประโยชน์ศิลป์ สุรปญฺโญ.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 16 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(0)