1. ขอบเขตเนื้อสาระ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้วเป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของ ศาสนาพุทธ
2. วัตถุประสงค์ (K-S-A)
2.1ความรู้ (K)
๑. ผู้เรียนรู้จักและสามารถบอกลักษณะของพระพุทธเจ้าได้
๒. นักเรียนสามารถเล่าถึงคุณของพระพุทธเจ้าได้
๓. รู้วิธีการจัดระเบียบตัวเองในการทำงาน ด้วยการใช้หลักอริยสัจ ๔
2.2 ทักษะ (S)
ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร การมีวิจารณญาณ
2.3 คุณธรรม (A)
จัดระเบียบตัวเองในการทำงาน ด้วยการใช้หลักอริยสัจ ๔
3.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นที่ ๑. เสริมสร้างสติ (๕ นาที)
๑. พระอาจารย์กล่าวทักทายและสร้างบรรยากาศใน ห้องเรียนด้วยความเป็นกัลยาณมิตร
2. พระอาจารย์จัดบรรยากาศในห้องเรียนโดยให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม โดยมีพระอาจารย์นั่งอยู่ในวงด้วย
3. พระอาจารย์เตรียมความพร้อม โดยให้นักเรียนทุกคน สงบนิ่ง 1 นาที
4. พระอาจารย์ให้นักเรียนไหว้พระสวดมนต์ อรหังสัมมา(แปล) โดยพร้อมเพียงกัน
5. พระอาจารย์นำพานักเรียนเจริญสติด้วยกายเคลื่อนไหว ๑๔ จังหวะ
3.2 ขั้นกิจกรรม
ขั้นที่ ๒ กระตุ้นจิตให้ใฝ่รู้ (๕ นาที)
๑. พระอาจารย์ชวนนักเรียนพูดคุยถึงพระพุทธเจ้าที่นักเรียนรู้จัก โดยพระอาจารย์ตั้งคำถามว่า นักเรียนรู้จักพระพุทธเจ้าไหม, พระพุทธเจ้าคือใคร , มีลักษณะอย่างไร
โดยให้นักเรียนแบ่งปันกันในวง
ขั้นที่ ๓ รับรู้ประสบการณ์ (๑๕ นาที)
1. พระอาจารย์แจกกระดาษแข็งขนาดA4 คนละ 1 แผ่น และกระดาษรูปพระพุทธเจ้าให้นักเรียน คนละ 1 รูป
2. พระอาจารย์ให้นักเรียนพับครึ่งกระดาษแข็ง A4 ที่แจกให้ และตัดตรงกลางขนาดกว้าง 1.5 เซนติเมตรสูง 10เซนติเมตร โดยให้ผ่านเส้นกึ่งกลางที่พับครึ่งฝั่งละ 5 เซนติเมตร(เพื่อทำภาพป๊อบอัพ)
3. พระอาจารย์ให้นักเรียนระบายสีพระพุทธเจ้าและวาดฉากหลังในกระดาษแข็ง A4 ที่ตัดไว้เมื่อสักครู่ เพื่อทำเป็นภาพฉากหลังให้สวยงาม ด้วยสติและสมาธิ โดยพระอาจารย์เปิดดนตรีเบาๆเพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียน
3. เมื่อนักเรียนระบายสีเสร็จแล้ว พระอาจารย์ให้นักเรียนใช้กรรไกรตัดให้เป็นภาพลอยองค์ของพระพุทธเจ้า
4. เมื่อนักเรียนตัดเสร็จ ให้นักเรียนแปะภาพในกระดาษแข็งอีกครั้งแล้วค่อยๆตัดอย่างมีสมาธิ
5. พระอาจารย์ให้นักเรียนมารูปพระพุทธเจ้ามาแปะไว้บนกระดาษแข็ง ที่มีรอยตัดขนาด 1.5 เซนติเมตร
6. พระอาจารย์ให้นักเรียนพิจารณาผลงานของตนเองและเก็บรายละเอียดของผลงาน
ขั้นที่ ๔ สะท้อนผลการปฏิบัติ (๒๐ นาที)
๑.พระอาจารย์ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 3 คน และให้นักเรียนแบ่งปันกัน โดยพระอาจารย์ตั้งคำถามต่อไปนี้
- นำเสนอผลงานของตนเองที่ได้ทำ ทั้งผลงาน(ภาพพระพุทะเจ้าและองค์ประกอบที่วัดเป็นฉากหลัง)
- กล่าวชื่นชมผลงานของกันและกัน
2. พระอาจารย์ให้ตัวแทนนักเรียนในกลุ่มร่วมสะท้อนในกลุ่มว่า พระพุทธเจ้ามีพุทธคุณอย่างไรบ้าง
3. พระอาจารย์ให้นักเรียน(กลุ่มเดิม) ร่วมสะท้อนกิจกรรมการเรียนรู้ โดยตั้งคำถามต่อไปนี้
- วันนี้ได้เรียนกับพระอาจารย์รู้สึกอย่างไร
- ขณะที่นักเรียนทำ เกิดปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง
- ปัญหานั้นมีสาเหตุมาจากอะไร
- ปัญหานั้น มีแนวทางแก้ไขอย่างไร
- ปัญหานั้น แก้ไขได้สำเร็จอย่างไร
- โดยให้นักเรียนได้เขียนสะท้อนลงในกระดาษ A4
3.3 ขั้นสรุป
ขั้นที่ ๕ สรุปการเรียนรู้ ( ๑๕ นาที)
๑. พระอาจารย์ให้นักเรียนกลับเข้านั่งเป็นวงกลมเหมือนเดิม โดยมีพระอาจารย์ร่วมนั่งอยู่ในวงด้วย ร่วมกันสนทนาถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุธรรมและหลุดพ้นจากกิเลส คือ ... ความอยาก (โลภ) ... ความเกลียด ไม่พอใจ (โกรธ) ... ความหลง (โมหะ) พระพุทธเจ้าประกอบด้วย พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณและพระกรุณาคุณ, คำว่า คุณ มี ๒ ความหมาย คือ คุณความดี หมายถึงความดีของท่าน กับคุณประโยชน์ หมายถึงอุปการะที่ท่านมีต่อเรา พระปัญญาคุณ คือ พระพุทธองค์ทรงมีพระปัญญารอบรู้ถึงความจริงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งปวงความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นอย่างไร ก็ทรงทราบชัดถึงความจริงเหล่านั้น และนำความจริงเหล่านั้นมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่สัตว์โลก ตามพื้นเพแห่งอัธยาศัยของบุคคลเหล่านั้น พระวิสุทธิคุณ คือ ความบริสุทธิ์ สะอาดหมดจด จากอาสวะกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ไม่มีความขุ่นมัวเศร้าหมองภายในพระทัยทรงดำรงอยู่อย่างคงที่ ไม่แปรผันท่ามกลางอารมณ์ ที่กระแทกกระทั้นจากภายนอก ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแต่พระทัยของพระพุทธเจ้าก็บริสุทธิ์อยู่มั่นคงอยู่อย่างนั้นไม่แปรผัน พระกรุณาธิคุณ คือ ประกอบด้วยความกรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ทรงเลือกชาติชั้นวรรณะแต่ประการใด แม้แต่ในศีลของพระองค์ก็ทรงบัญญัติให้คนงดเว้นไม่ทำสิ่งมีชีวิตให้ตกล่วงไป และทรงแนะให้แผ่เมตตาจิตต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข อันเป็นเป้าหมายของการดำรงชีวิต และการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาชีวิตด้วยหลักอริยสัจ ๔
4.สื่อ/อุปกรณ์
การสอนโดยใช้เครื่องมือ Art
- กระดานแข็ง100ปอน
- สีไม้
- กระดาษ A4
- สี
- รูปพระพุทธเจ้า
5.การประเมินผล
ด้านความรู้
- การถามตอบ
- บันทึกการเรียนรู้
- ผลงาน/ชิ้นงาน ด้านทักษะ
- สังเกตขณะทำกิจกรรม
ด้านคุณค่า
- การสะท้อนจากกิจกรรมการเรียนรู้
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย