inskru
gift-close

ดูแลใจอย่างไรดี

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ดูแลใจอย่างไรดี

เมื่อความรู้สึกทางใจไม่เหมือนเดิม ความคิดเริ่มเปลี่ยนไป ลองมาสำรวจใจกันหน่อยดีไหม

กิจกรรม "ดูแลใจอย่างไรดี"


กิจกรรมนี้เป็นการสำรวจสุขภาพใจ สุขภาพจิต ภาวะทางจิตใจของเด็กๆ ที่ต้องเจอแรงกดดัน การเปลี่ยนแปลง และสภาพแวดล้อมต่างๆ มากมาย ทั้งจากครอบครัว โรงเรียน เพื่อนๆ ทำให้เด็กๆ อาจจะเกิดความรู้สึกทางใจที่ไม่ดี นำไปสู่ความเครียด การทำร้ายร่างการตัวเองและภาวะทางอารมณ์ได้


จึงจำเป็นต้องให้เด็กๆได้สำรวจความรู้สึกที่มีแนวโน้มจะเกิดภาวะทางใจต่างๆ โดยผ่านกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมฐาน

ค่อยช่วยกันวิเคราะห์ตนเองและเพื่อนๆ ช่วยกันดูแลความรู้สึกซึ่งกันและกัน จึงเกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมา และขอเรียกภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นกับจิตใจว่า"โรคทางใจ"



เมื่อได้พูดคุยกับเด็กๆ เกี่ยวกับโรคทางใจ สอบถามความเข้าใจเบื้องต้น เด็กๆ สามารถบอกโรคที่นักเรียนรู้จัก บอกว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง

และครูเพิ่มเติมข้อมูลให้เด็กๆ ในอีกหลายๆ โรคที่นักเรียนยังไม่รู้จัก หลังจากนั้นก็เริ่มทำกิจกรรมกลุ่ม


โดยแบ่งกลุ่มตามจำนวนโรคที่จะทำการศึกษา (กลุ่มละ 2-3 คน)

ครูกำหนดฐานการเรียนรู้ 8 ฐานโรคทางใจ แต่ละฐานจะให้มีข้อมูลเกี่ยวกับโรคทางใจ 1 โรค

เด็กๆทุกคนมีใบกิจกรรม "ดูแลใจอย่างไรดี" โดยในใบกิจกรรมจำต้องศึกษาข้อมูลคือ

  • ชื่อโรคทางใจ
  • ลักษณะของโรค
  • สาเหตุ
  • อาการ
  • วิธีการรักษา

เด็กๆมีเวลาประจำฐาน ฐานละ 4 นาที ในการศึกษา สำรวจตนเอง และบันทึกข้อมูล

ครูจะให้สัญญาณกระดิ่งในการเปลี่ยนฐานจนครบ 8 ฐาน





"ระหว่างการทำกิจกรรมจะเห็นถึงความกระตือรือร้นของเด็กๆ

ในการทำความเข้าใจโรคต่างๆ และสำรวจความรู้สึกของตัวเองไปด้วย"


หลังจากเด็กๆ ทำกิจกรรมเสร็จ ถึงเวลาแห่งการรับฟังและพูดคุย

โดยครูจะให้เด็กๆ ส่งผลการบันทึกทีละคน พร้อมกับการพูดคุย


เด็กๆบางคนมีความตื่นตัวที่อยากจะบอกกับครูว่าตนเองมีแนวโน้มของอาการบางอย่าง

บางคนก็บอกว่าไม่มีแนวโน้มของอาการใดๆ เลย

เมื่อครูได้พูดคุยและรับฟังความรู้สึกของเด็กๆ แล้ว ก็ถึงเวลาของครูที่จะต้องทำความเข้าใจกับเด็กๆ เกี่ยวกับแนวโน้มของอาการต่างๆ

และหากนักเรียนเช็คว่าตัวเองมีแนวโน้มจะเป็นโรคนั้นๆ ให้มาทำการปรึกษาหรือพูดคุยกับครูโดยส่วนตัว หรือ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเช่น จิตแพทย์


กิจกรรมนี้จะช่วยให้ครูได้คัดกรองสุขภาพจิตนักเรียนเบื้องต้น ทำการช่วยเหลือให้คำปรึกษานักเรียน

และที่สำคัญ "นักเรียนจะเปิดใจ" ให้ครูเข้าไปอยู่ในความรู้สึกของเขาโดยจะไม่ทำให้นักเรียนรู้สึกอึดอัดใจ

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    แนะแนวกิจกรรมเสริมเกมและกิจกรรมแผนการสอนใบงานตัวช่วยครู

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ครูโบว์ แนะแนว

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ