inskru
gift-close

ไหวไหม & แก้ไง ชวนนักเรียนเข้าใจเรื่องความเครียด

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ไหวไหม & แก้ไง ชวนนักเรียนเข้าใจเรื่องความเครียด

คุยกับคุณนีท-เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ นักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น

💕 สวัสดีค่ะ คุณครูทุกคน กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ


วันนี้นีทมาชวนคุณครูคิดกันค่ะว่า นักเรียนของเรามีความเครียดไหมนะ แล้วเขาเครียดเรื่องอะไรกันบ้าง? นีทให้เวลา คุณครูคิดสัก 15 วินาทีนะคะ

ถ้าพร้อมแล้ว เริ่มค่ะ


หมดเวลาค่ะ!


นีทเชื่อว่า ความเครียดของนักเรียนที่เราคิดได้นั้นมีหลายหลาก เช่น เรียนไม่รู้เรื่อง, สอบได้คะแนนไม่ดี, กลัวสอบไม่ผ่าน, ยังหาอาชีพที่ชอบไม่เจอ, ทะเลาะกับที่บ้าน, โดนเพื่อนแกล้ง, อยากมีแฟนแต่ไม่มี, ไม่อยากตื่นเช้า, อยากผอม, สิวขึ้น, อยากกินขมหวานแต่กลัววอ้วน, อยากได้ photo book และอื่น ๆ

โดยนีทชวนคุณครูคิดต่ออีกสักนิดค่ะว่า เคยมีบ้างไหมคะ? ที่เราฟังปัญหาหรือความเครียดของนักเรียน แล้วเรารู้สึกว่า “มันเป็นปัญหาด้วยหรอ?” “เรื่องแบบนี้ต้องเครียดด้วยหรอ?”

นีทเชื่อว่า บางครั้งเราก็คิดแต่ไม่บอกนักเรียน หรือเราอาจจะคิดและบอกนักเรียนไปเลย (แย่ละ!)


ทำความรู้จักกับ “เจ้าความเครียด”

นีทขอเล่าแบบนี้ค่ะว่า แท้จริงแล้ว “เจ้าความเครียด” นั้น เป็นการรับรู้ส่วนบุคคล ว่าเรื่องนี้ ทำให้เรารู้สึกเครียดหรือไหม ดังนั้น มันจึงไม่แปลก หากคุณครูฟังเรื่องราวของนักเรียนแล้วจะรู้สึกงงว่า “เรื่องนี้ต้องเครียดด้วยหรอ” เพราะคุณครูอาจจะนำการรับรู้ของเราไปผสมกับเรื่องราวของเด็ก

ดังนั้นหากนีทจะแนะนำคุณครูในเรื่องการรับฟังปัญหาและความเครียดของเด็กๆ คือ เราต้องเข้าใจก่อนว่า ความเครียดเป็นการรับรู้ของเด็ก หากเด็กบอกว่า เครียด แปลว่า เรื่องนั้น “เครียดสำหรับเขา”

โดยสิ่งนี้ ไม่ใช่การโอ๋เด็กนะคะ แต่มันเป็นกลไกในการเข้าใจความเครียดของนักเรียน ซึ่งเป็นไปตามนิยามความเครียดของ Lazarus and Folkman (1984) ที่ว่า

“ความเครียดนั้น เป็นการรับรู้หรือการประเมินของตัวเราเองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น” 

ซึ่งคนเราจะมีการประเมินเหตุการณ์นั้นด้วยกันอยู่ 2 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1 เราจะประเมินว่าเหตุการณ์ที่เราพบเจอนั้น มันมาคุกคาม มาทำให้เรารู้สึกไม่ดี มาทำให้เราไม่โอเค หรือมีบางอย่างในร่างกายที่ไม่ปกติเหมือนเดิมหรือไม่ ?

  • หากเรารู้สึกว่าเราไม่โอเค ความเครียดจะเริ่มมา
  • หากเรารู้สึกว่าเราโอเค เราก็จะไม่มีความเครียด


ต่อมาสำหรับคนที่รู้สึกว่า อุ้ย! เรื่องนี้ ทำให้เราไม่โอเค ตัวเราก็จะมีการประเมินในขั้นที่ 2 ทันที ว่า แล้วมันรุนแรงแค่ไหน

  • หากเรารู้สึกว่ามันรุนแรงมาก แบบเจอเรื่องนี้ฉันตายแน่ ฉันไม่รู้ว่าจะแก้อย่างไร ก็จะทำให้เรารู้สึกว่า “ฉันเครียดมาก”
  • หากเรารู้สึกว่ามันก็ไม่ได้รุนแรงมาก น่าจะพอแก้ ๆ ได้ ก็จะทำให้เรารู้สึกว่า “ฉันเครียดไม่มาก”

ดังนั้นจากที่นีทเล่ามานั้น น่าจะทำให้คุณครูเข้าใจนักเรียนมากขึ้นว่า อ้อ ๆ บางเรื่องที่เด็กรู้สึกเครียดมาก เพราะเขารับรู้ว่าเรื่องนั้นมาทำให้เขาไม่โอเคและเขาอาจจะยังไม่รู้ว่าจะแก้อย่างไร นั่นเองค่ะ

แล้วคราวนี้ เราจะช่วยเหลือเด็กๆ แก้ปัญหาอย่างไรนี้นะ นีทมีเครื่องมือมาแนะนำค่ะ นั่นคือ “ไหวไหม? & แก้ไง?”


ไหวไหม? & แก้ไง? เครื่องมือชวนนักเรียนเข้าใจเรื่องความเครียด

โดยเครื่องมือ ไหวไหม? & แก้ไง? นั้น จะเป็นเครื่องมือที่ค่อย ๆ ช่วยให้นักเรียนได้ตกผลึก เรียบเรียงความคิด เกี่ยวกับความเครียดในเรื่อง ๆ หนึ่งที่ตนเองกำลังเผชิญอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจาก

  1. ให้นักเรียนระบุว่า แล้วเรื่องที่เครียดนั้น คือเรื่องอะไร ลองบอกออกมาสัก 1 เรื่อง
  2. ให้นักเรียนวัดระดับความรุนแรงของเรื่อง ว่าเรื่องนี้ทำให้เราเครียดมากแค่ไหน อยู่ในฝั่งคำว่า ไหว หรือ ไม่ไหว ซึ่งหากนักเรียนระบายสีไปทางไม่ไหวเยอะ ก็หมายถึง เขาเครียดมาก และอาจจะไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ซึ่งเราสามารถชวนเด็ก ๆ ลองคิดได้ว่า ทำไมเขาเลือกตอบแบบนั้น ซึ่งจะเป็นการพุดคุย แล้วเราค่อย ๆ มาสรุปกัน ผ่านการเขียนที่ช่องก้อนเมฆ
  3. หลังจากที่เราเข้าใจความเครียดของนักเรียนแล้ว เราจะพานักเรียนลองแก้ปัญหานี้ เช่น แล้วนักเรียนต้องการความช่วยเหลืออะไร หรือตัวนักเรียนคิดว่า จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี โดยพวกเขาสามารถเลือกวงกลมคำว่า “ช่วยด้วย” หรือ “คิดก่อน” และช่วยกันคิดแก้ปัญหาดูนะคะว่า แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไรดี
  4. ลองเขียนวิธีการแก้ปัญหาออกมาเป็น ข้อ ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาว่า แล้วตัวนักเรียนจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ปัญหานี้หมดไปค่ะ

เราลองมาดูตัวอย่าง กันนะคะ

ทุกปัญหานั้นมีทางแก้ ดังนั้น เรามาค่อย ๆ ทำความเข้าใจกับปัญหาและค่อย ๆ หาวิธีการจัดการปัญหาเหล่านี้ดูนะคะ

อ้างอิง

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal, and coping. Springer publishing company.


หากเด็ก ๆ บอกว่าพวกเขาเครียด แปลว่า เรื่องนั้น ‘เครียดสำหรับเขา’ จริง ๆ”
inspotlightinsKruLearning LossSocial Emotional Skillsพื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

ไอเดียน่าอ่านต่อ