ถ้าพูดถึงภาพพิมพ์แกะไม้Woodcut ถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่มีความน่าสนใจ ผมเลยอยากลองให้นักเรียนได้เรียนรู้ อุปสรรคอย่างแรกคืออุปกรณ์ทำไงดีเราไม่มีแท่นพิมพ์ เลยลองหาเทคนิคดู เลยเจอบูเรงอุปกรณ์แกะไม้ที่ใช้ถูหลังกระดาษเพื่อให้ภาพติด ทีนี้สนุกแน่
เลยรวบรวมอุปกรณ์ต่างๆ ไม้แกะ ไม้กระดาน ลูกกลิ้ง หมึกพิมพ์ บูเรง การศึกษาคือการลงทุน ทุนครูนี่ล่ะ ฮ่าๆ
ชั้นที่เลือกสอนเป็นนักเรียนชั้น ม.3 เพราะอุปกรณ์มีความอันตรายอยู่พอสมควรในการแกะ(ขนาดดูแลอย่างระมัดระวัง มีนักเรียนโดนทิ่มนิ้วไป 2 ราย ดีที่โดนไม่ลึก)
ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) คือศิลปะการพิมพ์แบบนูน (relief printing) โดยที่ภาพที่จะพิมพ์ใช้แกะบนผิวไม้อ่อน ส่วนที่จะให้เป็น "สีขาว" ก็ต้องแกะออกไป
ด้วยอุปกรณ์แกะไม้ ส่วนที่เป็น "สีดำ" คือส่วนที่ไม่ต้องแกะ
ขั้นตอนต่างๆก็มีดังนี้
2.ลอกลายผลงานลงบนไม้ เตรียมไม้ด้วยการทาสีดำเพื่อกันนักเรียนสับสนเวลาแกะไม้ แล้วทำการลอกลายจากที่ออกแบบไว้ให้ติดบนไม้โดยใช้กระดาษคาร์บอนสีน้ำเงิน พอเห็นเส้นจางๆ
3.ลงมือแกะไม้โลด แกะมือแกะไม้มีหลายแบบก็ใช้ตามความเหมาะสมของเครื่องมือ เช่น เครื่องมือแกะรูปตัววีก็เดินเส้นเล็กๆ เครื่องมือรูปตัวยูก็เดินเส้นใหญ่ เครื่องมือหัวตัดในส่วนของพื้นที่ที่ต้องการความเรียบๆ
4.ขั้นตอนการพิมพ์ กลิ้งลูกกลิ้งกับหมึกบนแผ่นอะคริลิคหรือกระจกให้สีเสมอกัน แล้วกลิ้งกับแม่พิมพ์ เมื่อหมึกติดจนทั่วแล้วก็นำไปวางบนกระดาษ
5.ขั้นตอนการถู ด้วยเราไม่มีแท่นพิมพ์เลยต้อง ใช้บูเรงมาถูด้านหลังกระดาษแทน เพื่อให้หมึกติดกับกระดาษ คราวนี้หมึกจะติดทั่วหรือไม่ทั่วก็อยู่ที่น้ำหนักการถู
นักเรียนตั้งใจและดูตื่นเต้นกับการทำผลงาน แค่นี้ครูก็มีความสุขแล้ว
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!