inskru

ทักษะการออกเสียงท้ายพยางค์ โดยใช้รูปแบบ T.G.T

0
0

ผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง-กลาง-อ่อน) ฝึกการออกเสียงคำศัพท์ต่างๆ ที่มี [s], [t], [st⁠] ในตำแหน่งท้ายพยางค์ร่วมกันในกลุ่ม จากนั้นให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มที่มีความสามารถระดับเดียวกันมาแข่งขันกันออกเสียงเพื่อเก็บคะแนนเข้ากลุ่มตนเอง เป็นการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบ T.G.T ทำให้ผู้เรียนสนุกสนาน

คนไทยไม่ชินกับการออกเสียงท้ายพยางค์ เนื่องจากในภาษาไทยไม่มีการออกเสียงดังกล่าว เช่น นงนุ อ่านว่า นงนุ ทำให้นักเรียนมักไม่ออกเสียงท้ายพยางค์ในภาษาต่างประเทศอย่างภาษาเยอรมันด้วย จึงจัดให้มีการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้กับเพื่อนเพื่อฝึกฝนทักษะการอ่านออกเสียง และทุกคนทุกความสามารถได้เป็นตัวแทนแข่งขันเพื่อเก็บคะแนนเข้ากลุ่ม สร้างความตื่นเต้นท้าทายให้กับนักเรียน ส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนภาษาเยอรมันได้เป็นอย่างดี


ครูจึงมีความสนใจศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ T.G.T เพื่อพัฒนาความสามารถวิชาภาษาเยอรมันเรื่องการออกเสียง [s], [t], [st⁠] ในตำแหน่งท้ายพยางค์ โดยมีรูปแบบดังนี้


  1. นักเรียนลองอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาเยอรมันอย่างง่าย โดยเดาจากรากศัพท์สากลความรู้เดิม เช่น Fußball, Basketball, Natur, Sänger, Sport เป็นต้น ซึ่งนักเรียนมักออกเสียงตามภาษาอังกฤษ
  2. นักเรียนลองสังเกตสระในภาษาเยอรมันในแต่ละคำ เช่น Fußball, Basketball แล้วออกเสียงใหม่ให้ถูกต้องตามหลักการอ่านออกเสียงภาษาเยอรมันอีกครั้ง
  3. นักเรียนร่วมกันออกเสียงที่ถูกต้องพร้อมกันอีกครั้งทุกคำ และเน้นย้ำคำที่มีเสียงท้ายพยางค์เป็น [s], [t], [ç], [st⁠] เพื่อให้นักเรียนไม่ละเลยการออกเสียงดังกล่าว
  4. ครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมการออกเสียง [s], [t], [ç], [st⁠] ที่ท้ายพยางค์ด้วยการเรียน  การสอนรูปแบบ T.G.T (Team Game Tournament) โดยครูดำเนินกิจกรรมดังนี้

            4.1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง-กลาง-อ่อน) กลุ่มละ 3 คน สามารถใช้สีแทนความสามารถได้ และเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (home group)

            4.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา ได้รับเนื้อหาสาระและศึกษาเนื้อหาสาระ ฝึกการออกเสียงคำศัพท์ต่างๆ ที่มี [s], [t], [ç], [st⁠] ในตำแหน่งท้ายพยางค์ร่วมกันในกลุ่ม

4.3 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายกันเป็นตัวแทนกลุ่มไปแข่งขันการออกเสียงกับกลุ่มอื่นโดยจัดกลุ่มแข่งขันตามความสามารถ คือคนเก่งในกลุ่มบ้านของเราแต่ละกลุ่มไปรวมกัน คนอ่อนก็ไปรวมกับคนอ่อนของกลุ่มอื่น หรือแข่งขันตามสีนั่นเอง กลุ่มใหม่ที่รวมกันนี้เรียกว่า กลุ่มแข่งขัน

4.4 นักเรียนทุกคน ทุกความสามารถจะได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันเพื่อเก็บแต้มคะแนนเข้ากลุ่มบ้านของเรา กลุ่มใดคะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ

5.นักเรียนทบทวนอ่านออกเสียงคำศัพท์ที่มีเสียง [s], [t], [st⁠] ท้ายพยางค์ทั้งหมดพร้อมเพรียงกัน


แนวทางการจัดกิจกรรมรูปแบบ T.G.T. ทำให้นักเรียนมีการเรียนรู้ร่วมกันและสร้างความตื่นเต้นท้าทายให้กับผู้เรียน ส่งเสริมบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างดี สามารถนำไปปรับใช้ได้กับหลายๆ วิชา

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    ภาษาต่างประเทศวิจัยในชั้นเรียนวิดีโอภาษาเยอรมันเกมและกิจกรรมการจัดการชั้นเรียนเทคนิคการสอนมัธยมต้นมัธยมปลายทักษะการสื่อสารทักษะการร่วมมือ

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ฉภิญญา ทีสี

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ