แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ GPAS ๕ Steps
รหัส ท ๒๓๑๐๑ รายวิชา ภาษาไทย ๕ เรื่อง จับใจความ นำทางสู่ความเข้าใจ
หน่วยที่ ๑ นิทานคำกลอน เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เวลา ๑ ชั่วโมง ภาคเรียนที่ ๑ปีการศึกษา ๒๕๖๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชื่อครูผู้สอน นางทัสณี ฆ้องคำ
๑. สาระที่ ๑ การอ่าน
๒. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
๓. ตัวชี้วัด
ท ๑.๑ ม. ๓/๓ ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดของข้อมูลที่สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ ม. ๓/๔ อ่านเรื่องต่าง ๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด บันทึก ย่อความ และรายงาน
ท ๑.๑ ม. ๓/๕ วิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินเรื่องที่อ่านโดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบ
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดีขึ้น
ท ๑.๑ ม. ๓/๖ ประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ ม. ๓/๗ วิจารณ์ความสมเหตุสมผล การลำดับความ และความเป็นไปได้ของเรื่อง
ท ๑.๑ ม. ๓/๘ วิเคราะห์เพื่อแสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
ท ๑.๑ ม. ๓/๙ ตีความและประเมินคุณค่าแนวคิดที่ได้จากงานเขียนอย่างหลากหลาย
เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต
ท ๑.๑ ม. ๓/๑๐ มีมารยาทในการอ่าน
๔. สาระการเรียนรู้
๓.๑ สาระการเรียนรู้แกนกลาง
การอ่านจับใจความ
๓.๒ สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
-
๕. สาระสำคัญ
การอ่านจับใจความ วิเคราะห์ และวิจารณ์ เป็นกระบวนการที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เป็น
ทักษะสำคัญที่จะทำให้การอ่านมีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
๖. จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. อธิบายเกี่ยวกับการอ่านจับใจความจากเรื่องที่อ่าน (K)
๒. จับใจความจากเรื่องที่อ่าน (P)
๓. เห็นความสำคัญของการอ่านและมีมารยาทในการอ่าน (A)
๗. จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
๑. ด้านความสามารถและทักษะ ทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะชีวิต การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี รักการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
๒. ด้านคุณลักษณะเฉพาะช่วงวัย อยู่อย่างพอเพียง
๘. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๑. ความสามารถในการสื่อสาร
- ทักษะการอ่าน
- ทักษะการฟัง การดู และการพูด
๒. ความสามารถในการคิด
- การจำแนก
- การวิเคราะห์
- การสังเคราะห์
- การประยุกต์/การปรับปรุง
- การสรุปความรู้
- การประเมินค่า
๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา
๙. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ใฝ่เรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ ๔.๒ แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม บันทึกความรู้ วิเคราะห์ สรุปเป็น
องค์ความรู้ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
๑๐. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความรู้คู่คุณธรรม
๑๑. การบูรณาการ
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมรู้จักชนชาติ สถานที่ และเครื่องแต่งกาย
จากคำศัพท์ในเนื้อเรื่อง
๑๒. กระบวนการจัดการเรียนรู้ (การจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps)
ขั้น Gathering : การค้นหาและเลือกข้อมูล
๑. นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้
• นักเรียนคิดว่าการอ่านจับใจความเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้นอย่างไร
ขั้น Processing: การจัดกระทำข้อมูล หรือการจัดข้อมูลให้เป็นระบบ
๒. ให้นักเรียนศึกษาบทนำเรื่องและที่มาของนิทานคำกลอน เรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร จากนั้นครูถามนักเรียนเพื่อสรุปความเข้าใจ ดังนี้
• ผู้แต่งนิทานคำกลอนเรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร คือใคร มีบทบาทสำคัญต่อแวดวงวรรณคดีไทยอย่างไร (สุนทรภู่ เป็นกวีเอกของไทย มีผลงานวรรณคดีหลายเรื่องที่จัดเป็นวรรณคดีมรดก มีลีลากลอนที่โดดเด่น ได้รับการยกย่องให้เป็นกวีเอกของโลกจากองค์การยูเนสโก)
• นิทานคำกลอนเรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร เป็นผลงานวรรณคดีที่มีความโดดเด่นอย่างไร (มีความไพเราะทั้งเรื่องเสียงและความหมาย)
• นิทานคำกลอนเรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร สะท้อนให้เห็นจินตนาการของผู้แต่งอย่างไร (เป็นจินตนาการที่เกิดจากการเรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์ของผู้แต่ง นำมาผสมผสานให้มีสีสัน มีตัวละครที่เป็นทั้งคน ยักษ์ เงือก ผีเสื้อสมุทร ชีเปลือย ม้านิลมังกร)
๓. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๕ คน ครูกำหนดคำประพันธ์จากนิทานคำกลอนเรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร ให้กลุ่มละเท่า ๆ กัน แล้วให้แต่ละกลุ่มถอดความและจับใจความสำคัญของคำประพันธ์ที่ครูกำหนด ส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นเรียน ให้นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง
ขั้น Applying 1 (Applying and Constructing the Knowledge) : การปฏิบัติและสรุปความรู้
๔. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยให้เพื่อนนักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง และเสนอแนะ
ขั้น Applying 2 (Applying and Communication Skill) : การสื่อสารและนำเสนอ
๕. ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนใจความสำคัญกับเนื้อหาคำประพันธ์ที่ถอดความแล้วของกลุ่มตนเองกับกลุ่มอื่น แล้วนำเนื้อหาที่ได้รับมาแสดงบทบาทสมมุติ ให้นักเรียนและครูร่วมกันชมบทบาทสมมุติและวิจารณ์ว่ากลุ่มใดแสดงได้ดีที่สุด
ขั้น Self – regulating : การประเมินเพิ่มคุณค่า
๖. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้
• การอ่านจับใจความ วิเคราะห์ และวิจารณ์ เป็นกระบวนการที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เป็นทักษะสำคัญที่จะทำให้การอ่านมีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
๑๓. สื่อ / แหล่งเรียนรู้ / บุคคล
- เข้าถึงใน : clearnotebooks.com/th/notebooks/818533
๑๔. วัดผลประเมินผล
๑. วิธีการวัดและประเมินผล
๑.๑ สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
๑.๒ สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
๒. เครื่องมือ
๒.๑ แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
๒.๒ แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
๓. เกณฑ์การประเมิน
๓.๑ การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
ผ่านตั้งแต่ ๒ รายการ ถือว่า ผ่าน
ผ่าน ๑ รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน
๓.๒ การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
คะแนน ๙ - ๑๐ ระดับ ดีมาก
คะแนน ๗ - ๘ ระดับ ดี
คะแนน ๕ - ๖ ระดับ พอใช้
คะแนน ๐ - ๔ ระดับ ควรปรับปรุง
๑๕. บันทึกหลังสอน
………………………………………………………………………………………………………….………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!