ฉันเลือกคำว่า “ห่างไกลความเจริญ กับ อยู่ใกล้ความเจริญ” เป็นสิ่งที่มองว่าเป็นสิ่งที่ถูกสร้างให้เราไม่เท่ากัน เพราะฉันคิดว่าหากทุกพื้นที่ได้รับการสนับสนุนเหมือนกัน เท่ากัน จะทำให้ฉันมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและไม่เกิดความเหลื่อมล้ำ
ฉันเลือกคำว่า “จ้างงานน้อย vs จ้างงานเยอะ” เป็นสิ่งที่มองว่าเป็นสิ่งที่ถูกสร้างให้เราไม่เท่ากัน เพราะ ฉันคิดว่าสิ่งนี้หากทุกพื้นที่ได้รับเท่ากัน ส่งเสริมสนุน จะทำให้ฉันมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีเงินเดือนส่งต่อให้พ่อแม่ใช้อย่างสุขสบาย ไม่อดอยาก
เป็นคำตอบหนึ่งของ นร ที่สะท้อนออกมาจาก การที่ครูชวนคิดในกิจกรรม โลกคู่ขนาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียน เขียนสิ่งที่ ชนบท กับ เมือง นั้นมีที่ความต่างกัน แล้วให้ นร เรียนแชร์กันว่าทำไมคิดเช่นนั้น อาทิคำตอบที่ได้จากชั้นเรียนดังนี้
ถนนลูกรัง vs ถนนคอนกรีต
คนไม่แออัด vs คนแออัด
ไกลความเจริญ vs ใกล้ความเจริญ
สงบ vs วุ่นวาย
จ้างงานน้อย vs จ้างงานเยอะ
เดินทางลำบาก vs เดินทางสะดวก
ความล้าหลัง vs ความทันสมัย
หลังจากนั้น ครูให้นักเรียนเลือก คำ 1 คู่ ที่คิดว่าส่งผลทำให้วิถีชีวิตของคนที่อยู่พื้นที่ต่างกัน มีคุณภาพชีวิตที่ต่างกัน พร้อมบอกเหตุผล
ช่วงสะท้อนคิด ผ่านการคิด #bnpโอกาสบ้านฉัน ครูให้โจทย์ว่าถ้าบ้านฉันเข้าถึง.........จะเกิดอะไรขึ้น
1.ถ้าบ้านฉันเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ : ......................
2.ถ้าบ้านฉันเข้าถึงโรงเรียนมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน : ..........
3.ถ้าบ้านฉันเข้าถึงน้ำปะปา ไฟฟ้าข้างทาง : ...................
4.ถ้าบ้านฉันเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เท่ากัน : ..............
สุดท้าย ครูชวนคิดว่าการเข้าถึงโอกาสที่ต่างกัน เป็นจุดเริ่มต้นของความเหลื่อมล้ำ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!