กิจกรรม วิทยาศาสตร์ ป.6 วันนี้
เรียนเรื่อง การแยกสารโดยใช้วิธีการหยิบออก การร่อน และการใช้แม่เหล็ก
.
1. ให้นักเรียนสังเกตสารที่ผสมอยู่ในบีกเกอร์ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร และน่าจะมีสารอยู่กี่ชนิด
2. ให้นักเรียนลองคิดวิธีการแยกสารเหล่านี้ออกจากกัน ด้วยอุปกรณ์ที่เลือกช็อปได้ตามใจ
3. ให้นักเรียนออกมาหยิบอุปกรณ์ และทดลองแยกสารตามวิธีการต่าง ๆ ที่ได้วางแผนไว้ และถ้านักเรียนได้มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนให้นักเรียนเขียนเพิ่มเติมไปด้วย
4. ให้นักเรียนออกมานำเสนอวิธีการแยกสารของตนเอง และบอกเหตุผลที่เลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ
5. ครูใช้คำถามซักไซ้ เพื่อสรุปวิธีการแยกสารทั้ง 3 วิธี ข้อดี และข้อจำกัดของมัน
6. ขยายความรู้โดยใช้สถานการณ์อื่น ๆ แล้วถามนักเรียนว่า ถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้จะใช้วิธีการใดหรืออุปกรณ์ใด
.
สิ่งสำคัญของกิจกรรมนี้อีกอย่าง คือ การใช้คำถามซักไซ้ ในระหว่างที่นักเรียนนำเสนอ เช่น
.
😁 ทำไมนักเรียนถึงเลือกใช้แม่เหล็ก รู้ได้ยังไงว่าต้องใช้แม่เหล็ก (เด็กก็จะตอบว่า ก็อยู่ในตะกร้าอะค่ะ เลยเดาว่าต้องใช้55555)
งั้นเราก็ต้องขยี้ต่อว่า แล้วแม่เหล็กมันดูดอะไรติดออกมา ทำไมมันไม่ดูดทรายติดมาด้วย (คุยไปคุยมา ก็จะได้ข้อสรุปว่า แม่เหล็กใช้แยกสารที่เป็นสารแม่เหล็กออกจากสารที่ไม่ใช่สารแม่เหล็กได้ เช่น ใช้แยกผงเหล็กที่เป็นสารแม่เหล็ก ออกจากทรายที่ไม่ใช่สารแม่เหล็กได้)
😆 ทำไมนักเรียนใช้การหยิบก้อนหินก้อนใหญ่หรือเศษใบไม้ออกจากสารผสม ทำไมไม่ใช้ตะแกรงร่อน (เด็กตอบว่า เพราะมันหยิบง่าย และมีหินไม่เยอะครับ ซึ่งเริ่ด)
😆 ทำไมนักเรียนเลือกใช้ตะแกรงร่อนกรวดก้อนเล็กกับทรายออกจากกันล่ะ ใช้มือหยิบออกไม่ได้หรอ (ก็มีเด็กตอบว่า ใช้มือหยิบได้ แต่ช้าครับ ใช้ตะแกรงมันเร็วกว่าครับ เพราะมันมีกรวดก้อนเล็ก ๆ อยู่เยอะ)
.
วันนี้เป็นวันแรกที่ได้ลองสอนเรื่องนี้ ถือว่าค่อนข้าง complete ละ ให้ตัวเองสัก 8/10 ละกัน เพราะรู้สึกว่า กิจกรรมมันสนุกและดีกว่านี้ได้อีก 😆 อีกอย่าง คือ รู้สึกว่า ยังใช้คำถามไม่สมูท และมันมีประเด็นที่เจาะถามให้มันส์กว่านี้ได้อีก
#ห้องเรียนครูกุ่ย #วิทย์ป6
มาชมตัวอย่างความสนุกขณะทำกิจกรรมกันเลยครับ
1.เริ่มจากครูเตรียมสารผสมไว้ให้ก่อน ครูก็เดินไปตามหาทั่วโรงเรียน ได้สารผสมนี้มาจาก กรวดหินดินทราย เศษใบไม้กิ่งไม้ และผงสีดำ ๆ อะไรไม่รู้ที่แอบใส่ลงไปด้วย!
2.เริ่มให้นักเรียนสังเกต มีอะไรอยู่บ้างน้า?
3.ครูก็เตรียมอุปกรณ์ไว้ให้นักเรียนช็อปปิ้ง อันนี้หาทั่วสารทิศแล้ว ได้เท่านี้จีๆ
4.เริ่มออกแบบวิธีการแยกสาร
5.ออกแบบเสร็จ ก็มาหยิบอุปกรณ์ แล้วลองแยกสารเลยสิคะ!
6.ขอเอาหนังสือบังลมแปป ลมแรงไม่ไหว55565
7.ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนค่ะ
8.ตัวอย่างผลงานนักเรียน จึ้งไม่ไหว ทำได้ดีมาก เห็นนักเรียนสนุก ได้ลองคิด ได้ลองพยายามทำให้สำเร็จ ครูก็ปลื้มใจแล้วครับ :))
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!