ก่อนหน้าจะมีความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ของเล่นสนุก ๆ ทำง่าย ๆ อย่างรางดินน้ำมัน คือ กิจกรรมที่เด็กยุค 90s เคยเล่นมาอย่างแน่นอน เช่นเดียวกันกับคุณครู ทำให้หวนระลึกถึงอดีตที่สนุกสนาน จึงนำเกมเป่ารางดินน้ำมันมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในบท Giving Direction (การบอกทิศทาง)
1) แบ่งกลุ่มตามจำนวนสมาชิกในห้องเรียน (จำนวนกลุ่มเป็นเลขคู่)
2) หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มจับฉลากเพื่อจัดสายการแข่งขันโดยแบ่งออกเป็นสาย A และ สาย B
3) ในแต่ละสายจะต้องทำการแข่งขันกันเองเพื่อหาผู้ชนะของแต่ละสายก่อน แลวผู้ชนะของแต่ละสายจะทำการแข่งขันอีกรอบในรอบชิงชนะเลิศ ส่วนกลุ่มที่ตกรอบจะได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (ที่3) ร่วมกัน
คุณครูสามารถเสริมแรงด้วยการให้คะแนนตามลำดับ เช่น กลุ่มที่ชนะเลิศ ได้ 5 คะแนน, ที่ 2 ได้ 4 คะแนน และ ที่ 3 ได้ 3 คะแนน ตามลำดับ
4) ขณะเล่นแต่ละรอบ กลุ่มใดเป่าถึงสถานที่ที่เป็นจุดหมายก่อน จะต้องวิ่งไปกดกระดิ่งเพื่อได้รับสิทธิ์ในการตอบ โดยแต่ละรอบครูจะถามว่า Where's+ a place? หรือ Where + a place + is? แล้วผู้สอนตอบตำแหน่ง
ตัวอย่าง
รอบที่ 1 Q: Where's the hotel? Or Where the hotel is? .. A: It's next to the bank. Or The hotel is next to the bank. เป็นต้น
การจัดทำรางดินน้ำมัน
1) ออกแบบคำศัพท์สถานที่ที่จะสอน
2) ออกแบบคำศัพท์ Prepositions of location ที่จะสอน (in, on, next to, across from, opposite, between, at the corner of, on the corner of)
3) จัดทำรางดินน้ำมันโดยเพิ่มความท้าทายและเพิ่มทักษะการวางแผนด้วยการทำอุปสรรค อาท หลุม ทางราดข้างถนน สะพานสูง และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักวางแผนในการเดินทางเพื่อถึงจุดหมายอย่างปลอดภัยและเร็วที่สุด
4) ตกแต่งเพิ่มเติม
*หมายเหตุ กิจกรรมนี้สามารถใช้ซ้ำได้เมื่อผู้สอนสอนการอธิบายการเดินทางไปถึงจุดหมายนั้นได้อีกด้วย เช่น คาบแรกสอนคำศัพท์สถานที่+บุพบทบอกตำแหน่ง และครั้งที่ 2 สอนการบอกทิศทาง กิจกรรมนี้สามารถนำมาใช้ได้อีกทั้งการฝึกฟังและพูด) ขึ้นอยู่กับผู้สอนจะออกแบบ*
คุณครูพยายามให้ผู้้เรียนในกลุ่มตอบด้วยกันทั้งกลุ่ม เนื่องจากบางครั้งในกลุ่มจะมีผู้ตอบคนเดียว ดังนั้นคุณครูจึงต้องหาโอกาสให้ผู้เรียนได้ช่วยกันตอบเพื่อฝึกทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร โดยอาจจะใช้คำสั่งว่า answer together, speak together, all of you together .. เป็นต้น
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!