จริง ๆ กิจกรรมนี้มีชื่อเรียกเยอะมาก เช่น
- กิจกรรม Indentity สมัยเรียนได้ workshop กับ ศน.โจ๊ก
- กิจกรรม Power walk อ้างอิงจากหนังสือพลังเยาวชน พลังพลเมือง ของ สพฐ.
(ล่าสุดเห็นกิจกรรมคล้ายกันของครูท่านหนึ่งแต่เป็นการเขียนคะแนนแทน อันนั้นชอบมากเพราะสะดวกและง่ายดี)
ซึ่งรูปแบบที่เคย workshop นั้น เป็นการสวมบทบาทเป็นอาชีพหรือสภานภาพในสังคม
แล้วจะมีคำถามหรือสถานการณ์มาให้ตัดสินใจ
หากอาชีพหรือสถานภาพของเราสามารถทำได้ให้ก้าวมาข้างหน้า
หากไม่สามารถทำได้ให้ยืนอยู่กับที่
ที่นี้ผมก็นำมาปรับให้เข้ากับบริบทของ รร.
มีอาชีพ/สถานภาพให้ นร. เลือก เช่น รมต. นายทหาร ผู้พิการ ผู้ให้บริการทางเพศ เด็กกำพร้า ข้าราชการ ฯลฯ
(ห้ามบอกเพื่อนกลุ่มอื่นรู้ว่ากลุ่มตนเองได้อาชีพอะไร เพราะเดี๋ยวจะมาทายกันตอนหมดคำถาม)
(อาชีพปรับได้ตามแต่สมควร)
เปลี่ยนจากการเดินจริง เป็นเดินหมากแทน
(ฝาน้ำอัดลม)
แจกหมากให้กลุ่มละเท่า ๆ กัน
อาชีพไหนอ่านคำถามแล้วคิดว่าใช่ก็เอาหมากมาวาง
บางอาชีพวางจนครบ บางอาชีพก็วางแค่นิดเดียว
ตย. คำถาม เช่น “ฉันสามารถไปไหนมาไหนก็ได้ในประเทศ”
เมื่อหมดคำถาม…เราก็ชวนคุยว่า
- หมากที่แจกให้จำนวนเท่า ๆ กันนั้น
ถ้าเป็นชีวิตจริงจะเปรียบเหมือนอะไร ? (สิทธิพื้นฐาน)
- แล้วหมากที่เลือกอยู่ในมือนั้น จะเปรียบเหมือนอะไร?
(สิทธิที่ไม่ได้ใช้ สิทธิที่หายไป)
- บางคนเหลือเยอะ เหลือน้อย เพราะอะไร
- ชวนให้เห็นภาพความเหลื่อมล้ำในสังคม
นับจากครั้งแรกที่ได้ workshop จนถึงวันที่ลองนำมาใช้ในห้องเรียนตนเองก็เกือบ 4 ปี ฮ่า ๆ
ลองดูแล้วได้เจอเรื่องเซอร์ไพรส์ ๆ ในห้องเรียนเต็มไปหมด
**กิจกรรมนี้เพิ่มความสนุกด้วยการให้นักเรียนทายอาชีพหรือสถานภาพของกลุ่มเพื่อน ๆ
โดยจะให้ทายหลังจากหมดคำถามแล้ว
//คุณครูสามารถบอก trick กับนักเรียนว่าลองสังเกตจากการที่เพื่อนมาวางหมากในข้อถามข้อไหนบ้าง
จะได้ฝึกให้นักเรียนช่างสังเกตและนักเรียนจะได้ไม่มองข้ามคำถามที่เราอ่านให้ฟังครับ
ลุยครับ
#ส่งต่อกำลังใจส่งต่อไฟในการทำงาน
ผมแจกไฟล์ไว้เพื่อคุณครูนำไปปรับใช้ในห้องเรียนครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!