icon
giftClose
profile

กิจกรรมRainbow กับกรดเบส

17612
ภาพประกอบไอเดีย กิจกรรมRainbow กับกรดเบส

สวัสดีค่าาา ปีนี้ได้มาเรียนกันที่โรงเรียนก็สนุกสนานกับกิจกรรมทบทวนบทเรียนกันอย่างวิชาวิทยาศาสตร์ ม.3

หัวข้อ : ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน อย่างปฏิกิริยากรดกับเบส

.

ในการทดลองเราสามารถสนุกกับการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีตามปริมาณกรด/เบสที่มากนี้ต่างกัน

จากที่เราเคยเรียนคือ


กรด ====> ไฮโดรเจนไอออน + ไอออนลบ

HCl ====> H+ + Cl-


เบส ====> ไฮดรอกไซด์ไอออน + ไอออนบวก

NaOH ====> Na+ + OH-


เมื่อเรานำสารละลายทั้งสองมาผสมกันจะเกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส

และสามารถทดสอบว่ามีความเป็นกรดหรือเบสมาน้อยเท่าไหร่ตามสีของอินดิเคเตอร์ที่เราใช้ทดสอบ

.

ซึ่งมีอยู่ตัวหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนได้ทั้งหมด 14 ระดับ (เฉดสี 7 สีคล้ายเรนโบว์)

ก็ลองมาทำกิจกรรมในลักษณะ Small Scale (Micro Laboratory) ให้นักเรียนได้ทำทุกคนจึงจัดกลุ่มเล็ก กลุ่มละ 2 คน

ทั้งหมด 10 กลุ่ม

.

สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ (สำหรับ 1 กลุ่ม)

  1. สารละลายกรด 10 mL
  2. สารละลายเบส 10 mL
  3. ตัวทดสอบค่า pH (Universal Indicator) 1 mL
  4. หลอดทดลองเล็ก 10 หลอด
  5. ที่วางหลอดทดลอง 1 อัน
  6. ขวดหยดสาร(เล็ก)ขนาด 2 - 10 mL

.

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. ศึกษาการเกิดปฏิกิริยาของกรดและเบส พร้อมทั้งสังเกตการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์
  2. ศึกษาว่าปริมาณของกรด/เบสที่ต่างกันส่งผลต่อการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์อย่างไรบ้าง

.

ระยะเวลาในการทำกิจกรรม 30 - 40 นาที

.

ภาพขั้นตอนการเตรียมและการทำกิจกรรม

  • เตรียมอุปกรณ์สำหรับเตรียมสารที่ใช้ในการทดลอง


  • ขวดใส่สารทั้งหมดสำหรับ 1 กลุ่ม


  • หยดอินดิเคเตอร์ลงในหลอดทดลองทั้งหมด และลองหยดกรด/เบสในปริมาณที่แตกต่างกัน แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงสี

อาจจะเทียบกับแทบสี pH 14 ระดับ เพื่อยืนยันเฉดสีที่เกิดขึ้นว่าอยู่ในช่วง pH ใด


  • ตัวอย่างผลงานนักเรียนที่ทำกิจกรรม "Rainbow กับกรดเบส"


  • ตัวอย่างผลงานนักเรียนที่ทำกิจกรรมเรียบร้อย แล้วลองมาเรียงลำดับของสีจะเห็นว่ามีการลำดับตรงกับค่า pH

สีแดง - สีเหลือง เป็นกรด

สีเขียว เป็นกลาง

สีเขียวฟ้า - สีม่วง เป็นเบส


สิ่งที่นักเรียนได้รับหลังจากทำกิจกรรม

  1. ได้ฝึกสมาธิในการหยดสารและการรอคอยว่าจะต้องทำให้ได้สีต่างกัน ทำอย่างไร และสีไหนมีความยากสุด
  2. ช่วงสีเหลืองและสีส้ม จะทำได้ยาก นักเรียนมีความพยายามและความภูมิใจหลังจากทำสำเร็จ
  3. ช่วงสีเขียวและสีฟ้า ก็ยากเช่นกัน ต้องพยายามใช้ความอดทนระยะหนึ่ง ในการหยดสารและดูการเปลี่ยนแปลงกลับไปมา
  4. ได้ฝึกความแม่นยำในการหยดสาร การใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง(อย่างง่าย ก่อนที่จะไปเรียนในม.ปลายเรื่องการไทเทรต)
รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(3)