กิจกรรมนักประวัติศาสตร์น้อย มีที่มาจากในเรื่องของวิธีการทางประวัติการ การวิเคราะห์หลักฐาน และการตีความทางประวัติศาสตร์ ในเนื้อหาการเรียนการสอนในระดับชั้น ม. 4
โดยเริ่มจากการสร้างและจำลองให้นักเรียนได้รับรู้เหตุการณ์โดยบทบาทของนักเรียน คือ นักประวัติศาสตร์ฝึกหัดตัวน้อยที่ต้องลงไปเรียนรู้การวิเคราะห์หลักฐานและข้อมูลทางประวัติศาสตร์
1.ครูผู้สอนสามารถออกแบบสถานการณ์ที่เชื่อมโยงกับความรู้และเนื้อหาทางการเรียนการสอน (ตามตัวอย่างที่แนบในเรื่อง การวิเคราะห์ตีความหลักฐานตามวิธีการทางประวัติศาสตร์)
2. แบ่งกลุ่มนักเรียนตามสถานการณ์ 4-6 กลุ่ม และมอบหมาบใบงานและใบสถานการณ์ให้กับนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์
3. โดยลำดับแรกนักเรียนต้องมีการอ่านเรื่องราว และแยกแยะข้อมูล ตีความ แยกประเภทหลักฐาน และนำมาเชื่อมโยงเพื่อสันนิษฐานตามข้อมูล
4. ขั้นตอนการสันนิษฐานเน้นการสร้างสรรค์อย่างมีเหตุผล โดยการสร้างชื่อเมืองใหม่ พร้อมกับเชื่อมโยงหลักฐานที่และวิเคราะห์พฤติกรรมและอารยธรรมของพื้นที่ๆนั้นอย่างสร้างสรรค์และยังอยู๋ในขอบเขตทางประวัติศาสตร์
5.จากนั้นให้นักเรียนทำการออกแบบการนำเสนอเมืองของตนเองที่นักประวัติศาสตร์ตัวน้อยๆของเราได้ค้นพบขึ้น อาจจะนำเสนอผ่าน Powerpoint บทบาทสมมุติ เป็นต้น
นักเรียนสามารถวิเคราะห์ตามขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์และสามารถออกแบบได้อย่างสร้างสรรค์
และพฤติกรรมที่เสริมขึ้นมาคือ นักเรียนทุกคนอยากนำเสนอเมืองของแต่ละกลุ่มของตนเองมากๆ จากปกติที่เด็กกลัวมากนำเสนอหน้าชั้นเรียน แต่ทั้งนี้พฤติกรรมเน้นไปในแนวทางที่ดีในการส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออกมากขึ้นครับ
เน้นคุณครูผู้สอนเป็นโค้ชคอยให้คำแนะนะและเปิดกว้างในการรับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนให้เต็มที่เพื่อฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้และวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์นะครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!