ทดลองแอพ Breakeven
เรื่อง อุปสงค์ - อุปทาน กลไกราคาตลาด
ในรายวิชาสังคมศึกษาฯ มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1
.
เริ่มต้นที่ครูสร้างห้องเข้าร่วมโดยลิ้ง หรือ QR
เมื่อนักเรียนเข้ามาแล้ว
.
กติกาการเล่นจะมีบทบาทให้เล่นคือ บทบาทผู้ซื้อและผู้ขาย
ผู้ซื้อจะมีเงินหรืออำนาจในการซื้อแตกต่างกันไปในแต่ละรอบ เช่น 1S 2S 3S
.
สำหรับผู้ขาย สามารถเลือกที่จะขายเพชรได้ 1 ครั้งในแต่ะละรอบ
ส่วนเงินของผู้ขายเพชรส่วนใหญ่จะติดลบ ดังนั้นผู้ขายจะตั้งราคาให้สูงกว่าเงินที่ตนเองติดลบเสมอ เช่น ติดลบ -8S จะต้องตั้งราคาขายให้มากกว่า 8 คือ 9 ขึ้นไปจึงจะวางขายได้
.
ในแต่ละรอบจะสลับบทบาทกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย (ครูสามารถกำหนดเวลาในแต่ละรอบได้ คือ 3 นาที)
.
การตอบโต้กันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ในแต่ละรอบจะมีผู้ที่ไม่สามารถขายเพชรได้เนื่องจากคนที่มีอำนาจในการซื้อหรือผู้ซื้อได้ลงทุนกับผู้เล่นคนอื่นไปแล้ว จึงไม่ได้คะแนน
และแต่ละรอบจะมีผู้ที่ไม่สามารถขายเพชรได้เนื่องจากคนที่มีอำนาจในการซื้อหรือผู้ซื้อได้ลงทุนกับผู้เล่นคนอื่นไปแล้ว จึงไม่ได้คะแนน (คะแนนขึ้นอยู่กับการวางแผนการขายในแต่ละรอบว่าจะตั้งราคาในระดับเท่าไหร่ที่ไม่ขาดทุนหรือกว่าการติดลบ) เรทราคาผู้ซื้อ - ผู้ขาย
ผู้เล่นที่สามารถขายเพชรได้มากที่สุดจะเป็นฝ่ายชนะ (นั่นขึ้นอยู่กับราคาที่ผู้เล่นตั้งในรอบแรกด้วยเช่นกัน หากตั้งราคาสูงเกินไปเพื่อนหรือผู้ซื้อก็ไม่สามารถลงทุนหรือประมูลราคาได้นั่นเอง)
.
สรุปเกมนี้ ช่วยให้ผู้เรียนได้ทดลองเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ทดลองการกำหนดราคา และทดลองการซื้อ หากสามารถซื้อเพชรได้มากในรอบแรก ก็สามารถที่จะตอบโต้กับผู้ซื้อในรอบถัดไปผ่านการเป็นผู้ขายอีกครั้ง การที่เงินของผู้ซื้อมีไม่เพียงพอก็หมายถึงการที่ผู้ซื้อมีอำนาจในการซื้อน้อย และอุปสงค์ก็เกิดน้อยเช่นอยากได้เพชรมากแต่ซื้อได้เพียงนิดเดียวหรือซื้อไม่ได้เลยเนื่องจากเพื่อนๆในห้องตั้งราคาสูงมากจนเกินไป
ผู้ขายเองก็ต้องวางแผนการขายโดยขายให้มากกว่าเงินของตนเองที่ติดลบ หากขายน้อยมากเงินที่ติดลบก็จะหักกับราคาที่ขายเพียงน้อยนิด นั่นแสดงว่าเงินที่คงเหลือจากการขายคือกำไรที่นั่นเอง (การตั้งราคาขายก็ต้องมีการตัดสินใจวางแผนให้ดี) เชื่อมโยงในเรื่องของกลไกราคา ที่ว่าหากตั้งราคาสินค้าที่ขายสูงกว่าผู้ขายคนอื่นๆก็จะส่งผลให้ผู้ขายไม่สามารถขายได้ และปรับราคาสินค้าในรอบหน้าให้เรทราคาต่ำลง
แท็กที่เกี่ยวข้อง