สวัสดีค่ะ หลาย ๆ คนเล่นบอร์ดเกมกันแล้ว ก็อยากจะรู้เหมือนกันไหมว่าถ้าเราทำการทดลองจริง ๆ
จะทำให้ความเข้าใจเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง
จากที่เราสอนเรื่องของการละลายน้ำนักเรียนมักจะจิตนาการไม่ออกระหว่างทฤษฎีกับการทดลองเกี่ยวข้องกันจริง ๆ หรือไม่ ทำให้เวลาทำการทดลองเราไม่สามารถนำเอาความรู้ที่เรียนมาอภิปรายผลการทดลองของเราได้ชัดเจนเท่าไร
ลักษณะการละลายของกรด 2 หยดผสมกับสารละลายเบส 1 หยด (การละลายแบบแตกตัว)
ลักษณะการละลายของเบส 3 หยดผสมกับสารละลายกรด 2 หยด (การละลายแบบแตกตัว)
เราเลยเลือกใช้บอร์ดเกม "Alchemist" print and play version ที่ออกแบบโดย Facebook "เคมีBoardgame"
มาอธิบายการเกิดไอออนของสารว่าเมื่อละลายน้ำแล้วแตกตัวเป็นไอออนจะดูอย่างไร
โดยในเกมก็ให้เราทำสารใหม่ที่เกิดจากการผสมกันของกรด เบส เพื่อให้ได้สารที่ลูกค้าต้องการ
เราจึงลองใช้สารละลายกรด เป็นกรดไนตริก และสารละลายเบส เป็นโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ มาทำการทดลองคล้าย ๆ การไทเทรต เพื่อดูการเปลี่ยนของสารที่ว่า
กรด + เบส ===> เกลือ + น้ำ
หมายเหตุ : กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมสำหรับทบทวนความเข้าใจของผู้เล่น/ผู้เรียนเท่านั้นนะคะ สามารถนำไปเรียนรู้ด้วยตนเองได้ หรือจะลองปรับให้เป็นกิจกรรมในห้องก็น่าสนใจค่ะ
หากสนใจไอเดียนี้เราออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ยังไง
คลิกที่นี่ ได้เลยค่ะ
เราอธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมในคลิปวิดีโอ YouTube
ฝากติดตามการเรียนการสอนเคมีญี่ปุ่น เพิ่มเติมได้ที่ Facebook "Jirat(อ.จ๊อบ)"
และติดตามเรื่องรวมของบอร์ดเกมเคมีได้ที่ Facebook "เคมีBoardgame"
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!