การเดินจงกรมสำคัญและเห็นประโยชน์มาก
เพราะเหตุสองประการครับ
ประการแรกคือเราลืมตาอยู่
ประการที่สองคือ มีการเคลื่อนไหวของร่าง
หมายความว่าเรากำลังเปิดให้จิตที่รับรู้อารมณ์
อย่างเต็มที่ทั้ง ๖ ทาง (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
สติปัฏฐาน4 กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑.๑ การยืน วิธีปฏิบัติ ให้ยืนตรง ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับมือซ้ายวางไว้ตรงกระเบนเหน็บ หน้าตรง หลับตา สติจับอยู่ที่ศรีษะกำหนดว่า "ยืนหนอ" ๕ ครั้ง แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกคำว่า "ยืน" จิตวาดมโนภาพร่างกายจากศรีษะลงมาหยุดที่สะดือ คำว่า "หนอ" จากสะดือลงไปปลายเท้า แล้วกำหนดว่า หนอ จากสะดือขึ้นไปบนศรีษะ กลับไปมาจนครบ ๕ ครั้ง ขณะยืนอยู่นั้นให้สติอยู่ในกาย อย่าให้ออกไปนอกกาย เสร็จแล้วลืมตา ทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๑ วา สติจับอยู่ที่เท้าเตรียมพร้อมที่จะเดิน ๑.๒ การเดินจงกลม เมื่อกำหนด "ยืนหนอ" ๕ ครั้งแล้ว จึงตั้งต้นเดินจงกรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เดินสมาธิ
ระยะ ที่๑ การเดินจงกลม เมื่อกำหนด "ยืนหนอ" ๕ ครั้งแล้ว จึงตั้งต้นเดินจงกรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เดินสมาธิ การเดินจงกรมมี ๖ ระยะคือ ๑.๒.๑ การเดินจงกรมระยะที่หนึ่ง กำหนดว่า "ขวา-ย่าง-หนอ" "ซ้าย-ย่าง-หนอ" โดยปฏิบัติดังนี้ ยกส้นเท้าขวาขึ้นพร้อมกับกำหนดว่า "ขวา" เลื่อนเท้าไปข้างหน้าประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมากพร้อมกับกำหนดว่า "ย่าง" แล้วเหยียบพื้นโดยใช้ปลายเท้าลงก่อน แล้วค่อยๆ วางส้นเท้า กำหนดว่า "หนอ" เท้าซ้ายทำแบบเดียวกับเท้าขวา กำหนดว่า "ซ้าย-ย่าง-หนอ " เมื่อเดินสุดทางแล้ว กำหนด ยืนหนอ ๕ ครั้ง ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว จากนั้นกำหนดกลับโดยกำหนด "กลับ-หนอ" ๔ ครั้ง เมื่อกำหนดครั้งที่ ๑ ให้ยกปลายเท้าขวา ส้นเท้าติดพื้น หมุนส้นเท้าไปทางขวา 90 องศา พร้อมกับกำหนดว่า กลับ แล้ววางปลายเท้าลงกับพื้นพร้อมกับกำหนดว่า หนอ ครั้งที่ ๒ ลากเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา ครั้งที่ ๓ ทำเหมือนครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๔ ทำเหมือนครั้งที่ ๒ แล้วหลับตากำหนด "ยืน-หนอ" ๕ ครั้ง แล้วจึงเดินต่อไปจนหมดเวลาที่กำหนด
https://www.kroobannok.com/4689
นักเรียน ร่วมกิจกรมอย่างดี
ก่อนทำกิจกรรมการเรียนรู้ ให้นักเรียนนั่งสมาธิ ๓ นาที
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!