เนื้อหาการเรียนรู้ เรื่อง อุปสงค์และกลไกราคา โดยจำลองการซื้อขายของสินค้าในระบบตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ คือ ตลาดการค้าเสื้อผ้า มีการแข่งขันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ต่อรองราคา สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ในระดับประถมปลายถึงมัธยม และใช้ในกลุ่มการเรียนจำนวน 50 คนได้
1. การตรียมอุปกรณ์
1.1 ให้ตรวจสอบอุปกรณ์โดยมีการ์ดสินค้า จำนวน 64 ใบและเงิน จำนวน 66 ใบ
1.2 แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพ่อค้ากับกลุ่มลูกค้า โดยกลุ่มพ่อค้าแบ่งออกเป็น 4-6 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน (ขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียนในห้อง) และกำหนดกลุ่มลูกค้า โดยลูกค้าจะเล่นเดี่ยว ส่วนพ่อค้าจะเล่นเป็นคู่
1.3 จัดโต๊ะให้กลุ่มพ่อค้า เป็นวงกลมล้อมรอบกลุ่มลูกค้า และแจกอุปกรณ์ให้กลุ่มพ่อค้า คือ การ์ดสินค้า จำนวน กลุ่มละ 10 ใบ (คละ) , เงินทอนแบ้ง 50 = 5 ใบ แบ้ง 100 = 3 ใบ และแจกเงินให้ลูกค้าคนละ 50-500 ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครู
1.4 ให้โจทย์กลุ่มพ่อค้าว่า “ตั้งราคาอย่างไรก็ได้ ภายใต้สินค้า 10 ชิ้น ให้ได้ผลกำไรมากที่สุด” และให้โจทย์กลุ่มลูกค้าว่า “ต่อรองราคาอย่างไรก็ได้ ให้ได้จำนวนสินค้า มากที่สุดและคุณภาพดีที่สุด” (คุณภาพดูจากหมายเลขมุมการ์ด)
2. ขั้นตอนการเล่นของผู้เล่น
- กลุ่มพ่อค้าทำการขาย และกลุ่มลูกค้าทำการซื้อภายใต้ระยะเวลา 10นาที
3. การจบเกม : เกมจบเมื่อครบเวลา 10 นาที โดยครูเป็นคนจับเวลา
4. การคิดคะแนน : หลังจากจบเกม แต่ละกลุ่มจะแข่งขันกัน กล่าวคือ กลุ่มพ่อค้าจะแข่งขันยอดกำไรสูงสุด ส่วนกลุ่มลูกค้าจะแข่งขันโดยใช้ผลรวมของจำนวนสินค้ากับหมายเลขคุณภาพสินค้าในแต่ละการ์ด
ครูชวนตั้งคำถามว่า
- ทำไมถึงขายดี ขายได้เยอะ
- ทำไมถึงขายไม่ค่อยได้
- คนจนต่อรองยังไง
- คนรวยต่อรองยังไง
เชื่อมโยงสู่หลักการอุปสงค์- อุปทาน เทียบเคียงกับระดับราคาในระบบเศรษฐกิจ หากขายราคาสูง จะส่งผลทำให้คนซื้อน้อย แต่หากขายราคาต่ำ จะส่งผลทำให้คนซื้อเยอะ สุดท้ายแล้วต่อรองกันได้ในระดับราคาที่เท่าไหร่ จุดนั้น คือ จุดดุลยภาพระหว่างอุปสงค์และอุปทาน
กระบวนการจัดการเรียนรู้ สามารถอ่านรายละเอียดได้ใน (คู่มือการเล่น ในไฟล์แนบ)
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!