icon
giftClose
profile

Pluto ที่รัก Part II (สภาดวงดาราแห่งดาวโลก 40_)

5710
ภาพประกอบไอเดีย Pluto ที่รัก Part II (สภาดวงดาราแห่งดาวโลก 40_)

หลังจากได้ข้อมูลจาก part ที่แล้ว เราย้อนไปที่สไลด์อันแรกที่มีรูปการ์ตูนน่ารักๆครับและชวนให้อินกับเหตุการณ์ โดยเราเล่าสตอรี่ตอนที่พลูโตถูกถอดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ โดยเปรียบเทียบกับสุนัขที่เราทิ้งไว้ที่วัดหรือเด็กๆที่เคยอยู่ด้วยกันแต่เราไล่เขาออกจากบ้านไปโดยให้นักเรียน 1 คนสวมบทบาทเป็นดาวพลูโต

.

จากนั้นย้อนเข้าสู่คำถามที่ว่าพลูโตควรกลับมาเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ไหมและชวนเด็กๆนั่งลงแล้วจัดโต๊ะเป็นวงตั้งเป็นสภาดาราศาสตร์เพื่อมาตัดสินว่าพลูโตควรกลับมาเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 หรือไม่ครับ

.

โดยให้โอกาสนักดาราศาสตร์ประจำสภา ซึ่งก็คือนักเรียนได้มีโอกาสเสนอว่าพลูโตควรหรือไม่ควรกลับมาเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และให้เหตุผลประกอบ

ซึ่งผู้ที่จะเสนออาจเป็นนักเรียนคนที่เราสุ่มไว้หรือไม่ใช่ก็ได้

ให้เวลาในการโต้แย้งกันประมาณ 30 นาที จากนั้นก็ชวนโหวตร่วมกันครับ มติออกมาแบบไหนถือว่าสภาประจำห้องได้เลือกแล้ว

.

ปรากฏว่า

ทุกคนอินมากเล่นกันสมบทบาทมากๆ ตั้งแต่คนที่สวมบทเป็นพลูโต คนที่สนับสนุนพลูโตและไม่สนับสนุนให้กลับมาเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 บรรยากาศการเรียนรู้กลับมา จนเกิดคำถามมากมาย เช่น

a.จริงๆแล้วนิยามของดาวเคราะห์มันใช้ได้จริงหรือเปล่าบางข้ออาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ใช่ไหมคะ

b.ทำไมเราตัดสินดาวจากการผิดกฎแค่ 1 ข้อทั้งที่จริงๆแล้วคนนั้นอาจไม่ถูกต้องก็ได้ครับ

c.บางทีนิยามหรือทฤษฎีก็แค่ถูกรองรับด้วยหลักฐานบางอย่างถ้าเราหักล้างได้ เราก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อนิยามนั้นก็ได้นี่เพราะฉะนั้นพลูโตควรเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ไหมครับ

หรือบางคนอาจจะเอาไปเปรียบเทียบกับดาวที่ตัวเองค้นข้อมูลมาแล้วก็พบว่าบางส่วนมันก็เหมือนกับดาวเคราะห์ 1 ใน 8 ของระบบสุริยะ ทำไมพลูโตจะเป็นดวงที่ 9 ไม่ได้

จากคำถามมากมายที่เกิดขึ้นก็เลยทำให้เกิดการตามหาคำตอบแย้งกันไปมาหมด ซึ่งมันดีมากๆเลยครับ มันทำให้เกิดบรรยากาศที่นอกจากหมดเวลาแล้ว เด็กๆยังอยากจะถามคำถามต่อกันอยู่เลย น่าเสียดายที่ทุกคนจะต้องโหวตร่วมกันก่อน ในขณะที่ข้อมูลยังอาจจะได้เหลือๆบางส่วน

แต่ก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ได้ถกเถียงและโต้แย้งกันอย่างมีเหตุผล

ซึ่งเราว่านี่ล่ะมั้งที่ควรจะเกิดขึ้นในชั่วโมงวิทยาศาสตร์

.

จากนั้นเราปิดท้ายด้วยการชวนไปต่อว่า ถ้าเรามองว่านิยามของดาวเคราะห์ชุดนี้อาจจะมี ข้อบกพร่อง

งั้นเรามาลองสร้างใหม่กันดีกว่าว่า ถ้าสมมุติว่า "โลกแตกแล้วเราจำเป็นต้องหาโลกใหม่ เราจะรู้ได้ยังไงว่า ดาวดวงไหนเป็นดาวเคราะห์และโลกใหม่ควรจะเป็นแบบไหน"

จากนั้นก็ชวนเด็กๆตั้งนิยามดาวเคราะห์กันและลองเอามาทดสอบกันต่อในคาบหน้าครับ

ซึ่งก็เป็นการแหย่กิจกรรมไว้เพื่อให้นักเรียนอินต่อกิจกรรมมากขึ้นนั่นเอง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(0)