inskru

5 เทคนิคการใช้ภาษากายที่จะช่วยให้ครูดูแลชั้นเรียนได้ดีขึ้น

0
0
ภาพประกอบไอเดีย 5 เทคนิคการใช้ภาษากายที่จะช่วยให้ครูดูแลชั้นเรียนได้ดีขึ้น

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน

วันนี้ได้ไปดูคลิปในเว็บไซต์ https://proteachervideo.com/programme/2825/body-language-techniques และ https://richardjamesrogers.com/2021/01/24/the-importance-of-body-language-in-teaching/ แล้วได้ทบทวนว่ามีเทคนิคการใช้ภาษากายที่เราเคยใช้แล้วได้ผลดี เหมาะกันคุณครูที่อาจจะพูดไม่เก่งแต่อยากมีเทคนิคเพิ่ม ไปดูกันเลย

ขั้นตอน

1.ยืนอยู่ใกล้ประตูในระหว่างที่นักเรียนเข้าห้อง

ถ้าครูสามารถไปถึงก่อนและยืนต้อนรับที่หน้าประตูก่อนเข้าห้องจะช่วยให้นักเรียนที่เดินผ่านสงบสติอารมณ์และปรับอารมณ์ให้สงบนิ่งได้มากกว่าการกรูเข้ามาในห้องทีเดียว และครูยังสามารถสังเกตและทักทายนักเรียนรายบุคคลได้อีกด้วย (แต่อย่าเผลอทำตัวดุเหมือนตรวจแถวทหารน้าา)


2.ยืดแขนขึ้นหรือวาดแขนไปด้านข้างขณะเริ่มต้นกิจกรรมการเรียนรู้หรือแจ้งหัวข้อที่จะเรียน

ท่าทางนี้จะช่วยนำสายตาและกระตุ้นความสนใจจากนักเรียนได้ และเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งเมื่อเรายกมือขึ้นเหนือศีรษะหรือออกไปจากตัวเราจะกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ตัว และเป็นการชักจูงให้คนอื่นสนใจเรา เราจะสังเกตว่ามีการใช้มือลักษณะนี้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ตำรวจจราจรขณะโบกรถ นักเต้นบนเวที (แต่อย่าถึงกับออกสเต็ปเป็นลิซ่าเลยนะคะ เอาที่พอดีดีกว่าค่ะ)


3.ยก จับ วาง มือไปที่บริเวณศีรษะหากต้องการให้นักเรียนช่วยกันคิดหรือระดมสมอง

ฟังดูเหมือนการสะกดจิต แต่ท่าทางเหล่านี้กระตุ้นให้ผู้ที่พบเห็นได้รับการกระตุ้นเพราะสมองเราประมวลผลจากภาพที่เราเห็น การที่ครูยกมือขึ้นไปจับบริเวณศีรษะแล้วทำท่าคิดจะทำให้นักเรียนรู้สึกเหมือนเวลาเห็นคนที่กินอาหารอร่อย ๆ แล้วน้ำลายไหล แต่วิธีนี้อาจจะต้องขึ้นอยู่ที่ว่าคุณครูสามารถเตรียมนักเรียนมีสมาธิก่อนเริ่มเรียนได้หรือไม่


4.หงายมือขึ้นเสมอเมื่อผายมือไปที่นักเรียน

การผายมือสามารถสื่อสารได้หลายอย่างแต่หากเราต้องการสื่อสารเพื่อเชิญชวนและเปิดโอกาสควรหงายมือขึ้น จะช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่าตัวเองสำคัญและได้รับการให้เกียรติ ซึ่งจะช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีในการร่วมกิจกรรม


5.พยักหน้า

รู้หรือไม่นอกจากแต้ม ดาว คะแนน ขนม ของรางวัล สิ่งที่ช่วยเสริมแรงไม่ได้ดีไม่แพ้สิ่งของคือ ภาษากายง่าย ๆ ด้วยการพยักหน้าเมื่อนักเรียนพูดหรือตอบคำถามหรือมีคำถามต่าง ๆ การพยักหน้าช้า ๆ แสดงถึงการยอมรับ การรับฟัง และการเคารพสิ่งที่ผู้พูด โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ จะรู้สึกเชื่อใจและผูกพันธ์กับผู้สอนได้ง่าย


ผลสะท้อนจากนักเรียน หรือ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

เทคนิคเหล่านี้เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่ครูสามารถนำไปลองใช้ได้เลย อาจจะไม่สำเร็จในการใช้ครั้งแรกหรืออาจจะไม่สำเร็จเลยซึ่งขึ้นอยู่กับธรรมชาติและพื้นหลังประสบการณ์ของเด็กแต่ละคน แต่เหนือสิ่งอื่นใดหากทำอย่างสม่ำเสมอเทคนิคเหล่านี้จะช่วยเสริมบุคลิกภาพให้คุณครูเป็นคุณครูที่เข้าถึงง่ายและเป็นมิตรในที่สุดค่ะ

บริบท หรือ ข้อเสนอแนะ

แต่เหนือสิ่งอื่นใดหากทำอย่างสม่ำเสมอเทคนิคเหล่านี้จะช่วยเสริมบุคลิกภาพให้คุณครูเป็นคุณครูที่เข้าถึงง่ายและเป็นมิตรในที่สุดค่ะ

เกมและกิจกรรมการจัดการชั้นเรียนตัวช่วยครูจิตตศึกษาทักษะการสื่อสาร

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
มะปราง จิราเจต
ภาษา อารมณ์ จินตนาการ

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ