icon
giftClose
profile
frame

สอนวิธีการทาง ปวศ. ด้วยกิจกรรมแบบ "หลอกเด็กให้อ่านหนังสือ"

29052
ภาพประกอบไอเดีย สอนวิธีการทาง ปวศ. ด้วยกิจกรรมแบบ "หลอกเด็กให้อ่านหนังสือ"

การสอนเรื่องวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นอีกเรื่องที่ครูหลายมักใช้การบรรยายและจบด้วยการมอบหมายงานให้นักเรียนสืบค้นประวัติศาสตร์มาส่งและจบไป นั่นอาจเหมาะสมในบางบริบทหากโรงเรียนนั้นมีแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจและมีเวลาในการเรียนการสอนมากพอ แต่ถ้าคุณครูท่านไหนกำลังประสบปัญหาเรื่องเวลาและอยากให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติไปด้วย หรืออาจจะมีเวลาแต่อยากให้นักเรียนฝึกก่อนไปสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง ผมก็ขอเสนออีกไอเดียที่ชื่อกิจกรรมว่า "คิด วิเคราะห์ แยกแยะ" ซึ่งอาจจะตอบโจทย์ปัญหาที่คุณครูประวัติศาสตร์หลายท่าน จนอยากจะอุทานว่า "ดีที่เจอ!"


แนวคิดกิจกรรม

กิจกรรม "คิด วิเคราะห์ แยกแยะ" เป็นกิจกรรมที่มีแนวคิดมากจากการพยายามย่อส่วนขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์มาไว้ใน 1 คาบ โดยที่จำลองสถานการณ์เป็นคนทำในขั้นที่ 4 วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และ ขั้นที่ 5 การเรียบเรียงและนำเสนอ โดยที่ครูเป็นคนเตรียมขั้นที่ 1 ถึง 3 ให้นักเรียน และก็ตั้งใจอยากให้นักเรียนช่วยกันอ่านบทความที่สะเปะสะปะ แล้วมาจากจัดเรียงใหม่ เหมือนนักประวัติศาสตร์ที่สืบค้นข้อมูลและผ่านขั้นการประเมินคุณค่าของหลักฐานมาเรียบร้อยแล้วกำลังมาร้อยเรียงเรื่องราวเป็นข้อค้นพบทางประประวัติศาสตร์ จึงเป็นที่มาของกิจกรรมหลอกเด็กให้อ่านหนังสือ


ต้องตรียมการอะไรบ้าง?

  • บทความหรือสื่อ เป็นสิ่งแรกที่ครูจะต้องเตรียมหนังสือหรือสื่อที่ครูจะใช้หลอกให้เด็กอ่าน ซึ่งควรเป็นอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชาติหรือท้องถิ่น หรือสิ่งอื่นๆ ที่ครูคิดว่านักเรียนจะว้าว ให้นำบทความเหล่านั้นมาตัด และสลับให้นักเรียน ซึ่งเดิมทีจะแบ่งออกเป็นแต่ละย่อหน้า (ในแต่ละย่อหน้ามีใจความสำคัญหลักอยู่แล้ว) ให้คุณครูเตรียมจำนวนบทความที่จะใช้ให้ครบกับจำนวนกลุ่ม
  • สื่ออื่นๆ สำหรับทำฉลากเลือกหัวข้อ และกระดาษ Flow chart สื่อติดตกแต่งและขีดเขียน


การดำเนินกิจกรรม

เมื่อเตรียมสื่อหรืออุปกรณ์เสร็จสรรพแล้ว มาดูที่รายละเอียดกันต่อเลย

ขั้นที่ 1 อธิบายให้นักเรียรู้สักหน่อยว่ากำลังจะได้ทำอะไรกัน แล้วให้นักเรียนแบ่งกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวน ความสามารถ และระดับของนักเรียน

ขั้นที่ 2 ให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มออกมาสุ่มหยิบหัวข้อตามที่ครูเตรียมบทความหรือสื่อไว้

ขั้นที่ 3 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม "คิด วิเคราะห์ แยกแยะ" ดังนี้

ขั้นที่ 3.1 อ่านและวิเคราะห์ข้อมูลของบทความหรือสื่อ ที่ตอนนี้มันสลับกันมา ยังจบต้นชนปลายไม่ถูก

ขั้นที่ 3.2 แล้วให้สังเคราะห์ข้อมูลด้วยการกำหนด "หัวข้อย่อย" ออกมาตามความเข้าใจของนักเรียนว่า ใจความสำคัญของย่อหน้าที่นักเรียนกำลังอ่านแต่ละแผ่นเกี่ยวข้องกับอะไร ควรตั้งชื่อหัวข้อย่อยว่าอะไรดี **หมายเหตุ : เช่นในตัวภาพข้อ 3.1 และ 3.2 หัวข้อหลัก คือ เรื่องหมา แต่หัวข้อย่อย คือ เรื่องข้อมูลทั่วไป และเรื่อง กว่าจะมาเป็นเพื่อน "มนุษย์"

ขั้นที่ 3.3 จากนั้น เมื่อได้หัวข้อย่อยแล้วลองอ่านย่อหน้าอื่นแล้วเทียบกันว่าใจความสำคัญเป็นเรื่องเดียวกันหรือเปล่า ถ้าเป็นเรื่องเดียวกันก็ให้จัดเป็นกลุ่มเดียวกัน ถ้าไม่ใช่ก็ตั้งหัวข้อใหม่ หรือถ้าอ่านย่อหน้าอื่นแล้วพบว่าอยู่ในหัวข้อย่อยเดียว ให้นักเรียนเรียงไทม์ไลน์ให้ถูกต้อง

ขั้นที่ 4 ให้นักเรียนออกแบบเรียบเรียงและนำเสนอให้น่าสนใจ พร้อมออกมาสรุปเรื่องราวให้เพื่อนฟังคร่าว ๆ


ผลการจัดกิจกรรม

หลังจากที่รู้จักแบบกิจกรรมคร่าวๆ บ้างแล้ว ลองไปดูผลงานกับภาพบรรยายกาศนักเรียน ม.2 ที่ได้ลองทำกันบ้างดีกว่า ว่าเขาจะมีไอเดียคิดชื่อหัวข้อหรือตกแต่งอะไรเจ๋งๆ บ้าง


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  • กิจกรรมเองอาจจะไม่ได้แสดงให้นักเรียนภาพขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ครบทั้ง 5 ขั้นตอน ฉะนั้น กิจกรรมนี้อาจจะเหมาะกับนักเรียนที่เคยเรียนหรือมีพื้นฐานเรื่องวิธีการทางประวัติศาสตร์อยู่บ้างแล้ว เช่น ม.2 ม.3 และ ม.ปลาย และก่อนที่จะเข้ากิจกรรม อาจะต้องย้ำหรือทบทวนขั้นตอนวิธิการทางประวัติศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น
  • ระดับความยาก-ง่ายของบทความ เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับที่สอน อันนี้ผมเองก็พลาดที่เอาบทความเรื่องผีบุญที่ยากไปสำหรับเด็ก ม.2 มาแทรกกับเรื่องอื่นที่ง่ายและใกล้ตัวกว่า อาจารย์พี่เลี้ยงเลยแนะนำมาว่าควรเอาเรื่องที่ใกล้ตัวและง่ายลงมาหน่อย

"สุดท้ายนี้ ขอขอบพระคุณอาจารย์พี่เลี้ยง อ.ประยุทธ์ ไชยคำ สำหรับสนามหญ้ากว้างๆ และขอบคุณนักเรียน ม.2 ทุกคน ที่มาเล่นวิ่งไล่จับด้วยกันนะ หวังว่าไอเดียการสอนที่นำมาแชร์ครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับคนที่เข้าอ่านมาทุกคนครับ" - ทวีทรัพย์ เดียสูงเนิน

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: สื่อ-บทความ.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 91 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(13)