สวัสดีครับ ผมอาจารย์ชวิศ วรสันต์ ผู้เชียวชาญด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม
หลังจากที่เขียนบทความแนะนำประสบการณ์การประยุคต์ใช้เทคโนโลยีไป 2 ตอน
ก็คิดว่าควรกลับมาแบ่งปันความรู้พื้นฐานให้เพื่อนๆครูด้วยน่าจะสำคัญไม่แพ้กัน
ในการสอนวิทยาการคำนวณ สอนโค๊ตดิ้ง สอนทำโครงงาน หรือสอนเกี่ยวกับหุ่นยนต์
สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์
และปัญหาที่ผมมักเจอบ่อยๆคือ เลือกบอร์ดผิดชีวิตเปลี่ยน
กลายเป็นยากไปบ้าง กลายเป็นแพงไปบ้าง กลายเป็นต่อยอดลำบากบ้าง
วันนี้จึงอยากมีรีวิวแนะนำการใช้งาน
โดยบอร์ดที่จะมาแนะนำในวันนี้ จะเป็น Arduino Microbit และ Kidbright เปรียบเทียบให้ดูเลยว่าตัวไหนเหมาะกับใคร
ข้อดี: ราคาประหยัด มีตัวอย่างเยอะ มีโปรแกรมจำลอง กำลังไฟมาตรฐาน
ข้อควรระวัง: การเชื่อมต่อออกภายนอก การต่ออินเตอร์เน็ต การแสดงผล ต้องมีความรู้พื้นฐานวงจรไฟฟ้า
เหมาะกับ: การสร้างชิ้นงานต้นแบบ การสร้างชิ้นงานไว้ใช้จริง
การเรียนรู้แบบเน้นพื้นฐานค่อยเป็นค่อยไป เข้าใจภาพรวม
หากใช้สอนผู้สอนควรมีประสบการณ์ประมาณหนึ่ง ออกแบบระบบดีดี ระวังเรื่องการต่อวงจร
ช่วงชั้นที่แนะนำ ม.ต้น-ม.ปลาย
ข้อดี:ใช้งานง่าย มีปัญหาน้อย ไม่ต้องมีบอร์ดก็เล่นเสมือนจริงได้ มีหน้าจอแสดงผล มีเซนเซอร์ในตัวเยอะ คุยกันระหว่างบอร์ดได้ง่าย
ข้อควรระวัง:การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การเชื่อมบลูธูทกับมือถือ ค่อนข้างลำบาก กระแสไฟน้อย โวลต์ต่ำ ควรเลือกอุปกรณ์ต่อพ่วงดีดี
เหมาะกับ:การฝึกเขียนโปรแกรมบนบอร์ด ที่เน้นเซนเซอร์บนบอร์ดเป็นหลัก
เหมาะกับหลักสูตรระยะสั้น ระยะกลาง หลักสูตรที่เน้นความคิดสร้างสรรค์
***การซื้ออุปกรณ์เสริมจากผู้พัฒนาเฉพาะจะช่วยเพิ่มความง่ายในการต่อพ่วงได้
ผู้สอนมีเพียงความรู้พื้นฐานหรือสอนตามคู่มือในระดับเบื้องต้นได้
ช่วงชั้นที่แนะนำ ประถมปลาย-ม.ต้น
ข้อดี:ส่วนมากได้มาฟรี เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตง่าย มีเซ็นเซอร์และการแสดงผลบนบอร์ด
ข้อเสีย:กระแสไฟน้อย โวลต์ต่ำ ควรเลือกอุปกรณ์ต่อพ่วงดีดี ช่องต่อออกภายนอกน้อย อุปกรณ์เสริมค่อนข้างเฉพาะ
เหมาะกับ:การฝึกเขียนโปรแกรมบนบอร์ดอย่างง่าย ที่เน้นเซนเซอร์บนบอร์ดเป็นหลัก
เหมาะกับหลักสูตรระยะสั้น ระยะกลาง หลักสูตรที่เน้นนวัตกรรมด้าน internet of thing
***การซื้ออุปกรณ์เสริมจากผู้พัฒนาเฉพาะจะช่วยเพิ่มความง่ายในการต่อพ่วงได้
ผู้สอนมีเพียงความรู้พื้นฐานหรือสอนตามคู่มือในระดับเบื้องต้นได้
ช่วงชั้นที่แนะนำ ม.ต้น
...
***ทั้งนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวจากการใช้งานจริง หวังว่าจะช่วยคุณครูมือใหม่ได้ไม่มากก็น้อย***
...
1.โปรเจคเปิดปิดไฟอัตโนมัติ/รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ
Arduino ทำได้ในราคาประหยัด relayใช้ได้ทั้ง 3V และ 5V
Micro:Bit ทำได้แต่ต้องมีอุปกรณ์เสริม บอร์ดเสริม relay 3V เท่านั้น
KidBright ทำได้แต่ต้องมีอุปกรณ์เสริม บอร์ดเสริม relay 3V เท่านั้น
2.โปรเจคเปิดปิดไฟผ่านระบบอินเตอร์เน็ต/รดน้ำต้นไม้ผ่านอินเตอร์เน็ต
Arduino(นอกจากข้อ1) ต้องมีวงจรเชื่อมอินเตอร์เน็ต ต้องพัฒนาappสั่งการ
Micro:Bit(นอกจากข้อ1) ทำได้แต่ต้องมีอุปกรณ์เสริม ต้องมีวงจรเชื่อมอินเตอร์เน็ต ต้องพัฒนาappสั่งการ
KidBright(นอกจากข้อ1) ระบบรองรับทำได้เลย
3.รถหุ่นยนต์เดินตามเส้น
Arduino ทำได้โดยใช้อุปกรณ์เสริมน้อยสุด ราคาถูกสุด เพราะใช้เพียงอุปกรณ์พื้นฐาน
Micro:Bit ทำได้แต่ต้องมีอุปกรณ์เสริม นอกจากอุปกรณ์พื้นฐาน
KidBright ทำได้แต่ต้องมีอุปกรณ์เสริม นอกจากอุปกรณ์พื้นฐาน
4.รถบังคับด้วยบอร์ด
Arduino(นอกจากข้อ3) ต้องมี 2 บอร์ด และมีโมดูลส่งสัญญาณ 2ตัว
Micro:Bit(นอกจากข้อ3) มีเพียง2บอร์ด โปรแกรมง่าย
KidBright(นอกจากข้อ3) มีเพียง2บอร์ดก็ได้ แต่การเขียนโปรแกรมไม่มีแบบง่าย
5.รถบังคับผ่านมือถือ
Arduino(นอกจากข้อ3) ทำง่ายราคาประหยัด ด้วย Bluetooth แต่ต้องระวังปัญหาเวลาเปิดหลายตัวสัญญาณตีกัน
Micro:Bit(นอกจากข้อ3) ทำได้ค่อนข้างยาก ต้องเขียน App เฉพาะ ไม่มีเครื่องมืออย่างง่าย
KidBright(นอกจากข้อ3) ทำได้ง่ายผ่าน internet และ App bylnk
อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้น หากสนใจสถานที่ซื้อที่ถูกประหยัดเหมาะกับงาน
สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาเรื่องการจัดการเรียนรู้ได้จากแฟนเพจ ROBOT CREATOR by Tech SAGA
ในตอนต่อๆไป จะมาแนะนำบอร์ดชนิดอื่นๆที่พัฒนาโดยบริษัทการศึกษาที่อาจจะแพงขึ้น แต่ปิดจุดอ่อนต่างๆไปได้ และแนะนำการสร้างระบบอัตโนมัติโดยคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กราคาหลักร้อยหรือพันต้นๆซึ่งจะทำงานได้ซับซ้อนกว่าไมโครคอนโทรเลอร์ รอติดตามรับชมได้เลยครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย