"เด็ก ๆ อยากเปลี่ยนบรรยากาศ ไปเรียนนอกห้องเรียนบ้างดีไหม"
หากเราได้ยินคำถามนี้ตอนเป็นนักเรียน คงตื่นเต้นมาก ๆ เป็นทั้งการเปลี่ยนบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ และออกแบบกิจกรรมได้หลากหลาย
ประกอบกับการสอนวิชาภาษาไทย ในส่วนวรรณคดี ระดับชั้น ม.4 ซึ่งมีเนื้อหาตึง ๆ อย่าง "มงคลสูตรคำฉันท์"
ด้วยความเป็นวรรณคดีคำสอน ไม่ค่อยมีเนื้อเรื่องให้ติดตาม ทำให้มีการออกแบบกิจกรรมนี้ขึ้นมา
พอลองนำไปใช้แล้ว การตอบรับจากนักเรียนดีมาก จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ หากมีข้อผิดพลาดประการใด สามารถแลกเปลี่ยน แบ่งปันได้นะครับ ยินดีมาก ๆ เลย
จัดไปครับ ส่องแสงสว่างแห่งพุทธิปัญญาตั้งแต่สไลด์แรกกันไปเลย
ขั้นตอนการทำกิจกรรม มีดังนี้ครับ
โดยในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ ม.4 เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์ จะมีการแบ่งพระคาถาไว้ จำนวน 10 พระคาถา จึงสามารถแบ่งได้ตามนี้พอดีครับ
การทำงานเน้นให้นักเรียนออกแบบด้วยความคิดสร้างสรรค์ครับ ตามที่เค้าอยากออกแบบมา แต่กำหนดให้มีข้อมูลที่จำเป็น
เช่น ตัวบท การถอดคำประพันธ์ คำศัพท์ยาก การยกตัวอย่างสถานการณ์ประกอบ ฯลฯ
ส่วนอุปกรณ์เน้นให้ใช้กระดาษแข็งที่เป็นกระดาษเหลือใช้ครับ เช่น กระดาษลัง แผ่นลูกฟูกที่เหลือใช้จากกิจกรรมอื่น ๆ ให้เวลานักเรียนได้ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานตามความเหมาะสมครับ (ทางนี้มอบหมายงานก่อนช่วงเสาร์อาทิตย์ นักเรียนจึงมีเวลาทำงานประมาณ 3 - 4 วัน)
เมื่อถึงเวลานำเสนองาน นัดหมายนักเรียนมาสถานที่ที่ตกลงกันไว้ครับ (ทางนี้นัดนักเรียนเจอกันหลังอาคาร ที่มีม้าหินอ่อนและร่มไม้) เพื่อไม่ให้การเดินชมนิทรรศการของนักเรียนไร้จุดหมาย ผมได้ออกแบบใบงานกลุ่มให้นักเรียนได้เขียนบันทึกความรู้และแสดงความเห็นจากการที่ได้ไปชมนิทรรศการและการนำเสนองานของเพื่อน
**เมื่อสมาชิกของกลุ่มเรา กลับมากลุ่มเดิม จะเป็นคิวของสมาชิกที่เป็นคนนำเสนอ รวมตัวกันทั้ง 5 กลุ่ม จากนั้นเดินชมนิทรรศการของเพื่อนตามลำดับ โดยให้สมาชิกที่เหลือได้เป็นฝ่ายนำเสนอบ้าง**
ภาพบรรยากาศการจัดกิจกรรม (บางส่วน)
(โดยได้รับการอนุญาตจากนักเรียน และเบลอหน้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)
บรรยากาศการนำเสนองาน ดำเนินไปด้วยความราบรื่นดี
นักเรียนมีการตั้งคำถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และชื่นชมผลงานของเพื่อน (โดยผมแจกกระดาษ Post-it ให้กลุ่มละ 1 ชุด)
ทั้งนี้ตัวบทมงคลสูตรคำฉันท์ ปรากฏคำสอนที่นักเรียนเกิดคำถาม เช่น
อย่างไรก็ตามกิจกรรมนี้ นอกจากเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอน การฝึกสร้างสรรค์ผลงาน และส่งเสริมให้นักเรียนได้ภูมิใจในตนเอง
ก็ยังได้ของแถม คือ นักเรียนมีมุมมองการวิเคราะห์เหตุการณ์ การตั้งคำถามต่อชุดความคิดความเชื่อในสังคม การแบ่งปันคำตอบที่หลากหลาย สัมพันธ์กับยุคสมัยของตน ซึ่งสะท้อนว่านักเรียนมองโลกได้กว้างขวางไปอีก 1 ขั้น แบบกระตุกจิตกระชากใจ
ธรรมะแท้ ไม่มีคำปลอบใจ...
ขอบคุณครับ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!