inskru
gift-close

ความเหลื่อมล้ำ เรื่องใกล้ตัว ไม่ว่าครูวิชาไหนก็ชวนคุยได้

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ความเหลื่อมล้ำ เรื่องใกล้ตัว ไม่ว่าครูวิชาไหนก็ชวนคุยได้

🤔หากคุณครูกำลังเห็นสังคมของเราเต็มไปด้วยความอยุติกรรม

มีกิจกรรมอะไรไหมนะ ที่จะพาให้นักเรียนไปสัมผัสประเด็นนี้ได้

หลายคนอาจคิดว่าควรเป็นหน้าที่ของครูวิชาสังคมศึกษาเท่านั้น

แต่เราเชื่อว่า ครูทุกคนไม่ว่าจะสอนวิชาอะไร

ก็สามารถหาแง่มุมที่จะสอนเรื่องความเหลื่อมล้ำ

หรือเรื่องความไม่เป็นธรรมในสังคมได้เช่นกัน


วันนี้ insKru จึงขอนำเสนอไอเดียการสอน ที่เริ่มต้นจากคำถามว่า

“จะสอนเรื่องความเหลื่อมล้ำ เริ่มต้นอย่างไรดี”

จาก ครู 4 คน จาก 4 วิชา ที่เปิดความเป็นไปได้ให้เราเห็นว่า

จะเป็นคุณครูวิชาไหน ก็สร้างบทสนทนาเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมได้เช่นกัน


บทความโดย ครูพล-อรรถพล ประภาสโนบล


💸คุยความเหลื่อมล้ำผ่านการสอนเรื่อง “การออมและการลงทุน” 

ให้นักเรียนเห็นต้นทุนชีวิตที่ไม่เท่ากัน

โดย ครูเอ็ม-สุรักษ์ ชมกระแสสินธุ์


เรียนรู้เรื่อง การลงทุนและการออม ชั้น ม.2

ผ่านประสบการณ์จำลอง เมื่อต้นทุนชีวิตที่ไม่เท่ากัน

ให้นักเรียนเข้าใจประเด็นความเหลื่อมล้ำมากขึ้น


วิธีการเล่น

  • ให้เงินเริ่มต้นไม่เท่ากัน อิงตามอาชีพที่จับสลากได้  
  • แบ่งชนเป็นอาชีพของชั้นล่าง (เงินน้อยมาก) ชนชั้นกลาง (เงินพอประมาณ) และนายทุน (เงินเยอะจนแทบไม่ต้องเล่น)
  • โดยให้อาชีพของชนชั้นล่างมีจำนวนมากกว่าอาชีพของชนชั้นกลาง และให้มีนายทุนเพียงแค่ 1 – 2 คน/กลุ่ม
  • วิธีการเล่นก็เหมือนเกมเศรษฐีทั่วไป แต่ด้วยทุนเริ่มต้นที่ต่างกัน จะทำให้มีคนที่ลงทุนได้ตั้งแต่รอบแรก (นายทุน) กับคนที่ไม่สามารถลงทุนได้เลย แม้ว่าจะเล่นจนครบรอบ (ชนชั้นล่าง)


ไอเดียนี้ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ประเด็นความเหลื่อมล้ำผ่านประสบการณ์ ผ่านความรู้สึกของแต่ละบทบาทที่แต่ละคนได้รับระหว่างการเล่นเกมอย่างเต็มที่เลย


🐟 คุยความเหลื่อมล้ำผ่านการสอนเรื่อง “ปัญหาอาหารและสิ่งแวดล้อม” 

ให้นักเรียนเห็นถึงการเข้าถึงอาหารที่ไม่เท่ากัน

โดย ครูยามีน-อับดุลยามีน หะยีขาเดร์


เรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ 

ความหลากหลายของระบบนิเวศ สารอาหาร

ชวนมาตั้งคำถามเรื่องการเข้าถึงอาหารกับความเหลื่อมล้ำ

เริ่มจาก ชวนนักเรียนชมสารคดี เรื่อง Eating Animal


1. นักเรียนรู้สึกอย่างไร หลังรับชมสารคดีนี้ 

2. สารคดี “Eating Animal” ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่าง การทำปศุสัตว์และปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างไร

3. การบริโภคเนื้อสัตว์ที่ถูกกล่าวถึงในสารคดี สร้างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอาหารของคนอย่างไรบ้าง 

4. เห็นด้วยหรือไม่ว่า เราควรสนับสนุนให้ทุกคนหันมารับประทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก (Plant based) เพื่อช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอสำหรับทุกคน


หลังจากนั้น ชวนนักเรียนเขียนสะท้อนผ่านคำถาม เช่น

จากนั้นให้นักเรียนจับคู่กัน แล้วจึงนำประเด็นมาแลกเปลี่ยนต่อในกลุ่มใหญ่ 

สุดท้ายชวนนักเรียนหาแนวทางที่ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเท่าเทียมกัน

กิจกรรมนี้นักเรียนนอกจากจะได้เรียนรู้ ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำแล้ว

ยังได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะสื่อสารอีกด้วย


🧍🏽‍♂️คุยความเหลื่อมล้ำ ผ่าน “เชลย” ในวรรณคดีไทย ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในเรื่อง ราชาธิราช

โดย ครูม่อนแจ่ม-พรพิพัฒน์ เสนจันทร์ฒิไชย



เรียนรู้เรื่อง วรรณคดี ราชาธิราช 

ตอน สมิงพระรามอาสา ชั้นม.1

หยิบยกประเด็นที่สมิงพระรามถูกจับเป็นเชลย

มาต่อยอดด้วยการชมสารคดีชุด “หนึ่งไม้หมอน หนึ่งชีวิตเชลย”

เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงชีวิตเชลยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง


จากนั้นให้นักเรียนได้สรุปประเด็น และข้อคิดจากการรับชมสารคดี 

โดยครูช่วยขยายแนวคิดเรื่องมนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน 

และความเหลื่อมล้ำในยุคสมัยนั้นที่สะท้อนความไม่เท่าเทียม

ของผู้ชนะสงครามและผู้แพ้สงคราม แล้วจึงเชื่อมโยง

ถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมในยุคปัจจุบัน


คาบเรียนนี้ นักเรียนได้ทั้งเรียนวรรณคดี ฝึกการต่อยอดประเด็น 

เชื่อมโยงภาพของสิทธิมนุษยชนหลากหลายบริบท ผ่านสื่อการสอนที่หลากหลายสุดๆ


🔠 คุยความเหลื่อมล้ำผ่าน มุมมองต่อการพูดภาษาอังกฤษ และคำศัพท์สื่ออารมณ์ ให้เห็นข้อจำกัดต่าง ๆ

โดย ครูเอิร์ท


ชวนคุยเรื่องมายาคติของการใช้ภาษาอังกฤษ

ต่อยอดให้เห็นถึงพลังบางอย่างในภาษา

ที่ทำงานกดทับตีตราคุณค่าบางอย่าง

มากกว่าการเป็นเครื่องมือสื่อสาร

คุณครูพานักเรียนสำรวจมุมมองการแบ่งแยกคุณค่าของคน


ด้วยการชวนวิเคราะห์ ประโยคที่ว่า 

“ ไม่รู้ภาษาอังกฤษ=โง่ หรือ พูดภาษาอังกฤษได้=ฉลาด ”


ให้นักเรียนลองสำรวจความคิดของตัวเอง

และชวนคุยว่าเป็นเรื่องธรรมดาของภาษาอังกฤษรึเปล่านะ

ภาษาอังกฤษผูกโยงกับประเด็นทางสังคมอย่างไรบ้าง?


นอกจากนี้ คุณครูยังได้ลองให้นักเรียนค้นหา

จุดร่วมหรือจุดต่างของคนที่พูดภาษาอังกฤษได้กับคนพูดไม่ได้

นักเรียนจะค้นพบอะไรบ้าง มีมุมอื่นอันไหนที่คิดต่อได้อย่างไรอีกบ้าง


อีกหนึ่งไอเดียคือ เกมการ์ดคลังคำ

โดยการ์ดแต่ละใบจะเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่สื่อถึงอารมณ์

สร้างความแตกต่างของคนที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ไม่เท่ากัน

ด้วยการให้นักเรียนถือการ์ดอารมณ์ได้ไม่เท่ากัน

ชวนนักเรียนมาวิเคราะห์ว่า จำนวนการ์ดในมือที่ไม่เท่ากัน 

จำกัดการสื่อสาร ต่อผู้คนรอบข้างหรือต่อโลกอย่างไรบ้าง 

เพื่อที่จะนำไปสู่ประเด็นอำนาจทางภาษาที่แฝงฝังความเหลื่อมล้ำต่อไป


การชวนนักเรียนพูดคุยในประเด็นนี้ ไม่เพียงทำให้นักเรียนสนุกไปกับเกม แต่ยังช่วยเพิ่มความเข้าใจความหมายของการสื่อสารภาษาอังกฤษเพิ่มอีกด้วย


💡รวมไอเดียการสอนเรื่องความเหลื่อมล้ำเพิ่มเติม

📌กิจกรรมเส้นทางที่แตกต่าง https://www.facebook.com/jirapha.yaemkeasorn/posts/pfbid02Hq5HUV8XMC2KUQtft7yEy4LYiAep1cq9G1eb2QRgP36mtKMaAjVErBwNS27gRQ47l


📌เก้าอี้ดนตรีที่ลองเปลี่ยนมุมมอง

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10205208084278522&set=a.4608689472099


📌"Photo สะท้อนสังคม" https://www.facebook.com/Autthapon12/posts/pfbid02wrnqymWfdbYrQ19K1gQcrXnRr2p9bzbEPuS6yuGuqVTAMjnAb53M9LusGh7m7j29l


📌ศิลปะ สังคม และพลังวัยเยาว์ https://www.facebook.com/catsper.chewasawad/posts/pfbid02mBgLrqvJhrbpRfQ1fS1neGadodMDEHRPURCBHJeR7Cqxnd9GywmZ9RQrqPB81zwzl Civic Classroom


📌ตอนที่ 2 : ใช้GPS ปักหมุดสอนเรื่องความไม่เป็นธรรม https://www.facebook.com/media/set/?vanity=thaiciviceducationcenter&set=a.2948001311942867


📌"สอนคณิตอย่างไร ให้ตั้งคำถามถึงความเป็นธรรม" https://www.facebook.com/eduzenthai/photos/a.798941106860833/3956220457799533/


ใครมีไอเดียอื่นๆ อีกคอมเมนต์ไว้ได้เลย


inspotlightinsKruพื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ