icon
giftClose
profile

ชวนครูสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนใจในห้องเรียนของนักเรียน

4201
ภาพประกอบไอเดีย ชวนครูสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนใจในห้องเรียนของนักเรียน

การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ไม่เพียงแต่ต้องใช้ความสามารถในการสื่อสารของครูผู้สอนและความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนเพียงเท่านั้น แท้จริงแล้วการเรียนรู้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอีกมากมายที่ส่งผลให้การเรียนรู้ของนักเรียนนั้นมีประส้ทธิภาพมากขึ้น หรืออาจส่งผลกระทบให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้น้อยลงอีกด้วยเช่นกัน ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยที่ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างที่เราไม่เคยคิดถึงมาก่อน

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

ครูผู้สอน

  • ความหนักแน่นเด็ดขาด ส่งผลอย่างมากต่อนักเรียน ครูผู้สอนแสดงความเด็ดขาดได้ โดยใช้ภาษากาย คำพูด น้ำเสียงที่เหมาะสมโดยไม่ใช้การดุ ตะคอก กระแนะกระแหน หรือกดดันให้นักเรียนรู้สึกไม่สบายใจ เช่น หากครูทำข้อตกลงกับห้องเรียนไว้ว่า “จะไม่มีการใช้โทรศ้พท์หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆในระหว่างคาบเรียน แต่มีนักเรียนไม่สามารถทำาตามขอตกลงได้ ครูสามารถสื่อสารกับนักเรียนได้ว่า “เราทำข้อตกลงกันเรื่องนี้ไว้แล้วนักเรียนอยากเก็บโทรศัพท์ไว้กับตัวก่อนแล้วช่วงพักค่อยหยิบมาใช้ หรืออยากให้ครูช่วยเก็บไว้ให้ก่อนบนโต๊ะก็ได้ หากไม่มั่นใจว่าจะอดใจได้” โดยต้องไม่ลืมว่าจะต้องเป็นการพูดที่หนักแน่น แต่ไม่แสดงภาษากาย ที่น้ำเสียงที่กล่าวโทษนักเรียนให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีขึ้น
  • พูดคำไหนคำนั้นและทำตามสิ่งที่พูดหรือสัญญาไปกับนักเรียนแล้ว ทั้งการทำตามกฎในห้องเรียนต่างๆ ที่ตกลงกันไว้แล้ว หรือการพูดถึงสิ่งที่นักเรียนจะได้รับ หากทำตามสิ่งที่ครูบอกไว้ได้
  • ความเชื่อใจในตัวครู ก็ส่งผลกับการมีส่วนร่วมและความสนใจในชั้นเรียนอย่างที่เราอาจไม่เคยคิดมาก่อน หากครูยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถทำตามสิ่งที่ตนเองพูดได้ ก็ไม่ควรตั้งกฎดังกล่าว หรือให้คำสัญญากับนักเรียนอย่างส่งๆ เช่น หากบอกนักเรียนไปแล้วว่านี่คือ แบบฝึกหัดข้อสุดท้าย ไม่ว่านักเรียนจะทำเสร็จไวเพียงไหนและเหลือเวลาในคาบเรียนมากเท่าไหร่ เมื่อทำเสร็จก็ไม่ควรมีแบบฝึกหัดเพิ่มเติมมาเพิ่มอีก
  • ความยืดหยุ่น แม้การพูดคำไหนคำนั้นและความหนักแน่นจะเป็นสิ่งสำคัญที่ครูควรมี แต่ความยืดหยุ่นและมีผ่อนเบาหนักก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ส่งผลกับความสนใจของการเรียนรู้ในห้องเรียนเช่นกัน หากครูให้เวลานักเรียนหาข้อมูล 15 นาที แต่นักเรียนเข้ามาสื่อสารอย่างเหมาะสมว่า เวลาไม่พอ ขอเวลาเพิ่ม ครูก็สามารถแสดงความยืดหยุ่นและเสริมแรงการสื่อสารอย่างเหมาะสมนั้นได้ ด้วยการให้เวลาเพิ่มเติมตามเหมาะสม้
  • ความเข้าใจในความแตกต่าง ครูควรทำความเข้าใจ ตระหนักไว้เสมอว่า นักเรียนทุกคนมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านทักษะ ร่างกาย ความเร็วในการเรียนรู้ รวมไปถึงประสบการณ์ในชีวิตที่ได้พบเจอมา ปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลต่อความสนใจในชั้นเรียน ของนักเรียนและแสดงออกถึงความเข้าอกเข้าใจนักเรียนที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน
  • ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกจากการเรียน แสดงความเชื่อมโยงของบทเรียนจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจจุดประสงค์และเห็นประโยชน์ของบทเรียนมากขึ้น ทำให้การสอนมีความน่าสนใจมากขึ้น (เข้ามาหาไอเดียการสอนแบบสร้างสรรค์ได้ที่เว็บไซต์ insKru.com ได้เสมอน้า)


  • เพื่อนร่วมชั้นเรียน วิธีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นลำดับแรกๆ คือการเรียนรู้จากตัวแบบ หากเพื่อนร่วมชั้นเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในห้อง ก็มีแนวโน้มที่นักเรียนจะสามารถทำพฤติกรรมเดียวกันได้จากตัวแบบที่เหมาะสม การส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสม หรือกระตุ้นการเรียนรู้โดยการมองภาพรวมของนักเรียนทั้งหมดก็มีส่วนช่วยให้เกิดความสนใจต่อการเรียนได้เป็นอย่างมาก เราอาจจะพอสังเกตได้ว่าหากบรรยากาศในห้องเรียนสามารถดึงความสนใจหรือกระตุ้นให้นักเรียนส่วนมากมีส่วนร่วมได้ นักเรียนที่มักไม่ค่อยสนใจบทเรียนในหัวข้ออื่น ก็มีแนวโน้มจะเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น
  • สื่อการเรียนการสอนและวิธีการสอน ใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย เพราะการเรียนรู้ไม่ควรถูกจำกัดอยู่แค่การนั่งอ่านหนังสือ หรือนั่งฟังครูผู้สอนเท่านั้น การใช้ภาพ, เกม, เพลง, หรือสื่อการเรียนรู้อื่นๆ ที่ตรงกับความสนใจของนักเรียนก็จะมีส่วนช่วยกระตุ้นความสนใจในห้องเรียนได้เป็นอย่างมาก เช่น การปรับโจทย์คณิตศาสตร์ให้มีชื่อของบุคคลที่นักเรียนสนใจ หรือการให้นักเรียนเล่นเกมจับคู่เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ แทนการอ่านแล้วท่องจำจากหนังสือเพียงอย่างเดียว อาจใช้รูปภาพหรือข้อความต่างๆ แทนการเตือนทางคำพูด ก็เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นความสนใจในห้องเรียนให้กับนักเรียนได้ เช่น การทำป้าย “ตั้งใจฟัง” ไว้หน้าห้องแทนการพูดเตือนว่าให้ตั้งใจฟังย้ำๆ
  • การเสริมแรงพฤติกรรมพึงประสงค์
  • ชื่นชมพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น การยกมือ การนั่งฟัง การตอบคำถาม ในห้องเรียนที่ช่วยเพิ่มพฤติกรรมดังกล่าวให้มากขึ้น รวมทั้งเป็น ตัวอย่างใหเพื่อนๆคนอื่นในห้องให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสมมากขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อคุณครูการลดการใหความสนใจในพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือพฤติกรรมก่อกวนห้องเรียน ยังช่วยลดการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย
  • สร้างกฎห้องเรียนร่วมกัน การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการตั้งกฎของห้องเรียนจะช่วยทำให้นักเรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและฝึกการรับผิดชอบกับคำพูดของตนเอง
  • บอกความคาดหวังที่ชัดเจน และจูงใจให้ทำพฤติกรรมพึงประสงค์ เมื่อนักเรียนสามารถทำพฤติกรรมที่ตรงกับความคาดหวัง ควรให้คำชมหรือให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมที่ชอบ นอกจากนี้ความสม่ำเสมอก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเพิ่มความสนใจและพฤติกรรมพึงประสงค์ในห้องเรียนเป็นอย่างมาก เช่น จะได้เวลาพักเพิ่ม เมื่อทำแบบฝึกหัดเสร็จ แทนที่จะให้ทำงานเพิ่ม นักเรียนเลือกเพลงที่อยากฟังเมื่อทำางานได้เสร็จตามเวลา จะได้ออกไปเล่นข้างนอก เมื่อนักเรียนร่วมมือกันทำางานได้สำเร็จตามเป้าหมาย
  • สภาพแวดล้อมโดยรอบ (Ambient) เสียง, แสง, รวมถึงอุณภูมิของสถานที่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยทีสงผลต่อสมาธิและความสนใจในการเรียนได้เช่นกัน หรือแม้แต่ตำแหน่งของโต๊ะเรียนการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของโต๊ะเรียนเป็นประจำจะช่วย ลดความน่าเบื่อหน่ายในห้องเรียน เพิ่มการร่วมมือกับเพื่อนที่ไม่คุ้นเคย ช่วยให้นักเรียนสังเกตความต้องการของตนเอง และเพิ่มความยืดหยุ่นในการเรียนรู้


ปัจจัยด้านผู้เรียน

  • ความแตกต่างด้านทักษะ นักเรียนแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น ความรู้พื้นฐาน ความเร็วในการ เรียนรู้ สไตล์ในการเรียนรู้ ความสนใจและความถนัด ดังนั้น คุณครูควรคำนึงถึง ความแตกต่างนี้เพื่อปรับบทเนื้อหา ความยากง่าย และความคาดหวังให้ตรงกับนักเรียนแต่ละคน การจัดกลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถใกล้เคียงกันให้ทำงานที่ตรงกับระดับทักษะ ทั้งยังง่ายต่อการประเมินผลการเรียนรู้และเพิ่มการมีสวนร่วมกับกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายมากขึ้น
  • ความแตกต่างด้านร่างกาย เช่นเดียวกับความแตกต่างในระดับทักษะ นักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ในด้านร่างกายเช่น การได้ยิน การมองเห็น กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเรียน้ การจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับความต้องการทางร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างเช่น นักเรียนสายตาสั้นอาจจัดโต๊ะให้อยู่โซนแถวหน้า นักเรียนที่ไม่ถนัดเขียนอาจจะใช้การพิมพ์งานส่งแทน และมีบทเรียนที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ จัดเวลาพักที่เหมาะสมระหว่างบทเรียนสำหรับนักเรียนที่มี สมาธิจดจ่อได้ไม่นาน


บทความโดย CARE (Child Professional School) โรงเรียนพัฒนาทักษะเด็กพิเศษ (ประเทศไทย) เป็นองค์กรที่ให้บริการสนับสนุนด้านการศึกษา ด้วยเทคนิค Applied Behavior Analysis (ABA) ให้เด็ก ๆ สามารถเอาชนะอุปสรรคในชีวิต สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และมีส่วนร่วมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


แนะนำแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยให้คุณครูจัดการกับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในห้องเรียนได้อย่างสร้างสรรค์ จากประสบการณ์ตรงร่วมกับทฤษฎีและงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • Bandura, A., & Walters, R. H. (1963). Social Learning and Personality Development. New York: Holt, Rinehart and Winston.
  • Skinner, B. F. (1953). Science and human behavior. Macmillan.
  • Cooper, J. O., Heron, T. E., & Heward, W. L. (2019). Applied Behavior Analysis (3rd Edition). Hoboken, NJ: Pearson Education.

https://www.carethaiautism.com

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(0)