icon
giftClose
profile

ยีนกับการควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม

11561
ภาพประกอบไอเดีย ยีนกับการควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน

จุดประสงค์คือต้องการให้นักเรียนเข้าใจว่า ดีเอ็นเอ ยีน ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมได้อย่างไร

เหตุใดไนโตรจีนัสเบสเรียงตัวต่างกัน ถึงมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ต่างกัน

ขั้นตอน

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

  • ครู: ทบทวนเนื้อหาองค์ประกอบของดีเอ็นเอว่ามีอะไรบ้าง

นักเรียน : ร่วมกันแสดงความคิดเห็น (แนวคำตอบ: ไนโตรจีนัสเบส หมู่ฟอสเฟต และน้ำตาล)

  • ครู: ครูถามนักเรียนต่อว่า “แล้วนักเรียนรู้ไหม องค์ประกอบใดเป็นตัวสำคัญในการกำหนดลักษณะที่แสดงออกมา”
  • นักเรียน : ร่วมกันแสดงความคิดเห็น (แนวคำตอบ: ไนโตรจีนัสเบส)
  • ครู: วันนี้เราจะได้รู้ว่า ไนโตรจีนัสเบส มีความสัมพันธ์กับลักษณะที่แสดงออกมาอย่างไร

2. ขั้นสอน/การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

  • ครู: อธิบายให้นักเรียนฟังว่าดีเอ็นเอ ก็ปรียบเหมือนพิมพ์เขียว ที่จะเป็นตัวกำหนดลักษณะทุกอย่างของเรา

         ไม่ว่าจะเป็นสีตา โครงสร้างร่างกาย หรือความสามารถด้านต่าง ๆ โดยดีเอ็นเอจะเป็นตัวกำหนดลักษณะ

         โปรตีนที่สังเคราะห์ขึ้น และโปรตีนที่สร้างขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรม

  • ครู: ให้นักเรียนจับคู่ 2 คน (1 คนก็ได้ค่ะ แล้วแต่ความเหมาะสม) เพื่อทำกิจกรรมสร้าง monster โดยให้นักเรียนใช้โทรศัพท์เข้า QR code ที่ครูให้ จากนั้นดูการเรียงสีของลูกปัดแล้วพิมพ์ตัวอักษรให้ตรงกับลูกปัดนั้น ๆ โดยเมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จครูให้นักเรียนแคปรูปภาพ แล้วตั้งชื่อ monster เพื่ออัปลงไอจีที่ครูสร้างให้ นักเรียนจะต้องพิมพ์ชื่อ เลขที่ และห้อง เพื่อเป็นการส่งงาน

https://askabiologist.asu.edu/monster-maker-game/play.html


  • นักเรียน: สร้างผลงาน และทำใบกิจกรรม
  • ครู : ให้นักเรียนเลื่อนดู IG ว่าแต่ละกลุ่มที่ทำออกมาก็จะได้หน้าตา monster ที่แตกต่างกันเนื่องจาก ลำดับเบส เรียงตัวต่างกันซึ่งเปรียบได้กับลูกปัดที่เรียงตัว ทำให้สร้างโปรตีนที่ต่างกัน ซึ่งนำไปสู่ลักษณะที่ต่างกัน อย่าง monster ที่แต่ละคนสร้าง
  • ครู: อธิบายยีนกับการควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมผ่านการสังเคราะห์โปรตีนเพิ่มเติม

โดยยกตัวอย่าง ยีนที่กำหนดการสังเคราะห์เมลานิน ซึ่งส่งผลต่อการมีลักษณะผิวเผือก และยีนที่กำหนดลักษณะฮีโมโกลบิน ซึ่งถ้ายีนนี้ผิดปกติจะส่งผลให้เกิดโรคทาลัซซีเมียได้

         ครู: ถามนักเรียนว่า “นักเรียนคิดว่าถ้าลำดับเบสเรียงตัวเปลี่ยนไปจากเดิมจะเกิดอะไรขึ้น”

  • นักเรียน : ร่วมกันแสดงความคิดเห็น (แนวคำตอบ: โปรตีนที่สังเคราะห์ได้จะเปลี่ยนไป ทำให้ลักษณะสิ่งมีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงได้)

3. ขั้นสรุป (10 นาที)

  • ครู : ใช้คำถามสรุปความรู้ดังนี้

- ยีน ควบคุมลักษณะสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร

- องค์ประกอบDNA คือ

- ถ้านิวคลีโอไทด์เปลี่ยนจะส่งผลอย่างไร

ผลลัพธ์ที่เกิด หรือ คาดว่าจะเกิดขึ้น

  1. นักเรียนอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างยีน การสังเคราะห์โปรตีน และลักษณะทางพันธุกรรม
  2. นักเรียนอธิบายผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงลำดับนิวคลีโอไทด์ในดีเอ็นเอต่อการแสดงลักษณะของสิ่งมีชีวิต

เพิ่มเติม นักเรียนสนุกกับการทำกิจกรรม ได้แลกเปลี่ยนความแตกต่างของตัว monster และการตั้งชื่อทำให้นักเรียนสนุกเหมือนได้สร้างสัตว์เลี้ยงของตนเอง

บริบท หรือ ข้อเสนอแนะ

  • เหมาะกับเนื้อหาชีววิทยาระดับมัธยมปลาย หรือระดับชั้นที่เรียนถึงไนโตรจีนัสเบส
  • เหมาะกับนักเรียนที่นำโทรศัพท์มาโรงเรียนได้ และเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: 3.png

ดาวน์โหลดแล้ว 48 ครั้ง


แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(6)
เก็บไว้อ่าน
(4)