icon
giftClose
profile

เรียนวิทย์ให้สนุกด้วยการใช้ประเด็น SSI

14741
ภาพประกอบไอเดีย เรียนวิทย์ให้สนุกด้วยการใช้ประเด็น SSI

เรียนวิทย์ให้สนุกด้วยการใช้ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคม

 

คุณครูหลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำถามมากมายของเด็ก ๆ รวมถึงผู้ใหญ่ว่า “เรียนแล้วไม่เห็นจะได้เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันเลย” การเรียนวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันอาจถูกมองว่าเนื้อหาที่เรียนไม่มีความจำเป็นหรือไม่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน หรือเด็กบางคนอาจมองว่าการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยากและน่าเบื่อในชั้นเรียน ในวันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอหนึ่งในแนวคิดการสอนวิทยาศาสตร์ที่ทำให้ผู้เรียนไม่ได้เพียงนั่งฟังและจดตามในห้องเรียนวิทยาศาสตร์เท่านั้น แนวคิดดังกล่าว คือ “การจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคม (Socioscientific issue: SSI)”

 

ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมคืออะไร ?

          ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคม (SSI) เป็นประเด็นทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงแนวคิดและเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ อาจมีลักษณะ ได้แก่

                  - รับความสนใจจากสังคม

                  - มีผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

                  - มีความซับซ้อน มีลักษณะปลายเปิด ไม่มีคำตอบชัดเจน

- มีการถกเถียงกันและไม่ได้ข้อสรุป

         ประเด็น SSI เป็นประเด็นที่คุณครูอาจพบได้ตามทีวี หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต โดยคำตอบของประเด็นดังกล่าวยังไม่ชัดเจนหรือกำลังถกเถียงกันอยู่ บางประเด็นมีคนมาคอมเมนต์ด้วยความคิดเห็นที่แตกต่างกันจำนวนมาก ประเด็นที่คุณครูอาจนำมาใช้ เช่น หากในพื้นที่หรือชุมชนจะมีการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรตั้งหรือไม่ ประเด็นนี้เกี่ยวกับทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคม หรือประเด็นที่เกี่ยวกับโลกร้อน สะเต็มเซลล์ หรือ GMO คุณครูสามารถประเด็นเหล่านี้มาใช้ในการสอนวิทย์ให้ไม่น่าเบื่อได้

 

คุณครูจะเอาประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมมาสอนยังไงดี ?

         การสอนโดยใช้ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคม (SSI) มีนักการศึกษาหลาย ๆ ท่านเสนอวิธีการสอน ในบทความนี้ผู้เขียนขอเสนอโมเดลของ Rundgren, Eriksson & Rundgren (2016) เนื่องจากเป็นโมเดลที่ผู้เขียนคิดว่าจะให้ห้องเรียนวิทย์ของคุณครูสนุกขึ้นมา

         ขั้นตอนการใช้ SSI ตามโมเดลนี้ ประกอบด้วย

         1. ครูนำเสนอประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคม: ขั้นนี้คุณครูนำเสนอประเด็นโดยอาจใช้สื่อเพื่อความน่าสนใจ เช่น การเปิดวีดีทัศน์ บทความ ข่าว กระตุ้นนักเรียนให้เห็นแง่มุมทั้งทางวิทยาศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ จริยธรรม เช่น ประเด็นเราควรสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่หรือไม่

2. นักเรียนจัดกลุ่มข้อโต้แย้งที่แตกต่างกัน: บางคนอาจะเห็นด้วยว่าควรตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือบางคนอาจจะไม่เห็นด้วย ครูลองนักเรียนแต่ละคนหรือกลุ่มตัดสินใจเกี่ยวประเด็นปัญหา

3. นักเรียนสืบค้นข้อมูลสารสนเทศและสร้างข้อโต้แย้ง: นักเรียนที่มีความเห็นต่างกันหรือตัดสินใจต่างกัน นักเรียนจะต้องสืบค้นข้อมูลมาสนับสนุนการตัดสินตัวเอง ครูอาจเตรียมประเด็นหรือแหล่งข้อมูลหรือสื่อไว้ส่วนหนึ่งสำหรับสืบค้น ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เช่น หลักการ ทฤษฎี ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลทางสังคม

4. นักเรียนมีส่วนร่วมในการอภิปรายภายในกลุ่ม: ครูอาจจัดรูปแบบกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้อภิปรายหรือโต้แย้งกันด้วยข้อมูลหลักฐานที่ตนเองหามาได้ เช่น การโต้วาที บทบาทสมมติ (การอภิปรายในสภา) หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะกับวัยและช่วงชั้น

5. นักเรียนตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหา: ลองให้นักเรียนตัดสินใจด้วยตนเองเกี่ยวกับประเด็นข้างต้นอีกครั้ง บางคนอาจจะเปลี่ยนใจก็ได้หลังจากได้ข้อมูลใหม่ ๆ คุณครูอาจจะต้องสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้เด็ก ๆ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมั่นใจและรู้สึกปลอดภัย (!! ครูจะต้องไม่ตัดสินใจการตัดสินใจของนักเรียนว่าผิดหรือถูก)

6. ครูสะท้อนผลของและการตัดสินใจของนักเรียนแล้วสรุปผลหรือสะท้อนแนวทางในการแก้ปัญหาที่น่าจะดีที่สุด     

 

 

การสอนโดยใช้ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมมีประโยชน์อย่างไร

         เราจะเห็นว่านักเรียนในชั้นเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ประเด็น SSI ได้มุมมองทั้งด้านวิทยาศาสตร์และมุมมองด้านสังคม ทให้นักเรียนเห็นว่าวิทยาศาสตร์กับสังคมเชื่อมโยงกันอยู่โดยเฉพาะกับตัวนักเรียนเอง มีงานวิจัยหลาย ๆ งานที่สะท้อนว่าการสอนโดยใช้ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมผู้เรียนได้ในหลาย ๆ ด้วย เช่น การให้เหตุผล การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือการโต้แย้ง ซึ่งความสามารถเหล่านี้อาจจะไม่เกิดก็ได้ถ้าคุณครูให้นักเรียนฟังและจดลงสมุด

 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(3)