icon
giftClose
profile

สื่อหนังตะลุงขับขานภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น

14840
ภาพประกอบไอเดีย สื่อหนังตะลุงขับขานภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น

      การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นการจัดตามรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน Brain-based Learning (BBL) เป็นแนวทางที่น่าสนใจในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะภาษาไทย โดยแนวคิดในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) คือ การนำองค์ความรู้เรื่องสมอง ธรรมชาติการเรียนรู้ของสมองมาใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้ บรรยากาศในการเรียน สื่อการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ เข้าใจ สามารถเรียนรู้และรับไว้ในความทรงจำระยะยาว จากการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐาน พบว่า สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเริ่มจากการอุ่นเครื่อง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้สมองตื่นตัวการใช้กิจกรรมบริหารสมองทำให้สมองแข็งแรงและทำงานได้อย่างสมดุล ขั้นที่ ๒ ขั้นเรียนรู้ เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญที่ครูจะต้องใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ ที่ช่วยกระตุ้นสมอง เช่น ภาพ เสียง หรือสื่อการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ ผ่านประสาทสัมผัสการใช้วัตถุ สิ่งของที่หลากหลาย สีสันสดใส กระตุ้นความสนใจมาให้นักเรียนได้สัมผัสจับต้องและใช้ในกระบวนการเรียนรู้ ขั้นที่ ๓ ขั้นฝึก คือขั้นที่ครูผู้สอนให้นักเรียนได้ฝึกทักษะซ้ำ ๆ โดยมีสื่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรม ขั้นที่ ๔ ขั้นสรุป เป็นขั้นสรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ และขั้นที่ ๕ ขั้นนำไปใช้ เป็นขั้นที่ประยุกต์เรื่องที่เรียนนำไปใช้ปฏิบัติจริงเป็นขั้นที่ประยุกต์เรื่องที่เรียนนำไปใช้ปฏิบัติจริง               


จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนเล็งเห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น ผู้สอนจึงได้พัฒนานวัตกรรมสื่อหนังตะลุงขับขานภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น โดยใช้หนังตะลุง ที่เป็นการแสดงของท้องถิ่นโดยใช้รูปเชิดหนังตะลุง มีลักษณะเป็นรูปเชิดหนังตะลุงและมีคำภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นติดอยู่บนรูปเชิดหนังตะลุง ๑ ตัว ต่อ ๑ คำ โดยใช้นวัตกรรมสื่อหนังตะลุงขับขานภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) หรือ BBL ๕ ขั้นตอน ซึ่งเป็นแนวทางการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เพราะการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning)    มีกิจกรรมที่หลากหลายและสอดคล้องกับการทำงานของสมองทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อบทเรียน สร้างบรรยากาศทางการเรียนรู้ที่กระตุ้นการเรียนภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นเพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและนำไปสู่การเรียนที่มีประสิทธิภาพ   





ทั้งนี้ ผู้สอนจึงได้พัฒนานวัตกรรมสื่อหนังตะลุงขับขานภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นร่วมกับการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) หรือ BBL ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย เรื่องภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ Brain-Based Learning หรือ BBL ๕ ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นอุ่นเครื่อง ขั้นนำเสนอความรู้ ขั้นลงมือเรียนรู้ ขั้นสรุปความรู้ และขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ มีเนื้อหาในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ความหมายของภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น ความสำคัญของภาษาถิ่น คำภาษาถิ่น ๔ ภาค คือ คำภาษาถิ่นกลางหรือภาษาไทยมาตรฐาน คำภาษาถิ่นเหนือ คำภาษาถิ่นอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) และคำภาษาถิ่นใต้ อีกทั้งผู้สอนมีการใช้สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ได้แก่ รูปเชิดหนังตะลุงขับขานภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น เพลงภาษาถิ่น ดังนั้นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สื่อหนังตะลุงขับขานภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นร่วมกับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning) หรือ BBL จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น ให้กับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล)




 การจัดการเรียนการสอนเรื่องภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๒ โรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล) อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ห้อง ๑ และห้อง ๒ จำนวน ๗๐ คน โดยใช้นวัตกรรมสื่อหนังตะลุงขับขานภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นร่วมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) หรือ BBL ๕ ขั้นตอน ให้เกิดผลสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ผู้สอนต้องมีการวางแผน การจัดการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างนวัตกรรมและการใช้สื่อการเรียนรู้ซึ่งแนวทางในการพัฒนา สื่อการเรียนรู้ มีดังนี้

    ๑. วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อวางแผนในการจัดการเรียนรู้

๒. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและนวัตกรรม

๓. วิเคราะห์นวัตกรรมให้มีความเหมาะสมกับเนื้อหา ที่ช่วยแก้ปัญหาจากการสะท้อนผล PLC

๔. เข้าร่วมการประชุมตามกระบวนการ PLC ภายในกลุ่มสาระ

๕. สร้างแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น โดยใช้นวัตกรรมสื่อหนังตะลุงขับขานภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นร่วมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning)

๖. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียน

๗. ดำเนินการจัดการเรียนรู้

๘. ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่น


        

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 2

ชื่อไฟล์​: ด้านการจัดการเรียนรู้ (1).png

ดาวน์โหลดแล้ว 44 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(0)
เก็บไว้อ่าน
(1)