🤔 ”ทำอย่างไร ให้อาหารไทยไปไกลถึงนอกโลก”
นี่คือคำถามหลักที่ผมโยนให้กับนักเรียน
ในคาบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ
ผ่านบรรยากาศการเรียนแบบ “มาสเตอร์เชฟ”
ผมรู้ว่านักเรียนของผมแต่ละคนมีความสามารถที่แตกต่างกัน
บางคนพูดเก่ง บางคนคิดเก่ง บางคนชอบลงมือทำ
ซึ่งโดยรวมแล้ว พวกเขาชอบเรียนผ่านกิจกรรมที่ท้าทาย
ไม่ใช่การเข้ามานั่งฟังคุณครูบรรยายแบบทั่ว ๆ ไป
จึงกลายเป็นความสนใจในการสร้างห้องเรียนอิงสมรรถนะ
”ลักษณะอาหารแบบใด ที่จะนำออกไปนอกโลกได้?”
”โภชนาการของอาหารที่จะนำออกนอกโลกควรเป็นอย่างไร?”
”อาหารที่ง่ายของการบริโภคที่นอกโลก ควรเป็นอย่างไร?”
คำถามเหล่านี้กลายเป็นประเด็นที่ท้าทายภายในห้องเรียน
นอกจากการจัดการเรียนรู้ที่อิงกับสมรรถนะแล้ว
ผมยังสร้างประสบการณ์การการเรียนรู้แบบบูรณาการ
มีการเข้าไปพูดคุยขอคำปรึกษากับครูการงานอาชีพ
เพื่อที่จะนำเรื่องของอาหาร มาหลอมรวมกับวิทยาศาสตร์
เพื่อให้มีความคล้ายคลึงกับรายการมาสเตอร์เชฟมากขึ้น
ผมใช้การจับเวลาในแต่ละช่วง เพื่อกระตุ้นความตื่นตัว
ให้นักเรียนจับกลุ่มที่มีความสามารถหลากหลายแตกต่างกัน
ช่วยกันสืบค้นข้อมูลเพื่อตกผลึกออกมาเป็นเมนูอาหาร
ฝึกฝนทักษะการพูดและการนำเสนอเมนูอาหารหน้าชั้นเรียน
การที่คุณครูจะดึงศักยภาพของนักเรียนออกมาได้อย่างสูงสุด
คือการพานักเรียนได้มีโอกาสทดลองทำอะไรที่แปลกใหม่
และท้าทายความสามารถเดิมที่พวกเขามีอยู่ในแต่ละคน
และการเรียนรู้อิงสมรรถนะนี่เอง ที่จะตอบโจทย์ตรงนี้ได้
ครูแฮคกี้-สิวะ วิโย โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์)
เข้าไปชมไอเดียการสอนเชิงสมรรถนะ
ที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
จากครูแฮคกี้และครูคนอื่น ๆ ในพื้นที่ EEC
ได้ในลิงก์นี้เลย!
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!