inskru
gift-close

สอนพระพุทธศาสนายังไงให้ Active learning

1
3
ภาพประกอบไอเดีย สอนพระพุทธศาสนายังไงให้ Active learning

✨ สอนพระพุทธศาสนายังไง ให้ Active learning ไอเดียการสอนสุดล้ำ เข้าถึงธรรมได้ในกิจกรรมเดียว


💤 เมื่อพูดถึงรูปแบบการสอนในวิชาพระพุทธศาสนา หลายคนคงนึกภาพการนั่งฟังบรรยายหลักธรรม สวดมนต์ หรือศึกษาพุทธประวัติด้วยการท่องจำหรือเป็นรูปแบบที่เรารู้จักกันในชื่อ Passive learning

จะเป็นไปได้ไหม? ที่การสอนวิชาพระพุทธศาสนาจะมีความสนุก ตื่นเต้น และท้าทายกว่าที่เคยเป็น

จะเป็นไปได้ไหมที่วิชาพระพุทธศาสนาในห้องเรียนจะเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เรียนรู้ผ่านกิจกรรมและมีความ Active learning มากกว่าเดิม?


ชวนคุณครูมาส่องคาบเรียนของครูก๊อต-วุฒิชัย คาบเรียนพระพุทธศาสนาแบบ Active learning ถ้าคุณครูพร้อมกันแล้ว มาเปิดความเป็นไปได้กัน!


จะทำอย่างไร ที่จะเปลี่ยนให้คาบเรียนพระพุทธศาสนาจาก Passive learning เป็น Active learning ดีนะ?

🥢 กิจกรรม “ลำเลียงหลักธรรม”

🏓 อุปกรณ์ประกอบกิจกรรม

  1. ตะเกียบ
  2. ถังใส่ลูกปิงปอง
  3. ลูกปิงปอง 2 สี (เขียนชื่อหลักธรรมลงไปในลูกปิงปอง)
  4. แก้วน้ำ 2 ชุด (เขียนชื่อหลักธรรมข้างแก้ว)


⏰ วิธีการเล่น

  1. แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม นั่งเป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง
  2. ทั้ง 2 กลุ่มได้รับลูกปิงปองตามสีของตนเอง (ขาว-ส้ม)
  3. ลำเลียงลูกปิงปองตามหลักธรรมที่ครูกำหนด เช่น ครูกำหนดหลักธรรมอริยสัจ 4 นักเรียนจะต้องลำเลียงลูกปิงปองที่มีคำว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยใช้ตะเกียบคีบส่งต่อกัน
  4. ลำเลียงลูกปิงปองจากคนที่อยู่ท้ายแถว มาใส่แก้วน้ำที่อยู่หน้าแถว กลุ่มที่ทำเสร็จก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ
  5. ครูจะกำหนดให้เล่นทีละหลักธรรมจนครบทั้ง 4 หลักธรรม


🤩 สร้างการเรียนรู้เรื่อง “อริยสัจ 4” ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค ผ่านทักษะการแก้ไขปัญหา

ในรอบแรกๆ นักเรียนอาจจะส่งลูกปิงปองได้ไม่ดีนักหลังจากผ่านไปหลายรอบ มีการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาหาวิธีใหม่ ๆ เพื่อให้ส่งลูกปิงปองได้ดีขึ้นกว่าเดิม

✨ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรม “อริยสัจ 4”

  1. ทุกข์ (ปัญหาที่เกิดขึ้น)
  2. คีบลูกปิงปองแล้วตกพื้น ส่งหากันไม่ได้
  3. สมุทัย (สาเหตุของปัญหา)
  4. สาเหตุที่ทำให้ลูกปิงปองตกพื้น
  5. นิโรธ (ปัญหาถูกแก้ไข)
  6. ส่งต่อลูกปิงปองให้เพื่อนโดยไม่ตกพื้น
  7. มรรค (วิธีการแก้ไขปัญหา)
  8. ใช้สองมือจับตะเกียบ ให้ตะเกียบประสานกัน


🤩 สร้างการเรียนรู้เรื่อง “ขันธ์ 5” รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ผ่านทักษะการสื่อสาร

นักเรียนใช้มือคีบลูกปิงปอง ใช้สายตามอง ใช้เสียงสื่อสาร เพื่อทำให้ผ่านภารกิจไปให้ได้

✨ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรม “ขันธ์ 5”

  1. รูป
  2. เราใช้มือในการคีบตะเกียบส่งลูกปิงปอง
  3. เวทนา
  4. ตอนเล่นเกมเราอาจจะมีความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉย ๆ
  5. สัญญา
  6. ต้องจำองค์ประกอบของแต่ละหลักธรรมให้ได้จึงจะส่งลูกปิงปองต่อให้เพื่อนได้อย่างถูกต้อง
  7. สังขาร
  8. ในขณะเล่นเกมเราอาจจะมีความคิดต่าง ๆ ขึ้นมา
  9. วิญญาณ
  10. การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส เช่น ตามองเห็นลูกปิงปอง มือคีบตะเกียบ หูฟังเสียงเพื่อน


🤩 สร้างการเรียนรู้เรื่อง “เบญจศีล”

เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกายและวาจาผ่านข้อกำหนดและกติกาภายในกิจกรรม

นักเรียนส่วนใหญ่อยากเอาชนะในการเล่มเกมจนอาจจะลืมตัวพูดคำหยาบ ตำหนิเพื่อน หรือทำผิดกติกา จึงสร้างการเรียนรู้ในเรื่องเบญจศีลในชีวิตจริง เมื่อใช้ชีวิตประจำวันเราจำเป็นจะต้องควบคุมกาย วาจามีสติในการใช้ชีวิตตลอดเวลาโดยใช้หลักธรรมเข้ามาช่วย


✨ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรม “เบญจศีล”

  • ศีลข้อ 1 นักเรียนอยากชนะคู่แข่งก็เลยไปแกล้งเพื่อนอีกฝ่าย เพื่อไม่ให้เพื่อนส่งลูกปิงปองหากันได้โดยง่าย
  • ศีลข้อ 4 นักเรียนด่าเพื่อนร่วมทีมที่ส่งลูกปิงปองช้า กลัวแพ้


🤩 สร้างการเรียนรู้เรื่อง “ไตรลักษณ์”

อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ผ่านทักษะการควบคุมอารมณ์

เมื่อนักเรียนเล่นเกม ทำให้รู้สึกสนุกสนาน แต่เมื่อเกมจบลง ความรู้สึกนั้นก็หายไป ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

✨ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรม “ไตรลักษณ์”

  1. อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
  2. ตอนเริ่มเกมเราอาจนำเพื่อนอีกฝั่ง ตอนจบเราอาจจะแพ้ก็ได้
  3. ทุกขัง ความเสื่อมสภาพ
  4. มีเริ่มเกม ก็ต้องมีจบเกม มีความรู้สึกสนุก เมื่อเวลาผ่านไปความรู้สึกมันก็ค่อยๆจางลง
  5. อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนไม่มีจริง
  6. สุดท้ายความรู้สึกสนุก ตื่นเต้นช่วงต้นเกม เมื่อจบเกมความรู้สึกนั้นก็หายไป


💖 สร้างการเรียนรู้เรื่อง Empathy

สุดท้ายครูก๊อตเน้นย้ำกับนักเรียนว่า “เวลามีการแข่งขัน เรามักอยากเอาชนะมากจนเกินไป มันอาจจะทำให้เราเผลอมองข้ามความเห็นอกเห็นใจที่ทุกคนควรมีให้กัน”


จะเห็นว่า หลักธรรมต่าง ๆในพระพุทธศาสนานั้นถูกเรียงร้อยเข้าด้วยกันภายในกิจกรรมเดียวและนำมาเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตของนักเรียนถือว่าเป็นไอเดียการสอนที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี มีความ Active learning และมีการบูรณาการศาสตร์

คุณครูสามารถลองนำไอเดียของครูก๊อตเป็นตัวอย่างเพื่อการออกแบบการสร้างการเรียนรู้ในวิชาอื่น ๆ Active learning จะไม่ใช่เพียงวาทกรรมอีกต่อไป

สังคมศึกษาinspotlightเกมและกิจกรรมพุทธศาสนาศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

1
ได้แรงบันดาลใจ
3
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insinsKru
insKru Official Account เราจะคอยผลักดันและเชิญชวนคุณครูมาร่วมสร้างสรรค์ไอเดียการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยต่อไป

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ