🧠 ”เพิ่งสอนไปแท้ ๆ แต่นักเรียนจำอะไรไม่ได้เลย?”
ชวนคุณครูทำความรู้จัก Ebbinghaus’s Forgetting Curve
“เดี๋ยววันนี้เราจะใช้เนื้อหาจากบทเรียนสัปดาห์ที่แล้วกันนะ”
“คืนความรู้ให้ครูไปหมดแล้ว จำอะไรไม่ได้เลยครับ/ค่ะ”
“อ้าว…”
คุณครูคงเคยเจอปัญหาดังกล่าว เพิ่งสอนไปไม่ทันไร
สุดท้ายนักเรียนบอกว่าลืมหมดแล้ว จำอะไรไม่ค่อยได้
เกิดอะไรขึ้นกันนะ เราสอนไม่ดี หรือมีอะไรที่ผิดพลาดกันแน่?
ลองมาทำความเข้าใจธรรมชาติการจดจำของมนุษย์
ผ่าน “Ebbinghaus’s Forgetting Curve”
ที่จะช่วยอธิบายการจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ของสมอง
เหตุใด ทำไมมนุษย์ถึงลืมเรื่องราวต่าง ๆ ได้ง่ายนัก
📉 จากกราฟ จะเห็นว่าเมื่อมนุษย์จดจำบางสิ่งเป็นครั้งแรก
เมื่อเวลาผ่านไป ความทรงจำจะลงลดอย่างรวดเร็ว
เนื้อหาที่ได้รับทั้งหมดจะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 4
หากไม่ได้มีการทบทวนหรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นซ้ำอีกครั้ง
ไม่แปลกใจเลย ว่าเหตุใดนักเรียนถึงลืมเนื้อหาได้ง่ายดาย
แต่ถ้ามีการทบทวนหรือการเรียนรู้ซ้ำในเรื่องเดิม
ความสามารถในการจดจำจะเพิ่มขึ้นอย่างทันที
และจะเห็นได้ว่า ยิ่งทบทวนซ้ำหรือบ่อยครั้งเท่าใด
ความทรงจำที่หลงเหลือในเรื่องนั้น ๆ ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น
หากมีการทบทวนหรือเรียนรู้ซ้ำในเรื่องนั้นอย่างละเอียด
และทบทวนหลังจากการเรียนรู้ในครั้งแรกอย่างรวดเร็ว
🤔 เมื่อรู้แบบนี้แล้ว คุณครูคงได้คำตอบในใจแล้วว่า
“เพิ่งสอนไปแท้ ๆ แต่นักเรียนจำอะไรไม่ได้เลย?”
เนื่องจากนักเรียนขาดการทบทวนหรือเรียนรู้ซ้ำ ๆ
และบางทีอาจจะทบทวนในเรื่องนั้นช้าจนเกินไป
เมื่อรู้สาเหตุแล้ว ชวนคุณครูมาออกแบบบทเรียนกันใหม่
หยิบเนื้อหาจากคาบที่ผ่านมาขึ้นมาพูดให้บ่อยครั้ง
เชื่อมโยงเรื่องที่กำลังสอน เข้ากับเนื้อหาที่เพิ่งผ่านมา
คอยกระตุ้นความทรงจำเมื่อเวลาผ่านพ้นไปเรื่อย ๆ
ก็จะช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจำของนักเรียนได้!
บ่อยครั้ง ที่เรามองว่า การหลงลืมของนักเรียน
แสดงถึงความไม่ใส่ใจ หรือความไม่ตั้งใจเรียน
แต่เมื่อมองเห็นถึงธรรมชาติในการจดจำของมนุษย์แล้ว
จะทำให้คุณครูมีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) มากขึ้น
✨ มีคุณครูท่านใดเคยใช้เทคนิคนี้แล้วบ้าง
มาแชร์ประสบการณ์ลงในคอมเมนต์กันได้เลย!
อ้างอิงจาก
แท็กที่เกี่ยวข้อง