icon
giftClose
profile

จะสอนสังคมฯ อย่างไรดี? ให้นักเรียนมีมุมมองที่กว้างและลึกขึ้น

10390
ภาพประกอบไอเดีย จะสอนสังคมฯ อย่างไรดี? ให้นักเรียนมีมุมมองที่กว้างและลึกขึ้น

👀หลายครั้งเราอาจมีคำถามว่า

จะสอนสังคมฯ อย่างไรดี ? ให้นักเรียนมีมุมมองที่กว้างและลึกขึ้นไปกว่าตำราเรียน

จะสอนสังคมฯ อย่างไรดี ? ให้นักเรียนรู้จักตั้งคำถาม วิเคราะห์กับสิ่งรอบตัว ไม่เป็นพลเมืองเชื่องๆ

จะสอนสังคมฯ อย่างไรดี ?ให้นักเรียนตระหนักถึงโครงสร้างสังคมที่ไม่เป็นธรรม มากกว่าจะมองปัญหาแบบผิวเผิน

หากยังคิดไม่ออก ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากไหนดี ?

ครูพล-อรรถพล ประภาสโนบล ได้รวบรวม 6 บทความออนไลน์จากคำแนะนำของคุณครู 6 คน ที่จะมาบอกเล่าจากประสบการณ์ของตัวเอง ว่าทำไมการอ่านบทความเหล่านี้จึงสำคัญต่อการสอนสังคมศึกษา แล้วสิ่งนี้จะช่วยเป็นวัตถุดิบในการสร้างบทเรียนที่ดีขึ้นมาในชั้นเรียนได้อย่างไร


👨‍👩‍👧‍👦อ่าน “วาง ‘อคติ’ ลงแล้วเข้าใจ ‘เมียฝรั่ง’ ผ่านงานวิจัยและมุมมองเชิงสังคมศาสตร์”

ตั้งคำถามมายาคติที่มีต่อการแต่งงานข้ามชาติ และอคติทางวัฒนธรรมต่อกลุ่มคนต่างๆ ในสังคมไทย

https://thematter.co/social/transnational-marriage/95496

แนะนำโดย ครูทิว-ทิชานนท์ ชุมแวงวาปี ครูระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ทำไมต้องอ่าน: บทความนี้นำมาสู่การทำความเข้าใจเงื่อนไขและปัจจัยที่ทำให้เกิดการแต่งงานข้ามชาติหลากหลายมิติ ทั้งการมองเงื่อนไขของการแต่งงานข้ามชาติที่มาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง เงื่อนไขที่เกี่ยวเนื่องกับเพศภาวะหรือความคาดหวังที่มีต่อเพศหญิงในแต่ละสังคม การแต่งงานข้ามชาติยังมาผลรวมของเงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ ประกอบกัน การทำความเข้าใจต่อการแต่งงานข้ามชาติที่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในภูมิภาคอีสาน แต่เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลกที่เกิดขึ้นพร้อมกับการไหลเวียนข้ามพรมแดนรัฐชาติของผู้ค้น ข้อมูล ข่าวสาร จินตนาการและทุนซึ่งเกิดขึ้นเมื่อโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์

นำไปสอนอย่างไรให้คมๆ : ชวนนักเรียนตั้งคำถามต่อมายาคติที่มีต่อการแต่งงานข้ามชาติ หรืออคติทางวัฒนธรรมต่อกลุ่มคนต่างๆ ในสังคมไทย โดยเฉพาะต่อกลุ่มเมียฝรั่งที่ถูกเหมารวม และตีตรากับความเป็นเพศพาณิชย์ และความยากจน การชวนคุยในประเด็นคุยเพื่อนำเสนอประเด็นและเล่าเรื่องจากมุมมองที่เคยรับรู้ การตั้งคำถามเพื่อถอดรื้อมายาคติเพื่อนำไปสู่การสร้างเข้าใจต่อปรากฎการณ์การแต่งงานข้ามที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างต่างๆ ในสังคม ทั้งโครงสร้างและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม เพศภาวะ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การกระจายทรัพยากรที่ไม่เท่ากัน และเลื่อนไขอื่น ๆ ที่นำมาสู่การแต่งงานข้ามชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การเคารพความแตกต่างอย่างหลากหลาย

แนวคิดสำคัญของบทความนี้ : การถอดรื้ออคติทางวัฒนธรรม, การเข้าใจปรากฎการณ์ทางสังคม, เงื่อนไขหรือปัจจัยที่นำไปสู่ความหลากหลายในสังคม


👀อ่าน “เจาะประเด็น มัสยิดบึงกาฬ: ความจำเป็นที่แตกต่างนำไปสู่การต่อต้าน”

เชื่อมโยงการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง เพื่อไม่ให้นำไปสู่การเหมารวม ตัดสิน ตีตรา และอคติ

https://theisaanrecord.co/2018/12/10/islam-muslim-masjid-in-isaan/

แนะนำโดย ครูแนท-ธนัญญา ต่อชีพ

ทำไมต้องอ่าน : เป็นบทสัมภาษณ์ที่กล่าวถึงกระแสของคนท้องถิ่นที่นับถือศาสนาพุทธบางส่วน ออกมาต่อต้านการสร้างมัสยิดของคนที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดบึงกาฬ ในบทความได้ชวนเรามาสำรวจที่มาของความขัดแย้ง ที่นำไปสู่การเหมารวมและตัดสิน ตีตรากัน รวมไปถึงการหาทางออกในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนพุทธและคนมุสลิมในพื้นที่ นอกจากนี้บทความดังกล่าวยังช่วยให้เราได้เรียนรู้และทำความเข้าใจวัฒนธรรมของคนมุสลิมมากขึ้นด้วย

นำไปสอนอย่างไรให้คมๆ : ครูสามารถจัดกิจกรรมอภิปรายกลุ่ม ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าว โดยครูชวนตั้งคำถามและอภิปรายเชื่อมโยงเข้าสู่คอนเซปต์การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย (พหุวัฒนธรรม) เป็นการสร้างความเข้าใจและยอมรับความแตกต่าง เพื่อไม่ให้นำไปสู่การเหมารวม ตัดสิน ตีตรา และมีอคติต่อการอยู่ร่วมกัน รวมไปถึงการเคารพสิทธิ เสรีภาพทางความเชื่อของผู้อื่น เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (ความเป็นธรรมทางสังคม)

แนวคิดสำคัญของบทความนี้ : ศาสนากับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ พหุวัฒนธรรม และความเป็นธรรมในสังคม


👀อ่าน “เจาะประเด็น มัสยิดบึงกาฬ: ความจำเป็นที่แตกต่างนำไปสู่การต่อต้าน”

เชื่อมโยงการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง เพื่อไม่ให้นำไปสู่การเหมารวม ตัดสิน ตีตรา และอคติ

https://theisaanrecord.co/2018/12/10/islam-muslim-masjid-in-isaan/

แนะนำโดย ครูแนท-ธนัญญา ต่อชีพ

ทำไมต้องอ่าน : เป็นบทสัมภาษณ์ที่กล่าวถึงกระแสของคนท้องถิ่นที่นับถือศาสนาพุทธบางส่วน ออกมาต่อต้านการสร้างมัสยิดของคนที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดบึงกาฬ ในบทความได้ชวนเรามาสำรวจที่มาของความขัดแย้ง ที่นำไปสู่การเหมารวมและตัดสิน ตีตรากัน รวมไปถึงการหาทางออกในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนพุทธและคนมุสลิมในพื้นที่ นอกจากนี้บทความดังกล่าวยังช่วยให้เราได้เรียนรู้และทำความเข้าใจวัฒนธรรมของคนมุสลิมมากขึ้นด้วย

นำไปสอนอย่างไรให้คมๆ : ครูสามารถจัดกิจกรรมอภิปรายกลุ่ม ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าว โดยครูชวนตั้งคำถามและอภิปรายเชื่อมโยงเข้าสู่คอนเซปต์การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย (พหุวัฒนธรรม) เป็นการสร้างความเข้าใจและยอมรับความแตกต่าง เพื่อไม่ให้นำไปสู่การเหมารวม ตัดสิน ตีตรา และมีอคติต่อการอยู่ร่วมกัน รวมไปถึงการเคารพสิทธิ เสรีภาพทางความเชื่อของผู้อื่น เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (ความเป็นธรรมทางสังคม)

แนวคิดสำคัญของบทความนี้ : ศาสนากับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ พหุวัฒนธรรม และความเป็นธรรมในสังคม


👀อ่าน “Utopia for Realists : ความจริงของนักอุดมคติ”

อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้สิ่งเพ้อฝันแห่งยุคสมัยกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

https://www.the101.world/utopia-for-realists

แนะนำโดย ครูปาริชาต ชัยวงษ์

ทำไมต้องอ่าน : โดยทั่วไปแล้วการสอนสังคมศึกษาในไทยมักจะเน้นไปที่การทำความเข้าใจ การนำไปประยุกต์ใช้ ไปจนถึงการวิพากษ์สภาพสังคมที่เป็นอยู่ แต่เมื่อพูดถึงการสอนที่ชี้ชวนให้ผู้เรียนจินตนาการถึงโลกที่ต่างไป โลกที่เสมอภาค ผู้คนทำงานน้อยลง แต่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีเวลาได้พักผ่อน และใช้ชีวิตอย่างมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี กลับเป็นสิ่งที่ถูกตัดสินว่าเป็นเพียงเรื่องเพ้อฝันของนักอุดมคติ ทำให้เมื่อเราสอนไปถึงจุดหนึ่งทั้งคนสอนและคนเรียนต่างก็พบว่าโลกนี้เต็มไปด้วยทางตัน ช่างน่าหดหู่ และการเปลี่ยนแปลงนั้นล้วน “เป็นไปไม่ได้” บทความชี้ชวนให้เราเห็นถึงมุมมองการสอนที่เปิดพื้นที่จินตนาการถึงสังคมใหม่ ผ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สิ่งที่เคยถูกตัดสินไปก่อนแล้วว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ณ ช่วงเวลาหนึ่งในอดีต ที่ล้วนแล้วแต่กลายเป็นสิ่งสามัญในปัจจุบัน

นำไปสอนอย่างไรให้คมๆ : เรียนประวัติศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ ผ่าน Theme หรือประเด็นที่เคยเป็นเรื่องที่ “เป็นไปไม่ได้” ในอดีต เช่น การยกเลิกระบบทาส สิทธิในการเลือกตั้งของผู้หญิง สมรสเท่าเทียม สิทธิของคนผิวดำ หรือสวัสดิการแรงงาน ฯลฯ โดยอาจใช้ทักษะการคิดเชิงประวัติศาสตร์อย่างการวิเคราะห์บริบท สำรวจปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผ่านหลักฐานที่หลากหลาย ก่อนจะชวนให้วิเคราะห์ว่าอะไรบ้างเป็นปัจจัยที่ทำให้สิ่งเพ้อฝันแห่งยุคสมัยกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ จากนั้นนำประเด็นที่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านมาชวนพูดคุยและวิเคราะห์ต่อ (เช่น การเปลี่ยนแปลงเรื่องระเบียบทรงผมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง ที่นักเรียนเลือกทรงผมได้อย่างเสรีตามเพศวิถี)

แนวคิดสำคัญของบทความนี้ : การจินตนาการถึงสังคมใหม่


👀อ่าน “ดวงใจสีคราม แบรนด์แฟชั่นน่ารักของสาวเหนือที่กลับบ้านไปเล่าเรื่องบ้านเกิดผ่านเสื้อม่อฮ่อม”

ตั้งคำถามถึงที่มาของภาพจำ อะไรทำให้เรารับรู้เกี่ยวกับชนบทอย่างที่เป็นอยู่

https://readthecloud.co/kamon-indigo

แนะนำโดย ครูแอร์-สิปปกร จันทร์แก้ว

ทำไมต้องอ่าน: บทความชิ้นนี้ทำให้ได้รู้จักกับแบรนด์เสื้อผ้าที่ใช้เรื่องเล่า ทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ลวดลาย รูปแบบ และสีสันลงบนเสื้อผ้าจนมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่หากอ่านบทความชิ้นนี้ร่วมกับบทความ “จากชาวนาสู่ผู้ประกอบการ” ของ อ.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ (อ่านได้ที่ลิงก์นี้ https://www.matichonweekly.com/column/article_27120) บทความทั้งสองจะช่วยให้เข้าใจเรื่องราวของแบรนด์เสื้อผ้านี้ในฐานะส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของผู้คนและสังคมชนบท เป็นการตอกย้ำว่าชนบทไทยเปลี่ยนไปแล้ว และจะเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ชนบทไทยกำลังเปลี่ยนไปอย่างไรด้วย

นำไปสอนอย่างไรให้คมๆ : ชวนเปรียบเทียบภาพจำของชนบทที่คุ้นชินกับภาพของชนบทในมุมมองใหม่ในหลากหลายมิติ ตั้งคำถามถึงที่มาของภาพจำเหล่านั้นว่าอะไรทำให้เรารับรู้หรือมีภาพเกี่ยวกับชนบทเป็นแบบนี้ จากนั้นชวนกันวิเคราะห์หาจุดร่วมและจุดแตกต่าง แล้ววิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่าง เพื่อทำให้เห็นภาพร่วมกันว่า ชนบทกำลังเปลี่ยนแปลง มีอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเห็นภาพว่าชนบทเปลี่ยนไปอย่างไร

แนวคิดสำคัญของบทความนี้ : การเปลี่ยนแปลงของสังคม, มายาคติเกี่ยวกับชนบท


👀อ่าน “พงศาวดารไทย-พม่าบันทึกสงครามยุทธหัตถีต่างกัน! พลิกความเข้าใจเรื่อง สงครามยุทธหัตถี”

วิพากษ์หลักฐานประวัติศาสตร์จากหลายคน หลายช่วงเวลา จากผู้ชนะ จากผู้แพ้ จากคนนอก จากผู้สังเกตการณ์

https://www.silpa-mag.com/history/article_17774

แนะนำโดย ครูอาร์ม-ธนากร สร้อยเสพ

ทำไมต้องอ่าน: บทความนี้ทำให้ได้เห็นมุมมองของหลักฐานทั้งสองฝั่งและชวนตั้งคำถามกับการศึกษา หลักสูตร แบบเรียนที่เราเรียนอยู่ ว่าทำไมทั้งสองไม่เหมือนกันแตกต่างกัน เรามีสิทธิที่จะวิพากษ์และศึกษา ไม่จำเป็นจะต้องท่องจำแต่เพียงอย่างเดียว ภาพยนต์ที่เคยดู แอนิเมชันที่เคยดู ทำไมถึงสร้างให้เราได้รับรู้ในด้านเดียวแบบนั้น มันสะท้อนให้เราเห็นอะไรในประเทศบ้าง ข้อเท็จจริง หาหลักฐาน เปรียบเทียบ เราชี้ให้เห็นถึงอะไร อำนาจ ผู้ชนะ ใครมีสิทธิได้เขียนประวัติศาสตร์

นำไปสอนอย่างไรให้คมๆ : ชวนเปรียบเทียบวิเคราะห์และตั้งคำถามต่อ“แหล่งที่มาของอำนาจ” จากประวัติศาสตร์ชาตินิยมที่มีในหลักสูตร แบบเรียนที่เราเรียนอยู่ ถึงแม้ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร มันมีจากหลายที่มาจากหลายคนหลายช่วงเวลา จากผู้ชนะ จากผู้แพ้ จากคนนอก จากผู้สังเกตการณ์ เยอะแยะมากมายที่ทำได้ก็คือต้องชวนนักเรียนเอาข้อมูลเหล่านั้นมาวิพากษ์หาความเป็นไปได้ที่น่าจะสมเหตุสมผลที่สุด

แนวคิดสำคัญของบทความนี้ : การตั้งคำถามต่อการศึกษา หลักสูตร เนื้อหา แบบเรียนในอดีต ที่ใครก็ตามที่เชื่อมั่นว่าจะสามารถค้นหาข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ได้ หรือสามารถจะยืนยันได้ว่าเหตุการณ์นั้นๆ ได้เกิดขึ้น “จริง” หรือถูกแต่งเติมเขียนขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เราแค่เชื่อและสยบยอมต่อกรอบของอำนาจหลัก เพราะเราอยู่ในกรอบของประวัติศาสตร์ชาตินิยมมากจนเกินไป


👀อ่าน “การตื่นรู้ของผู้ถูกกดขี่ : อำนาจ การใช้อำนาจ และการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง”

ตั้งคำถามถึง “แหล่งที่มาของอำนาจ” และ “การใช้อำนาจ” ที่มีผลต่อเราและปรากฏการณ์ทางสังคม

https://www.vajrasiddha.com/articles-pedagogy_oppressed

แนะนำโดย ครูแบม-ภาสินี รุ่งเรือง

ทำไมต้องอ่าน: บทความนี้บอกเล่าถึงวัฒนธรรมการใช้อำนาจนิยมในไทยที่ทำงานอยู่ในทุกมิติของสังคมตั้งแต่ปัจเจก ครอบคลุมถึง การเมือง ศาสนา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ คนทุกระดับและทุกสถาบันทางสังคม ตั้งแต่ระดับครอบครัวเป็นต้นไป โดยเฉพาะโรงเรียนที่เป็นสถานที่ที่มีแนวโน้มใช้อำนาจเหนือมาก ความรู้เรื่องการใช้อำนาจ และแหล่งที่มาของอำนาจ จะช่วยให้ครูออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่สะท้อนถึงมายาคติที่กดขี่ทับซ้อนในโครงสร้างสังคม และเสริมสร้างทักษะการตั้งคำถามและทักษะการเรียนเชิงวิพากษ์ของผู้เรียน การปรับใช้เลนส์อำนาจในห้องเรียนยังช่วยให้ผู้เรียนและครูรู้สึกถึงพลังอำนาจของตัวเอง รู้สึกถึงเสรีภาพ มีหวัง ไม่หมดไฟ

นำไปสอนอย่างไรให้คมๆ : ชวนนักเรียนวิเคราะห์และตั้งคำถามว่า“แหล่งที่มาของอำนาจ” และ “การใช้อำนาจ”เข้ามามีผลกับตัวเราและปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างไร เช่น การทำงานของรัฐ กฎหมายที่บังคับใช้ มีแนวโน้มที่ใช้อำนาจเหนือมากน้อยแค่ไหน รวมถึง เพศ วัฒนธรรม ความเชื่อ อัตลักษณ์ที่แตกต่าง มีผลทำให้คนกลายเป็นชายขอบและถูกกีดกันโอกาสและการเข้าถึงทรัพยากรอย่างไรบ้าง โดยครูแบมยกตัวอย่างเทคนิคการสอน เช่นการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิด โต้วาที การคิดด้วยหมวก 6 ใบ โดยครูสามารถปรับให้เหมาะได้ตามเนื้อหาและช่วงวัย ครูยังสามารถหลักการ Power Sharing เปลี่ยนบทบาทและแชร์ใช้อำนาจร่วม โอบรับความหลากหลาย ห้องเรียนจะเกิดพื้นที่ปลอดภัยมากขึ้น ช่วยลดความขัดแย้ง กดขี่ กลั่นแกล้ง ที่นำไปสู่ความรุนแรงที่มากกว่าในอนาคต

แนวคิดสำคัญของบทความนี้ : วิเคราะห์อำนาจ (Power analysis) อำนาจเหนือ อำนาจร่วม อำนาจภายใน และแหล่งที่มาของอำนาจ


📖รวมบทความที่อื่นๆ ครูสังคมไม่ควรพลาด

แชร์ไว้อ่านกันได้ยาวๆ ตลอดปิดเทอมนี้

📚กองทัพเรือ ผลปีศาจ รัฐบาลโลก สำรวจ 9 ประเด็นการเมืองฉบับโลก One Piece

https://thematter.co/entertainment/one-piece/92525

📚ธงชัย วินิจจะกูล: วิชาประวัติศาสตร์ควรสอน(ฝึกฝน)อะไร?

https://prachatai.com/journal/2022/12/101762

📚เมื่อชีวิตคนธรรมดาถูกทุนโรแมนติไซส์ มองชีวิตธรรมดาในสังคมไม่ธรรมดา

https://thematter.co/social/very-thai-normal-interview-sustarum/174862

📚ไฮเวยาธิปไตย Highway-cracy: อุดมการณ์พัฒนาและความตายบนถนนไทย

https://prachatai.com/journal/2021/11/95967

📚Squid Game : การเอาตัวรอดในโลกทุนนิยมที่ถูกจำลองภายใต้สีพาสเทล

https://thematter.co/thinkers/squid-game/155874

📚วัฒนธรรมการข่มขืน : เมื่ออำนาจสร้างความชอบธรรมให้การละเมิดสิทธิในร่างกายผู้อื่น

https://thematter.co/thinkers/rape-culture/172925

📚‘ถอดรหัสไทย’ นิทรรศการที่ชี้ชวนให้ตั้งคำถามกับ ‘ความเป็นไทย’

https://themomentum.co/decode-thainess-exhibition-museum-siam/

📚กินคาวไม่กินหวานสันดานใคร?: ความหวานแบบขมๆ จากยุคอาณานิคม

https://www.the101.world/indonesia-sugar-and-sweetness/

📚เมืองร้อนทำให้คนกินคน

https://theurbanis.com/environment/04/12/2019/208

📚The Sea Beast : ระหว่าง Thalassophobia กับ Propaganda มนุษย์กลัวสิ่งใดมากกว่ากัน

https://decode.plus/20220918-the-sea-beast/

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(1)
เก็บไว้อ่าน
(7)