การเคลื่อนที่ของสารผ่านเข้าออกเซลล์สามารถแบ่งได้เป็น 2ประเภท
1.Passive Transport
คือการลำเลียงสารแบบไม่ใช้พลังงานโดยเป็นการลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากผ่านcell membranไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อย
Passive Transport มีการลำเลียง3รูปแบบคือ Diffusion , Osmosis , Facilitated Diffusion
รูปแบบที่1 การลำเลียงแบบ Diffusion เกิดขึ้นเมื่อ2บริเวณมีความเข้มข้นของสารต่างกัน สองบริเวณที่มีความเข้มข้นต่างกันจะทำให้สารเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อย การเคลื่อนที่แบบนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยพลังงานในการเคลื่อนที่ โดยสารที่ลำเลียงผ่าน phospholipidต้องเป็นสารที่ละลายในไขมันเรียกว่าสารที่ไม่มีขั้ว ได้แก่ แก๊สคาบอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ออกซิเจน และพวกกลุ่มวิตามิน A D E K
รูปแบบที่2 การลำเลียงแบบ Osmosis การลำเลียงดังกล่าวคือการลำเลียงน้ำ น้ำจัดเป็นสารที่มีขั้วจึงต้องอาศัยช่องโปรตีนที่มีชื่อว่า Aquaporin โดยช่อง Aquaporin จะช่วยลำเลียงน้ำจากบริเวณที่มีน้ำมากไปยังบริเวณที่มีน้ำน้อย
รูปแบบที่3 Facilitated Diffusion คือการลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อย โดยอาศัยโปรตีนลำเลียง ซึ่งโปรตีนลำเลียงแบ่งเป็น2ชนิด คือ
-channel protein โดยช่อง channel protein จะยอมให้สารเคลื่อนที่ผ่านจากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากไปยังบริเณที่มีความเข้มข้นน้อย
-carrie protein หรือโปรตีนตัวพา โดยโปรตีนตัวพาจะทำหน้าที่เปลี่ยนรูปร่างให้จับกับสารที่จะลำเลียงได้ สารที่ลำเลียงแบบ facilitated diffusion จะเป็นสารที่ละลายในน้ำแต่ไม่ละลายในไขมันเรียกสารที่ละลายน้ำว่าเป็นสารที่มีขั้ว ตัวอย่างเช่น โซเดียมคลอไรด์ หรือ ไอออนต่างๆ เช่นโซเดียมไอออน คลอไรด์ไอออน โพแทสเซียมไอออน
2.Active Transport
คือการลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อยไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นมาก ผ่านโปรตีนลำเลียงที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งต้องใช้พลังงานจากภายในเซลล์
อธิบายสื่อ เรื่องการเคลื่อนที่ของสารผ่านเข้าออกเซลล์
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!