10 ข้อที่เราอยากให้ครูรู้ ในวันตระหนักรู้ออทิสติกโลก
2 เมษายน ของทุกปี เป็น “วันตระหนักรู้ออทิสติกโลก” (World Autism Awareness Day) insKru ร่วมกับ CARE Thailand ส่งกำลังใจให้คุณครูที่ดูแลนักเรียนผู้มีภาวะออทิสติก ผู้ปกครองของผู้มีภาวะออทิสติก ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ทุกคน ว่าเราต่างมีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ ได้ในแบบของตัวเอง
โดย CARE Thailand ได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น 10 ข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะออทิซึมเข้าไว้ด้วยกัน ชวนคุณครูค่อยๆ ทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน
A. บกพร่องในการสื่อสารทางสังคม และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในหลากหลายบริบท ดังนี้
B. มีพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่ ซ้ำๆ เป็นแบบแผน
- อาการแสดงออกในช่วงแรกของวัยแห่งการพัฒนา (early developmental period)
- อาการส่งผลต่อความบกพร่องในด้านสังคม อาชีพ หรือหน้าที่การทำงานอื่นที่สำคัญ
- ไม่สามารถอธิบายจากความบกพร่องทางสติปัญญา (intellectual disability) หรือความล่าช้าทางพัฒนาการทุกด้าน (global developmental delay)
4. 1% ของประชากรในโลกนี้ มีภาวะออทิซึม
5. ภาวะออทิซึมพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง 4 เท่า
6. ปัจจุบัน ยังไม่สามารถการระบุสาเหตุหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะออทิซึมได้อย่างแน่ชัด และยังไม่มีวิธีการตรวจพบได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ การคัดกรองให้รู้ปัญหาและเข้ารับการดูแลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปฐมวัย สามารถป้องกัน ความรุนแรงของภาวะออทิซึมได้
7. พบเด็กออทิสติกหรือกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม 1 คนต่อเด็ก 161 คน ในเด็กไทยอายุไม่เกิน 5 ขวบ
8. เด็กที่มีภาวะออทิซึม จะมีอาการแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ แต่มีลักษณะร่วมคล้ายกัน ที่เรียกว่า ออทิสติก สถาบันราชานุกูลให้ข้อมูลว่าอาการร่วมที่พบมักเป็น การเรียกไม่หัน ไม่สบตา ไม่สนใจใคร โต้ตอบไม่เป็น เล่นไม่เหมาะสม จินตนาการไม่เป็น ไม่พูดหรือพูดไม่รู้เรื่อง พูดเป็นภาษาต่างดาว ทำอะไรซ้ำๆ เป็นแบบแผน ไม่ยืดหยุ่น สนใจบางอย่างแบบหมกมุ่น อยู่ในโลกของตัวเองมาก สนใจสิ่งแวดล้อมน้อย รายที่มีภาวะอยู่ในโลกของตัวเองมากจะกระตุ้นตัวเองเป็นระยะ เช่น หมุนตัว โยกตัว เขย่งเท้า สะบัดมือ เล่นมือ เล่นเสียง เป็นต้น
9. เด็กที่มีภาวะออทิซึมที่ไม่สามารถพูดได้ ไม่ได้หมายความว่าจะสื่อสารกับผู้อื่นไม่ได้เลย หากได้รับการบำบัดพัฒนาการอย่างเหมาะสม ก็มีโอกาสที่จะสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
10. เด็กที่มีภาวะออทิซึมมีความสามารถที่จะพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ได้
หากคุณครูมีข้อสงสัย หรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนที่มีภาวะออทิซึม ติดต่อได้ที่ CARE Thailand https://www.facebook.com/CAREThailandSchool
ข้อมูลอ้างอิง
นพ. ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา, editor. Autism Spectrum Disorder; [updated July 2561; cited 19 July 2021]. Available from: https://www.happyhomeclinic.com/au02-autism.htm
Centers for Disease Control and Prevention [Internet]. National Center on Birth Defects and Developmental Disabilities; What is Autism Spectrum Disorder? [updated March 25, 2020; cited 22 Mar 2021]. Available from: https://www.cdc.gov/ncbddd/autism/facts.html
Centers for Disease Control and Prevention [Internet]. Data & Statistics on Autism Spectrum Disorder; [updated 25 Sep 2020; cited 25 Mar 2021]. Available from: https://www.cdc.gov/ncbddd/autism/data.html
American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed.). https://doi.org/10.1176/appi.books.9780890425596
Maenner, M. J., Warren, Z., Williams, A. R., Amoakohene, E., Bakian, A. V., Bilder, D. A., Durkin, M. S., Fitzgerald, R. T., Furnier, S. M., Hughes, M. M., Ladd-Acosta, C. M., McArthur, D., Pas, E. T., Salinas, A., Vehorn, A., Williams, S., Esler, A., Grzybowski, A., Hall-Lande, J., . . . Shaw, K. A. (2023). Prevalence and Characteristics of Autism Spectrum Disorder Among Children Aged 8 Years — Autism and Developmental Disabilities Monitoring Network, 11 Sites, United States, 2020. Morbidity and Mortality Weekly Report , 72(2), 1–14. https://doi.org/10.15585/mmwr.ss7202a1
Rajanukul.go.th [Internet]. ออทิสติก (AUTISTIC DISORDER); [updated n.d.; cited 20 Mar 2021]. Available from: https://th.rajanukul.go.th/preview-4005.html
Rajanukul.go.th [Internet]. รณรงค์ตระหนักรู้ออทิสซึมโลก 2 เมษายน; [updated 2 April 2017; cited 23 Mar 2021]. Available from: https://th.rajanukul.go.th/preview-3179.html
Rajanukul.go.th [Internet]. ออทิสติก (AUTISTIC DISORDER); [updated n.d.; cited 19 Mar 2021]. Available from: https://th.rajanukul.go.th/preview-4005.html
Kayla R. Randall, Brian D. Greer, Sean W. Smith, Ryan T. Kimball, Sustaining behavior reduction by transitioning the topography of the functional communication response, Journal of Applied Behavior Analysis, 10.1002/jaba.824, 54, 3, (1013-1031), (2021).
Srivastava, A. K., & Schwartz, C. E. (2014). Intellectual disability and autism spectrum disorders: causal genes and molecular mechanisms. Neuroscience & Biobehavioral Reviews, 46, 161-174.
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2939284522953636&type=3
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!