เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพื่อเข้าใจความเป็นไป ณ ปัจจุบันได้..
ไอเดียนี้ได้ต้นแบบจาก กิจกรรม ถ้าโลกนี้เปลี่ยนไป ของ อ.กนก จันทรา
สภาพภูมิอากาศ ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน และมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น ความสูง ลม มรสุม ความใกล้-ไกลทะเล ที่ตั้งตามละติจูด รวมถึงแนวการวางตัวของเทือกเขา ก็มีส่วน
เป้าหมาย : ฝึกการให้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ เข้าใจระบบธรรมชาติและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในระบบธรรมชาติ (ภูเขา กับ มรสุม)
ปล. ในที่นี้ยกปัจจัยมา 2 ตัว คือ ภูเขา กับ มรสุม แต่ในความเป็นจริง สภาพอากาศมันมีปัจจัยอื่นอีกเยอะที่เกี่ยวข้อง
คำถามหลัก : ถ้า...ทิศทางแนวการวางตัวของเทือกเขาในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป(ในหลากหลายแบบ) ในขณะที่ทิศทางมรสุมและช่วงเวลาของมรสุมฯ ยังคงเดิม แล้ว...สภาพภูมิอาศในพื้นที่ต่าง ๆ ตามที่กำหนดจะเป็นอย่างไร รวมถึงในพื้นที่จังหวัดที่นักเรียนอยู่ (กำแพงเพชร) อากาศจะเป็นอย่างไร
เป็นการเรียนรู้ที่ขยายขอบเขตแดนของความเป็นจริง(ทิศทางเทือกเขาในปัจจุบัน) สู่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (เทือกเขาที่เปลี่ยนแปลงไป) ใช้ทักษะการคิดขั้นสูง(จินตนาการ) ที่เชื่อมโยงปรากฎการณ์ในธรรมชาติ และประสบการณ์ความรู้ ความเข้าใจเดิม เพื่อยืนยันว่า นักเรียนเข้าใจหลักการปฏิสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ในระบบธรรมชาติหรือไม่ และสามารถให้เหตุผลทางภูมิศาสตร์เพื่อระบุความเข้าใจของตนเองได้
ขั้นตอน (รู้จักสภาพการณ์จริง-วิเคราะห์องค์ประกอบ-หาความสัมพันธ์-จินตนาการนอกกรอบ-เข้าใจสภาพปัจจุบัน)
ต.ค-ก.พ. หมายถึง ลมหนาว มรสุม ต.อ./เหนือ
พ.ค.- ก.ย. หมายถึง ลมฝน มรสุม ต.ต./ใต้
ไอเดียนี้ได้ต้นแบบจาก กิจกรรม ถ้าโลกนี้เปลี่ยนไป ของ อ.กนก จันทรา
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!