การเขียน ถือเป็นทักษะที่สำถือว่ายากที่สุดในการเรียนรู้ภาษาทุกภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง และ "การเขียนจดหมาย" ที่นับว่าเป็นการเขียนทางการที่มีความสำคัญมาก ในการที่จะติดต่อบุคคล หรือหน่วยงานต่าง ๆ
และการเขียนจดหมายก็เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในวิชาภาษาไทยในระดับประถมศึกษาที่คุณครูในระดับประถมศึกษาทุกคนต้องสอนให้กับนักเรียน
การเรียนการเขียนจดหมายเมื่อกรยังเด็ก กรจำได้อย่างสนิทใจว่าคุณครูตอน ป.6 ให้เขียนจดหมายถึงเพื่อนต่างโรงเรียน (ซึ่งก็เป็นโรงเรียนที่คุณครูกำหนด) และต้องเป็นเพื่อนต่างโรงเรียนที่เลขที่เดียวกันกับเราด้วย แต่ตอนนั้นจำได้เลยว่า ไม่รู้จะเขียนอะไรถึงเพื่อน ที่แม้แต่หน้าเราก็ไม่เคยเห็น การเขียนสำหรับเด็ก ป.6 ณ เวลานั้น เป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับกร นักเรียนที่ถูกสอนมาให้ท่องจำมาโดยตลอด ไม่ได้ถูกสอนให้ฝึกคิดเองสักเท่าไหร่ ยิ่งเป็นการเขียนจดหมายอีก ก็ยิ่งถือว่ายากแล้ว ยังต้องมาแต่งเรื่องราวเพื่อเขียนถึงเพื่อนต่างโรงเรียนที่เลขที่เดียวกัน ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามีเลขที่เดียวกันหรือเปล่าโรงเรียนนั้น 555555555 จำได้เลยว่า ไม่มีจดหมายตอบกลับมาหลังจากคุณครูให้เราส่งจดหมายไปแล้ว
นั้นคงเป็นความทรงจำเกี่ยวกับการเขียนจดหมายของกรในวัยเด็ก พอเรามาเป็นครูจริง ๆ เราจึงคิดว่า "ทำไมเราไม่ทำให้จดหมายที่เราเขียนนั้นง่ายต่อการเขียนเนื้อความและมีความหมายมากที่สุดหล่ะ ?"
จึงกลายเป็นที่มาของการสอนการเขียนจดหมายที่กรใช้สอนนักเรียนจริง ๆ ในวันนี้ นั้นคือ"กิจกรรม เขียนจดหมายถึงเพื่อนที่ดีที่สุด"
โจทย์สำคัญของการสอนเขียนจดหมายของการในครั้งนี้มีอยู่ 2 ประการ อย่างแรก คือ คนที่กรให้นักเรียนเขียนถึงนักเรียนต้องรู้จักเป็นอย่างดีเพราะจะทำให้นักเรียนไม่รู้สึกว่าต้องฝืนเขียนหรือแต่งเรื่องขึ้นมาเหมือนตอนกรเด็ก ๆ ที่ต้องเขียนจดหมายหาเพื่อนต่างโรงเรียนที่ไม่รู้จักกัน (ครูดูเก็บกฎไหม 5555555) อย่างที่สอง คือ การเขียนจดหมายในครั้งนี้ เนื้อหาในจดหมายต้องมีคุณค่ากับนักเรียนด้วย
หลังจากที่กรลองมานั่งคิดไตร่ตรองอย่างดีแล้วว่าทำอย่างไรจึงจะตอบโจทย์ทั้ง 2 อย่างที่กรคิดไว้ กรก็เลยถามตัวเองว่า "ทำไมเราไม่ลองเขียนจดหมายหาตัวเอง เหมือนเขียนเพื่อบอก เตือน ตั้งคำถาม หรือทบทวนตัวเราเองดูหล่ะ" ซึ่งการเขียนจดหมายหาตนเอง ก็สามารถตอบโจทย์ทั้ง 2 อย่างที่กรต้องการด้วย คือนักเรียนต้องรู้จักตัวเองดีกว่าการรู้จักคนอื่นแน่นอน และอยากจะสอนนักเรียนด้วย หลังจากที่นักเรียนเรียน online มานาน นักเรียนหลาย ๆ คน กลับมาเรียน onsite ก็อาจจะไม่ได้มีทักษะการเข้าสังคมที่ดีนัก ยังเล่นกับเพื่อไม่เป็น หรือบางทีเล่นเป็นแต่เข้ากับเพื่อนไม่ได้ หรือบางทีเพื่อนกลุ่มเดิมก็ไปมีเพื่อนใหม่ไปเสียแล้ว แล้วนักเรียนในช่วงต้นเทอมก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับเพื่อนเป็นอย่างมาก บทเรียนอีกหนึ่งบทเรียนที่กรต้องการจะสอนนักเรียนอีกอย่างนั้นก็คือ ถึงแม้ว่าเราจะรู้สึกว่าเราไม่มีเพื่อน ไม่มีใครรักเราก็ตาม แต่ขอให้นักเรียนจงพึงระลึกว่า เราต้อง "รักตัวเอง" เพราะเพื่อนที่ดีที่สุดในชีวิตเรา ที่คอยอยู่ข้างตัวเรามาตลอด นั้นคือ "ตัวเราเอง" เหตุผลที่กล่าวมาก็จะตอบโจทย์ในประเด็นที่สอง คือ "เนื้อหาในจดหมายต้องมีคุณค่ากับนักเรียนด้วย"
ต่อมากรจึงคิดว่า "แล้วกรจะให้นักเรียนเขียนอะไรถึงตนเอง จึงน่าจะมีประโยชน์กับนักเรียนมากที่สุด ?" ก็เลยมาคิดดูว่าเอ๊ะ นักเรียนเราเรียนออนไลน์ตอน ป.2 และ ป.3 มา มาเรียนที่โรงเรียนแค่ปีเดียวคือตอน ป.1 การกลับมาโรงเรียนครั้งนี้ก็เสมือนการมาโรงเรียนครั้งแรก เพราะตอนที่มาตอน ป.1 ก็คงจะลืมไปหมดแล้ว 55555555 กรจึงตกผลึกได้ว่าให้เขาเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนดีกว่า จึงได้เป็นเนื้อหาสามส่วนตามการเขียนจดหมาย คือ ....
จุดสำคัญคือในย่อหน้าที่ 2 และ 3 โดยในย่อหน้าทั้งสองจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ นักเรียนหลาย ๆ คนพอมาโรงเรียนจนถึงตอนนี้ หลาย ๆ คนรู้สึกว่าไม่ได้มีความสุขกับการมาโรงเรียน อาจด้วยเพราะเหตุผลหลายประการ เรียนไม่เข้าใจเพราะพื้นฐานไม่ดีจากการเรียน online มาตลอด 2 ปี เข้ากับเพื่อนไม่ได้ หรือติดการเรียนอยู่บ้านแล้ว เป็นต้น กรจึงตัดสินใจให้เค้าได้ลองเขียนดูสิว่า เอ๊ะ การมาโรงเรียนก็มีเรื่องดี ๆ ที่เราชอบอยู่นะ มีอะไรบ้างหล่ะ ก็ลองอธิบายมาดูหน่อย โรงเรียนมันจะมีแต่สิ่งที่เราไม่ชอบได้ยังไงหล่ะ
ย่อหน้าที่สามก็เป็นส่วนที่สำคัญเหมือนกัน กล่าวคือ นักเรียนจะได้สะท้อนคิดกับตนเองว่าการกลับมาโรงเรียนในรูปแบบ onsite ครั้งนี้ เราพบเจอประเด็นอะไรในตัวเราที่อยากจะปรับปรุงให้ได้ใน 3 เดือนไหม (ที่เป็น 3 เพราะจะหมดเทอมแรก) พอเรารู้เรื่องที่เราควรจะปรับปรุง เราจะได้ตั้งเป้าหมายได้ถูกต้อง ว่าเอ๊ะ ถ้าเราทำสิ่งนี้ให้ดีขึ้น น่าจะเป็นผลดีกับเรานะ ก็เป็นการสอนให้นักเรียนรู้จัดตั้งเป้าหมายไปด้วย
โดยกรวางแผนไว้แล้วว่าจดหมายฉบับนี้นอกจากจะเป็นการตรวจให้คะแนนกับนักเรียนแล้ว กรจะนำจดหมายดังกล่าวมาให้นักเรียนตอนหมดเทอมด้วย
เพื่อให้นักเรียนได้ลองสะท้อนคิดกับตนเองว่า "สิ่งที่เราเขียนกับตนเองตอนต้นเทอม ทั้งความสุขที่อยู่ในโรงเรียนเราได้หลงลืมมันไปหรือเปล่า หรือมัวแต่จมอยู่กับความทุกข์ และสิ่งที่เราต้องปรับปรุงตนเองได้ทำบ้างหรือยัง"
ตัวอย่างจดหมายที่กรให้นักเรียนดู
ภาพบรรยากาศตอนสอน
ทุกคนตั้งใจทำมาก ครูก็วิ่งช่วยนักเรียนสะกดคำที่เขียนไม่ได้ ไม่ยอมบอกตรง ๆ ไม่งั้นก็เขียนไม่ได้สักที 5555
ภาพตอนหมดเทอมแรก กรก็แจกจดหมายคืนนักเรียน และให้ลองอ่าน มีนักเรียนหลาย ๆ คนร้องไห้กับข้อความที่ตัวเองเขียนด้วย เขาคงได้เรียนรู้อะไรสักอย่างนั้นแหละจากสิ่งที่ตนเองเขียน
ภาพตัวอย่างจดหมายของนักเรียน
ป.ล. ครูกรรู้สึกดีใจมากที่ได้ให้นักเรียนทำกิจกรรมนี้ รักและคิดถึงนักเรียนทุกคนมาก
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย