ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เราทุกคนพบเห็นได้บ่อยครั้งนั้นคือการเกิดฟ้าผ่า แต่ก่อนจะเกิดฟ้าผ่านั้นส่วนใหญ่เราจะได้ยินเสียงฟ้าร้องก่อน นักเรียนจะมีวิธีการป้องกันอันตรายและมีวิธีการสังเกตได้อย่างไร มาเรียนรู้กันเลย
ขั้นนำ >> ขั้นนี้คุณครูชวนเด็กๆ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับฟ้าผ่าว่านักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าพื้นที่ที่นักเรียนอยู่ปลอดภัยจากอัตรายจากฟ้าผ่า และมีวิธีป้องกันอย่างไร
นักเรียนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าถ้าท้องฟ้ามืดครึ้ม และมีเสียงฟ้าร้อง และเกิดฟ้าผ่าอยู่ใกล้ๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้นถึงจะอันตราย
ในความเป็นจริงแล้ว ฟ้าผ่าสามารถผ่าออกไปได้ไกลจากก้อนเมฆถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือ แม้ท้องฟ้าเหนือศีรษะของเราจะดูปลอดโปร่ง แต่เราอาจจะถูกฟ้าผ่า (แบบบวก) ได้ หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ห่างไกลออกไปได้ราว 30 กิโลเมตร
และหากออกไปนอกบ้านขณะเกิดฝนฟ้าคะนองมีวิธีสังเกตเรื่องฟ้าผ่าอย่างไร ?
>> ครูอธิบายนักเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎ 30/30 นั่นคือ ถ้าได้ยินเสียงฟ้าร้องไม่เกิน 30 วินาที เมฆผนฟ้าคะนองอยู่ใกล้ และควรจะหลบอยู่ในอาคารจนกว่าได้ยินเสียงฟ้าผ่าหนสุดท้ายนานเกิน 30 นาที
ขั้นอธิบายและเรียนรู้ >> เราจะรู้ได้อย่างไรถ้าเกิดฟ้าผ่าที่โรงเรียนของเรา โดยที่เราอยู่ที่บ้านจะปลอดภัย ???
อุปกรณ์ 1. โทรศัพท์มือถือ
2. google map
ขั้นนี้ให้เด็กๆ ใช้โทรศัพท์มือถือเข้าแอพพลิเคชัน google map และเลือกสถานที่เป็นโรงเรียน > เลือกสถานที่ใกล้ๆ > กดฟังก์ชัน ระยะทาง > ลากไปที่บ้านของนักเรียน เท่านี้ก็สามารถวัดระยะทางจากโรงเรียนถึงบ้านได้แล้ว (30 กิโลเมตรนะถึงปลอดภัย)
โดยนักเรียนบันทึกระยะทางที่ได้จาก google map ในใบงานบันทึกผลรวมทั้งอุณหภูมิอากาศ ณ เวลานั้นจากโทรศัพท์มือถือเพื่อคำนวณอัตราเร็วของเสียงในอากาศ และขั้นตอนสุดท้ายคือ พิจารณาว่าบ้านของนักเรียนเป็นระยะปลอดภัยหรือไม่ (ระยะทางน้อยกว่า เท่ากับ หรือมากกว่า 30 กิโลเมตร)
ขั้นสรุป >> ครูชวนเด็กๆ สรุปการเรียนรู้ร่วมกัน
ครูแบ่งห้องเรียนออกเป็น 2 ฝั่ง ซ้ายและขวา โดยใครมีโอกาสรอดจากฟ้าผ่าให้ยืนอยู่ฝั่งซ้าย และใครที่ไม่รอดให้ยืนอยู่ฝั่งขวา นักเรียนห้องนี้ยืนอยู่ฝั่งขวาเป็นส่วนใหญ่ นั่นคือ ไม่รอดนั่นเอง
และสุดท้ายครูสุ่มนักเรียนออกมาอธิบายหลักการทางฟิสิกส์ที่ต้องอาศัยความรู้เรื่องเสียง ไฟฟ้า และการเคลื่อนที่แนวตรง ในการทำกิจกรรมครั้งนี้
จากกิจกรรมนี้จะเห็นว่าห้องเรียนที่เต็มไปด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือและเทคโนโลยีก็สามารถจัดการเรียนรู้ในวิชาฟิสิกส์ได้และได้ผลดีด้วย
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!