การสอนวรรณคดีนั้นถือว่าเป็นเรื่องยากอยู่แล้ว แล้วยิ่งเป็นการสอนวรรณคดีในรูปแบบวรรณคดีประเภทบทกลอนให้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษาที่เคยเรียนแต่วรรณคดีประเภทร้อยแก้วมาก่อน ซ้ำร้ายกว่านั้นนักเรียนเหล่านี้เป็นนักเรียนที่เรียนออนไลน์มาตลอด 2 ปี ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 และ ป.2 (ที่เป็นการเรียนในรูปแบบที่พ่อแม่เรียนให้ทั้งหมด 555555555555) ซึ่งนักเรียนเหล่านี้โดยส่วนมากจะมีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (learning loss) ในทุก ๆ ทักษะ ทุก ๆ วิชาเป็นอย่างมาก
การสอนวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอนกำเนิดสุดสาคร จึงเป็นโจทย์ยากสำหรับครูกรเป็นอย่างมาก ในการตัดสินใจว่า เอ๊ะ! ฉันจะสอนยังไงดีนะ 555555555555 มันช่างหลากหลายประเด็นเหลือเกิน ทั้งวรรณดีประเภทบทกลอนครั้งแรก ซ้ำร้ายยัง learning loss อีก
แต่ในที่สุดครูกรก็หาวิธีการได้ว่า เออวิธีนี้แหละ น่าจะเหมาะสมที่สุดในการสอนภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ
นั้นคือ การสอนวรรณคดี เรื่อง พระอภัยมณี ตอนกำเนิดสุดสาคร โดยใช้รูปแบบการแสดงละคร ผสมกกับกระบวนการกลุ่ม และการสอนในรูปแบบ jigzaw เข้ามาผสมผสานในคาบนี้ จนกลายเป็นการสอนที่มีชื่อว่า "กิจกรรม : ถอดคำประพันธ์ สร้างสรรค์เป็นละคร"
เริ่มต้นการสอนในครั้งนี้ กรเริ่มต้นจากการตั้งประเด็นว่า ถ้าเราให้นักเรียนเรียนวรรณคดีนััน ถึงจะยากอย่างไร ก็ต้องลองให้เขาได้ลองถอดคำประพันธ์ หรือกล่าวง่าย ๆ นั้นคือการแปลกลอนให้อยู่ในรูปแบบร้อยแก้วที่คนปกติทั่วไปเข้าใจได้ เพราะถ้าเราไม่เริ่มสอนนักเรียนให้ได้ลองถอดคำประพันธ์เอง เมื่อนักเรียนไปสู่ระดับชั้นถัดไปในระดับ ป.4 ที่เนื้อหายากขึ้น นักเรียนจะยากที่จะเรียนรู้ และอาจจะเป็นแผลทางการเรียนรู้ของการเรียนวรรณคดีที่จริง ๆ แล้วนั้นสนุกที่สุดในทุกสาระของการเรียนวิชาภาษาไทยไป กรจึงตั้งโจทย์ไว้ว่าอย่างแรกนักเรียนต้องได้ถอดคำประพันธ์เอง คุณครูจะไม่มาถอดคำประพันะ์ให้ทั้งหมด หรือการสอนแบบเอาง่ายเข้าว่า ถอดให้นักเรียนไปเลยจะได้ไม่วุ่นวาย กรว่าการสอนแบบนั้นนักเรียนจะไม่ได้เรียนรู้ และไม่รู้สึกมีส่วนร่วมกับการเรียนเลย
ต่อมากรตั้งเป้าหมายว่า กรอยากให้นักเรียนได้เอาเนื้อหาที่นักเรียนได้ถอดคำประพันธ์ มาทำเป็นละครแสดงกันในห้อง โดยแบ่งเป็น ๆ ตอน ๆ โดยแต่ละกลุ่มจะได้เนื้อหาของเรื่องแตกต่างกันไป เพื่อให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน จากที่กรสังเกตนักเรียนมาตั้งแต่เปิดเรียนว่านักเรียนค่อนข้างมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน หรือนักเรียนบางคนก็ไม่มีเพื่อนจากการที่เรียนออนไลน์เป็นระยะเวลานาน นอกจากนั้นนักเรียนหลาย ๆ คนยังมีปัญหาในการเล่นกับเพื่อน ทำงานกับเพื่อน กรจึงคิดว่าถึงแม้ว่าการให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มจะต้องมีปัญหาแน่นอน แต่ปัญหานั้นแหละคือความสำเร็จของกร กล่าวคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานกลุ่ม จะค่อย ๆ หล่อหลอมให้นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานกับผู้อื่นเป็น และจะส่งผลเรียนกับนักเรียนไม่ใช่แค่ต่อการเรียนเพียงเท่านั้น จะส่งผลดีต่อเค้าเมื่อออกไปอยู่กับสังคมภายนอกอีกด้วย
โดยการสอนดังกล่าวกรเริ่มต้นจากการให้นักเรียนได้มีกิจกรรมล่วงหน้ามาก่อนที่จะเริ่มเรียนเนื้อหาดังกล่าวถึง 2 สัปดาห์ โดยกรได้ทำการแบ่งเนื้อหาของพระอภัยมณี ตอนกำเนิดสุดสาคร เป็นทั้งหมด 6 ตอน โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม และก็ทำกระดาษของบทกลอนตามตอนที่กรแบ่งแจกให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม โดยให้ไปลองถอดคำประพันธ์ด้วยตนเอง เปิดอินเทอร์เน็ต สอบถามผู้ปกครอง ถามพี่ หรือมาถามครูกรก็ได้ โดยให้แปะกระดาษนั้นลงสมุด และลองถอดคำประพันธ์ตามที่ตนเองถอดได้มาก่อน และรวมเป็นกลุ่มมาส่งคุณครูก่อนสอนจริง 1 สัปดาห์ เพื่อให้กรได้ตรวจทานงานที่นักเรียนได้ทำมา และสามารถที่จะแนะนำวิธีการถอดคำประพันธ์ให้กับนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ไป โดยให้นักเรียนนัดเวลากรมาเพื่อปรึกษาว่าที่ตนเองถอดกันในกลุ่มนั้นถูกหรือไม่
ภาพ ตัวอย่างของกลุ่มที่ 1 ที่กรตัดตอนมาแล้วปริ้นแจกให้นักเรียนในกลุ่มที่ 1 ลองไปถอดคำประพันธ์มาก่อนล่วงหน้า
(การให้นักเรียนทำแบบนี้ก็เป็นการประยุกต์การใช้ห้องเรียนกลับด้าน (flipped classroom) มาให้นักเรียนได้ลองศึกษาเนื้อหาที่กำลังจะเรียนมาก่อน ฟังดูแล้วอาจจะดูยากสำหรับเด็ก ป.3 แต่กรเชื่อว่านักเรียนทำได้ และนักเรียนโดยส่วนมากก็ทำได้จริง ๆ ครับ ดังนั้นอย่าได้กลัวเลยกับสิ่งที่เรากำลังจะสอนนักเรียน ลองไปเถอะ ได้ไม่ได้ค่อยว่ากันอีกที)
ภาพ สไลด์ที่ชี้แจงนักเรียนตอนก่อนสอน 2 สัปดาห์ว่าเรากำลังจะทำอะไรมีหน้าที่อะไรบ้าง
เมื่อถึงสัปดาห์ที่นักเรียนจะต้องแสดง นักเรียนแต่ละกลุ่มก็ได้มาปรึกษากรเกี่ยวกับเนื้อหาที่ถอดคำประพันธ์ได้ทุกกลุ่มจริง ๆ (เป็นเรื่องที่กรตกใจมากว่านักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี นักเรียนส่วนมากตั้งใจทำมาก เขามาบอกกรว่าอยากแสดงออกมาให้ดีที่สุด)
โดยรูปแบบการสอนของกรนั้นจะเริ่มทำความเข้าใจกับนักเรียนก่อนว่า การที่เพื่อนออกมาแสดงนั้น ไม่ใช่ว่านักเรียนจะทำอะไรก็ได้ขณะที่เพื่อนแสดง (กรมีบทเรียนมาแล้วตอนคาบก่อนหน้าให้ฟังเพื่อนนำเสนองานแล้วมัวแต่สนใจงานตัวเองไม่ฟังเพื่อน) โดยขณะที่เพื่อนแสดงนักเรียนต้องจดลงในสมุดว่าในตอนดังกล่าวที่เพื่อนแสดง เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างโดยย่อ เพื่อให้นักเรียนได้เอาเนื้อหาที่ตนจดไปทบทวนได้หลังจากที่เรียนเสร็จแล้ว และกรก็สามารถใช้เป็นคะแนนเก็บระหว่างเรียนได้อีกด้วย
ภาพ ตัวอย่างของการจดสรุปใจความว่าเพื่อนแสดงอะไรบ้างที่กรให้นักเรียนดู
และนอกจากนั้นกรยังมีข้อตกลงที่ต้องสื่อสารกับนักเรียนให้รับทราบโดยทั้วกันเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายอีกด้วย
การทำเช่นนี้ก็จะทำให้นักเรียนทราบว่าต้องทำสิ่งใดบ้าง
และนอกจากจะมีงานในสมุดแล้วกรยังมีการประยุกต์การใช้ kahoot เข้ามาใช้เพื่อสรุปเนื้อหาในแต่ละตอนที่เพื่อน ๆ ออกมาแสดงให้นักเรียนเรียนรู้ในรูปแบบข้อคำถามด้วย แต่ข้อจำกัดของนักเรียนโรงเรียนกรนั้นไม่สามารถนำโทรศัพท์มาโรงเรียนได้กรจึงประยุกต์ใช้ในรูปแบบดังภาพนี้
ภาพ วิธีการตอบ kahoot ในรูปแบบที่ไม่มีโทรศัพท์ที่กรประยุกต์ใช้
ภาพ ตัวอย่างข้อคำถามที่กรสร้างขึ้นใน kahoot เพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนเนื้อหาและกรได้ชี้ประเด็นของแต่ละกลุ่มที่แสดง
ลิงก์ kahoot ที่กรทำขึ้น (คุณครูเอาไปใช้ได้เลยครับ) : create.kahoot.it/details/109f1b82-ec9f-451d-a7bc-cc054826005c
และ create.kahoot.it/details/c83afc39-bbdf-47a1-8dcb-1eb0adde58fb
กล่าวโดยสรุปว่า ในขณะที่เพื่อน ๆ กำลังแสดงนักเรียนต้องตั้งใจฟัง และดูเป็นอย่างมาก เพราะต้องทำสรุปส่ง และต้องตอบคำถามผ่าน kahoot แบบสนุก ๆ จอย ๆ หลังจากที่แต่ละกลุ่มแสดงจบด้วย ซึ่งก็ได้ผลเป็นอย่างดีครับ ทุกคนตั้งใจชมมาก ไม่ทำอย่างอื่นเลยในขณะที่เพื่อนแสดง
โดยรูปแบบการดำเนินกิจกรรมของกร ก็เริ่มด้วยการทบกวนเนื้อหาของกลุ่มก่อนหน้าก่อนว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพื่อให้นักเรียนสามารถประติดประต่อเนื้อหาได้
ภาพ ตัวอย่างสไลด์ที่กรใช้ทบทวนเนื้อหาของกลุ่มก่อนนห้าก่อนจะให้กลุ่มต่อไปแสดง
จากนั้นก็ค่อย ๆ เชิญทีละกลุ่มออกมาแสดงทีละกลุ่ม
ภาพ สไลด์ที่จะเปิดตอนที่นักเรียนพากย์ และแสดง โดยจะให้นักเรียนอ่านบทกลอนก่อนที่จะเริ่มแสดง เพื่อให้เพื่อน ๆ กลุ่มอื่นๆ ได้เห็นด้วยว่ากลุ่มอื่นนั้นถอดคำประพันธ์อย่างไร
โดยหลังจากที่แต่ละกลุ่มแสดงเสร็จเรียบร้อยกรก็จะถามนักเรียนว่า ...
หลังจากมีตัวแทนตอบว่าเขาจับใจความได้อย่างไรบ้าง กรก็จะเริ่มแนะนำนักเรียนว่าจริง ๆ ใจความของกลุ่มแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไรบ้าง แล้วก็ให้นักเรียนจดเพิ่มเติมลงในงานที่กรได้สั่งไปตอนต้นคาบ
การทำเช่นนี้ก็จะเป็นการสรุปเนื้อหาแต่ละตอนให้นักเรียนได้ฟังอีกรอบ และเป็นการชวนนักเรียนสังเกตวิธีการถอดคำประพันธ์ที่ถูกต้องด้วย
และในตอนท้ายของการเฉลยว่าใจความสำคัญของกลุ่มที่เพิ่งแสดงจบคืออะไรบ้าง กรก็จะให้นักเรียนลองทำ kahoot เพื่อทดสอบว่านักเรียนมีความเข้าใจเนื้อหาที่เพิ่งเรียนไปในแต่ละกลุ่มหรือไม่
โดยในคาบที่ 1 จะแสดงทั้งหมด 3 กลุ่ม และคาบที่สองจะแสดงอีก 3 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 6 กลุ่ม ซึ่งก็จะจบเนื้อหาที่กรแบ่งมาพอดี โดยเมื่อจบแต่ละคาบกรก็จะเปิดจอยลดาที่กรทำขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาของคาบนั้นให้นักเรียนดูเพื่อเป็นการสรุปบทเรียน โดยสามารถไปอ่านเนื้อหาเต็ม ๆ และโหลดจอยลดาที่กรทำขึ้นได้จากโพสต์นี้เลย ลิงก์ : inskru.com/idea/-NTTl-0hlyIC3sEy5u3K
เมื่อครบจบการแสดงของนักเรียนทั้ง 6 กลุ่มมาถึงขั้นตอนสำคัญของวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนวรรณคดีเรื่องนี้ กรนั้นก็ไม่จำกัดความคิดนักเรียน เพียงแต่ให้นักเรียนนั้นได้ลองแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนว่า "เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้" โดยที่กรไม่มาจำกัดความคิดนักเรียนว่าต้องเรียนรู้อะไรตามที่หนังสือบอกเท่านั้น
(ภาพ ตอนกรให้นักเรียนสะท้อนคิดด้วยตนเองว่าเราเรียนรู้อะไรจากวรรณคดีเรื่องนี้และเดินแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ เป็นการให้เค้าได้ฝึกคิดวิเคราะห์ไปด้วย)
ภาพตอนจัดกิจกรรม
ป.ล. กรภูมิใจกับตัวเองที่เชื่อมั่นในตัวนักเรียนและตนเองมาก ๆ ที่ตัดสินใจทำกิจกรรมนี้ เหตุการสำคัญที่เป็นจุดเล็ก ๆ ที่ทำให้กรทราบว่ามันสำเร็จนั้นคือ มีนักเรียนในห้อง ep คนหนึ่งที่หลับตลอดในคาบกร ไม่เคยเรียนเลยเพราะฟังภาษาไทยไม่รู้เรื่อง แต่ในคาบเรียนดังกล่าวนักเรียนคนนั้นลุกขึ้นมาแสดงอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถของเขาถึงแม้จะพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ก็ตาม และหลังจากนั้นนักเรียนก็เรียกร้องอยากแสดงละครมาโดยตลอด 55555 กรพูดด้วยความสัตย์จริงว่าคิดถึงนักเรียนทุก ๆ คนมาก ๆ เลย ทุกครั้งที่เขียนรีวิวสิ่งที่สอนก็ยิ่งคิดถึง
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย