กระแสการเลือกตั้งปี66 ที่กำลังร้อนแรงและยิ่งใกล้วันที่ 14 พฤษภาคมมากเท่าไหร่ การเมืองระดับประเทศก็ยิ่งเข็มข้น และด้วยวันเลือกตั้งใกล้วันเปิดเทอมปีการศึกษา 2566 มากๆ น่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการหยิบประเด็นนี้มาพูดคุยในห้องเรียน แต่..... ก็มีวาทกรรมที่ว่า "การเมืองเป็นเรื่องโสมม" กับ "เด็กคือผ้าขาวอันบริสุทธิ์" จะเป็นสิ่งที่ห่างไกลกันจริงอย่างที่เขาว่าหรือไม่? วันนี้เราได้รวบรวมวิธีการง่ายๆที่จะเริ่มพูดคุยเรื่องที่เหมือนจะไกลตัวเด็กๆ เสียเหลือเกิน ให้เข้าใกล้ตัวเด็กๆมากขึ้น เพราะเราเชื่อมาตลอดว่า "ไม่มีอะไรไม่ใช่เรื่องของเด็ก"
1.ทำให้การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัว
- ชี้ให้เด็กๆเห็นผลพวงจากการเมืองที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง เช่น การสร้างข้อตกลงในห้องเรียนที่เชื่อมโยงไปถึงกฎหมายของประเทศ หรือ สิ่งที่เขาเห็น เขาใช้มันทุกวัน ก็อาจเกี่ยวกับการเมืองโดยที่เราอาจจะไม่รู้มาก่อน เช่น พื้นสาธารณะในชุมชน
ตัวอย่างกิจกรรม Reimaing a place. เรียนรู้ชุมชนของเราในฐานะเด็กที่เป็นพลเมือง - insKru
- ดูข่าวไปด้วยกัน การดูข่าวสามารถสร้างบทสนธนาจากเนื้อหาข่าวได้มากมายเลยค่ะ แต่บางภาพข่าวอาจจะมีภาพความรุนแรงจึงสำคัญมากที่คุณครูจะดูไปพร้อมๆกับเขา
จากการดูข่าวกราดยิง ที่นอกจะพูดถึงความรุนแรงได้ แล้วยังสามารถคุยกันเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับความรุนแรงได้ด้วยค่ะ ตัวอย่างจาก PRIDE WEEK for kindergarten - insKru
ข่าวน้ำท่วมที่นำไปสู่การพูดคุยเรื่องผังเมืองได้อย่างไม่น่าเชื่อ น้ำท่วม 2022 - insKru
- รับฟังโดยไม่ตัดสิน แล้วเขาจะกล้าสร้างพูดในสิ่งที่เราคิดไม่ถึงมาก่อน เพราะเด็กๆทุกคนมีสิทธิ ที่จะพูด ตามหลักการประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้เขาพูดในสิ่งที่คิดโดยไม่มีถูกหรือผิด แต่รับฟังในฐานะมนุษย์คนนึง เป็นการเริ่มต้นของ free speech ง่ายๆเลยยย
ลองเปิดโอกาสให้เขาเปลี่ยนแปลงจากสเกลเล็กๆอย่างห้องเรียนของตัวเอง Panta Pussa - เพราะเราเชื่อว่า Freedom of speech is a human right... | Facebook
2.เด็กคือ Future Voter
- การไปเยี่ยมชมรัฐสภา หรือ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ราชการ ถ้ามีโอกาสก็ควรให้เด็กๆได้เห็นสถานที่จริงๆของที่ที่ทำงานการเมืองการปกครอง เพื่อให้เด็กๆได้เห็นภาพรวมว่าคนที่ทำงานการเมือง ทำงานอย่างไร? ทำงานอะไรบ้าง ? และทำงานที่ไหน
ส่วนตัวยังไม่เคยพาเด็กๆไปดูองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลย เพราะว่าช่วงที่ติดต่อไปทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่สะดวก แต่ว่าจะพยายามพาไปให้ได้ในโอกาสหน้า ภาพนี้เด็กๆไปดูการทำงานของคุณตำรวจค่ะ ก็ได้แรงบันดาลใจกลับห้องมาเยอะมากกกกกก
- เปิดโอกาสให้เด็กๆได้ลองใช้กระบวนการทางประชาธิปไตย เช่น การหาเสียง การเลือกตั้ง รวมถึงการนำกระบวนการทางรัฐสภามาปรับใช้ในห้องเรียน
ตัวอย่างกิจกรรม การหาเสียงเลือกตั้งหัวหน้าห้อง
การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหัวหน้าห้อง จาก Democratic Kindergarten - insKru นอกจากการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตยแล้วยังมีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งไว้ด้วย และมีการเลือกตั้งใหม่หลังหมดวาระ เพื่อให้เด็กๆทุกคนได้มีโอกาสเป็นหัวหน้าห้อง
- ไม่ใส่อคติของตัวเองลงไป ทุกคนอาจจะมีจุดยืนทางการเมืองที่ไม่เท่ากัน แต่เด็กเล็กที่พึ่งจะเรียนรู้ว่าการเมืองคืออะไร ควรได้เรียนรู้ความหมายทางการเมืองจากทุกฝ่าย เพื่อให้เขาค้นพบจุดยืนของตัวเองในอนาคต
เช่น การหยิบยกเหตุการณ์ม็อบต่างๆจากหลายๆขั้วทางการเมืองมาคุยกันในห้องเรียน Democratic Kindergarten - insKru
เกษตรกรแข็งขันเป็นกระดูกสันหลังของชาติ - insKru คุยกันเรื่องม็อบชาวนากับเด็กๆก็ได้น้าาา
3.สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การเมือง สำหรับเด็ก
ทุกชิ้นเราใช้เองให้ห้องเรามาแล้วค่ะ คุ้มค่าการลงทุนแน่นอน
- นิทานเรื่อง You matter! เสียดายที่ยังไม่แปลไทย เป็นหนังสือที่คอยบอกเด็กๆว่าเธอน่ะ สำคัญนะ แม้แต่สิ่งมีชีวิตที่เล็กจนมองไม่เห็นยังสำคัญเลย เด็กๆทุกคนถึงจะยังตัวเล็กๆแต่ก็สำคัญนะ
- มาแบบแพ็ค 3 กับ เรื่อง โรงเรียนใหม่ จาก วาดหวังหนังสือชุดที่ 2, คู่มือเอาตัวรอดในโรงเรียน จากกลุ่มนักเรียนเลว และเด็กๆมีความฝัน จาก วาดหวังหนังสือชุดแรก เป็นนิทานที่ encourage ให้เด็กๆหันมามองสิทธิของตัวเองที่พึงมีในโรงเรียน
- นิทานเรื่อง เป็ดน้อย จากวาดหวังหนังสือ ให้เด็กๆเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยไปกับพี่เป็ดน้อย ร่วมถึงการต่อสู้เพื่อหลักการประชาธิปไตย ผ่านการประท้วงต่างๆ
- นิทาน เมื่อสัตว์อยากเลือกตั้ง จาก อันเดร โรดริเกส , ลาริสซส ริเบย์โร , เปาลา เดสกวลโด , เปโดร มาร์กุน นิทานที่พาเด็กๆเข้าสู่การเลือกตั้งเจ้าป่า โดยมี แคนนิเดตจากสัตว์ 4ชนิด โดยเด็กๆจะได้วิเคราะห์นโยบายจากผู้สมัคร เห็นวิธีหาเสียงและลุ้นผลการเลือกตั้งไปพร้อมกับเหล่าสัตว์ป่า มีกิจกรรมท้ายเล่มให้เด็กทำสนุกๆด้วย
- นิทาน นี่แหละเผด็จการ แปลโดย คณะก้าวหน้า นิทานเนื้อหาสุดแซ่บ ที่บอกเล่าเรื่องราวของเผด็จการให้เด็กๆได้ทำความเข้าใจและลองเปรียบเทียบด้วยตัวเอง เนื้อหาก็คือ ซู๊ดดดปากเลยค่ะ
ตัวอย่างการนำไปใช้เล็กๆน้อยๆนะคะ เราชอบยกเนื้อเรื่องมาวิเคราะห์ร่วมกันกับเด็กๆ บางครั้งก็เปรียบเทียบระหว่างเล่ม
- บอร์ดเกม การเมืองจิ๋วๆ ที่ความสนุกไม่จิ๋วเลย แต่อาจจะต้องใช้เวลาอธิบายกติกาและวิธีเล่นสักหน่อยนะคะ แต่พอเล่นไปแล้ว สนุกแน่นอน
"A democracy is not a democracy if it is only for the over 40s." — Leon Hady, Founder Guide Education
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนนะคะ และหวังว่าคงจะทำให้คุณครูปฐมวัยเห็นภาพจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยเกี่ยวกับการเมืองมากขึ้นนะคะ เพราะเด็กในวันนี้คือ voter ในอนาคต