เมฆรวมหยาด-เมฆกลั่นหยด: กลวิธีสร้างสรรค์บทกวี
สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ของ ครูรังสิมันต์ จุลหริก
เมื่อพิจารณาการเกิดเมฆ และฝน กับการสร้างสรรค์บทกวี
ข้าพเจ้าเห็นว่า มีความคล้ายคลึงกันกล่าวคือ “เมฆรวมหยาด”
เป็นกลวิธีการสอนโดยใช้รูปแบบต่าง ๆ ของบทกวีที่มีลักษณะ
ใกล้เคียง สอดคล้องกันมากำหนด การเรียนรู้ตามลำดับ
พิจารณาจำนวนคำ ความหมายเพื่อเพิ่มคำ ในการสื่อความหมาย
ตามธรรมชาติของบทกวีนั้น ๆ เริ่มต้นจากคำจำนวนน้อยขยาย
ไปสู่คำจำนวนมาก จนสามารถสร้างสรรค์เป็นบทกวีแต่ละประเภทได้
ส่วน “เมฆกลั่นหยด” เป็นกลวิธีการสอน เริ่มต้นจากการแสดง
ความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนด เรียกว่า “ระเหยรู้สึก”
ต่อมา คือ การคัดสรรบางความคิดที่เห็นว่าดีที่สุด มาเป็นประเด็นสำคัญ
เพิ่มความสละสลวยได้ตามลำดับขั้น เรียกว่า “ผนึกร้อยแก้ว”
สุดท้ายคือ ตัดคำหรือตัดความให้เหลือน้อยที่สุด ให้เข้าจังหวะของ
กลอนเปล่า กรองคำให้เข้าใจชัดเจน เรียกว่า “กรองแล้วกลั่น”
กลวิธีการสอนแต่งบทกวีแบบ “เมฆรวมหยาด เมฆกลั่นหยด”
จึงสามารถช่วยให้นักเรียนฝึกคิดเพื่อแต่งบทกวีได้ตามแนวทาง
ของตนที่ถนัด บรรลุตามความมุ่งหมายในการสร้างสรรค์งานได้
: ) แรงบันดาลใจและไฟฝัน
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!