วันนี้ขอนำเสนอ “หัวข้อที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน”
ครูผู้สอนจะต้องมีบทบาทในการทำให้ผู้เรียนไม่อึดอัดในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยอาจจะเริ่มจากการเล่าประสบการณ์ของตนเองก่อน เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้เรียน :)
ครูอาจจะเริ่มต้นคาบเรียนด้วยคำถามที่ว่า
“เมื่อถึงฤดูกาลสอบกลางภาค/ปลายภาค/สอบเข้า/สอบเก็บคะแนน/สอบแข่งขัน นักเรียนมีวิธีการเตรียมตัวอย่างไร?”
จากนั้นครูเริ่มเกริ่นประสบการณ์ของตัวเองเกี่ยวกับคำถามที่เคยพบเจอ
คำถามที่ต้องเจอ คือ
A: อ่านหนังสือสอบยังไงอ่ะ?
B: อ่านไม่ทันอ่ะ มีวิธีการเตรียมตัวไหม?
C: แนะนำการเตรียมตัวสอบหน่อยสิ?
คำตอบที่พบบ่อย คือ
D: อ่านเนื้อหาทั้งหมด แล้วค่อยสรุปเป็นภาษาตัวเอง
E: อ่านเท่าที่จะอ่านได้ เพราะไม่ทัน
F: อ่านวิชาที่ไม่ได้เป็นอันดับแรก แล้วค่อยเก็บที่เหลือ
การเตรียมตัวและวิธีการต่าง ๆ
สำหรับการสอบในแต่ละช่วงวัย การเตรียมตัวสอบค่อนข้างแตกต่างกัน
ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ของตัวเอง
🙍🏻♀️ ช่วงประถม-มัธยมต้น เป็นช่วงเวลาที่ตั้งใจเรียนมากกว่าช่วงอื่น ๆ ดังนั้น การเตรียมตัวสอบจะเป็นการอ่านทบทวนและทำแบบฝึกหัดเยอะ ๆ ซึ่งแม่ซื้อหนังสือแบบฝึกหัดมาให้ทำเยอะมาก ๆ
💁🏻♀️ ส่วนช่วงมัธยมปลาย ตั้งใจเรียนบ้างบางวิชา ดังนั้น จะอ่านวิชาตัวเองมั่นใจที่สุดก่อน แล้วเก็บวิชาที่ไม่ได้ไว้ทีหลัง
🙆🏻♀️ ส่วนช่วงมหาวิทยาลัย ตั้งใจเรียนน้อยสุด แต่ก็เรียน ดังนั้น ส่วนใหญ่จะเตรียมตัวสอบกับเพื่อน เพราะเพื่อนในกลุ่มชอบอภิปรายเนื้อหา ซึ่งดีมาก ๆ
❗️สังเกตว่า เราเป็นคนไม่ค่อยเขียนสรุปแยก เพราะว่า จะเขียนในหนังสือและสมุดไว้เลยและก็จะกลับมาอ่านที่เขียนไว้ ง่าย ๆ คือ ขี้เกียจ 🫠
จากนั้นครูค่อยเริ่มให้นักเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตัวเองคนละไม่เกิน 2-3 นาที พร้อมกับสามารถสอบถามเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ ได้เช่นกัน แล้วค่อยสรุปรวมว่าทุกคนมีวิธีใดที่เหมือนหรือแตกต่างกันบ้าง และครูอาจจะคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติมด้วยก็ได้เช่นกัน (แต่แนะนำว่าเราควรเป็นผู้ฟังที่ดีก่อน ✨)
หมายเหตุ: อยากเชิญชวนให้คุณครูทุกท่านอ่านความคิดเห็นของเราเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “คำตอบของนักเรียน/เพื่อน ๆ ในโซเชียลมีเดีย”
#karaboonxeducator #กรบขอสอน #กรบ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!