insKru ขอเปิดเวทีเสนอ 5 แคนดิเดต ไอเดียเจ๋งที่พร้อมพลิกโฉมห้องเรียนให้โดนใจนักเรียน
แอบบอกก่อนเลยว่างานนี้ไม่ต้องเลือก สามารถนำทุกไอเดียมาดัดแปลงและผสมผสานกัน
และยังใช้ได้ทั้งก่อนและระหว่างการสอน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย!
เนื้อหานี้เป็นส่วนหนึ่งจากการบรรยายของคุณเม-สุธิดา สีบุญชู CARE Thailand นักพัฒนาการบำบัดด้านเทคนิคการปรับพฤติกรรม ในกิจกรรม insKru Webinar: Teacher Survival Kit กลวิธีเป็นครูอย่างมีความสุข พร้อมรับมือทุกสถานการณ์ในเทอมหน้า เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 เวลา 10.00-12.00 น.
🎈ความแตกต่างในวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เป็นสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้
บางคนถนัดการฟังมากกว่าการอ่าน บางคนถนัดการดูมากกว่าการฟัง
การทำสื่อให้ได้เห็นเป็นรูปภาพของคุณครู
จะช่วยให้เด็กมองเห็น ประมวลผล และเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น
เหมาะกับวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายของนักเรียนนั่นเอง
🐋ก้าวข้ามความเหนื่อยล้า
วิธีนี้ใช้ได้ไม่ว่าจะครูหรือนักเรียน
เพราะหากใช้พลังงานไปเท่าไหร ก็ยิ่งจะหมดเร็วขึ้นเรื่อยๆ
จะดีกว่ามั้ย ถ้าแบ่งเวลาในการทำงาน แล้วคั่นด้วยการพัก
การพักจะเป็นการเสริมแรงบวกที่ทำให้รู้สึกดีก่อน เเล้วค่อยทำต่อไป
ค่อยๆเพิ่มงานไปทีละนิดๆ อย่าทำจนถึงจุดที่ไม่ไหวเเล้ว
เพราะจะเป็นเเรงลบ เเละทำให้รู้สึกที่อยากหลีกหนีงานขึ้นได้
🏀ปรับเปลี่ยนงานให้เป็นในแบบที่เด็กชอบ
โดยที่ยังคงวัตถุประสงค์ หรือแก่นของงานนั้นๆไว้อยู่
เช่น ถ้านักเรียนไม่อยากเขียน ครูอาจะให้ใช้วิธีพิมพ์งาน หรือ ถ่ายวิดีโอแทน
หรือออกแบบให้เนื้องาน กลายเป็นเกม หรืออะไรที่น่าสนใจก็ได้
เพราะถ้าเด็กเริ่มชอบ เริ่มสนใจแล้วละก็ เด็กก็จะอยากทำงานต่างๆเอง
เเอบกระซิบเลยว่า วิธีนี้คือวิธีที่คุณครูหลายๆท่านแชร์กันอยู่ในเว็บ insKru
สามารถลองเข้าไปดูกันได้เลย
🔷ทั้งครู และนักเรียนออกกฎของห้องที่จะใช้ร่วมกัน
เช่น การถามตอบในห้อง / การไปห้องน้ำ / การใช้โทรศัพท์ในห้อง
ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่จะเริ่มตกลงกัน ตั้งเเต่เริ่มเปิดเทอม
เมื่อเราสร้างกฎขึ้นมาร่วมกัน กฎต่างๆก็จะมีความศักดิ์สิทธิ์ นักเรียนจะพยายามทำตามสุดๆ
สำหรับวิธีนี้ยังมีทริคอีกเล็กน้อยคือ ให้โฟกัสที่นักเรียนที่ทำตามกฎ เพิ่มเสริมเเรงบวกให้กับเขา
ฉายแสงไปที่พฤติกรรมที่อยากให้เป็น คนอื่นๆก็จะพยายามทำตามไปด้วยตัวเอง
🧿ครูสามารถช่วยวางเเนวทาง เเละให้อำนาจในการตัดสินใจของเด็กได้
คล้ายๆกับแคนดิเดตก่อนหน้า เมื่อนักเรียนได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง
ก็จะเกิดความรู้สึกดีที่อยากทำงานเพิ่มขึ้นไปด้วย
สำหรับสิ่งเล็กๆ ที่ไม่เสียหายกับงานทั้งหมด เราก็สามารถให้ตัดสินใจเองได้เลย
เช่น ใช้ดินสอหรือปากกา หรือ นั่งทำงานที่พื้นหรือเก้าอี้
สำหรับอะไรที่อยากให้ทำ เราอาจต้องสนับสนุน เเละให้เหตุผลเพื่อให้นักเรียนตัดสินใจ
ถึงใช้เวลาเพิ่มสักหน่อย เเต่การให้นักเรียนตัดสินใจด้วยตนเอง
ยังเป็นการช่วยสอนให้เกิดความรับผิดชอบอีกด้วย
แท็กที่เกี่ยวข้อง