inskru
gift-close

เกมการศึกษาอุปมา: อวัยวะสำคัญของระบบขับถ่ายทางไต

0
0
ภาพประกอบไอเดีย เกมการศึกษาอุปมา: อวัยวะสำคัญของระบบขับถ่ายทางไต

ที่มา

การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้นักเรียนเห็นภาพและเข้าใจในความรู้นั้นได้อย่างรวดเร็วมีหลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ การจัดการเรียนรู้แบบอุปมาอุปมัย (Analogy) หรือการสอนที่มีรูปแบบคล้ายกันอย่างซินเนคติกส์ (Synectics) ในเนื้อหารายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีตัวชี้วัดหนึ่งตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) กล่าวว่า

ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะในระบบขับถ่ายในการกำจัดของเสียทางไต


ดังนั้น ผู้เขียนจึงออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่ออุปมาอุปมัยสิ่งของบางสิ่งกับเนื้อหาเพื่อให้เห็นภาพและสามารถระบุและบอกหน้าที่ของอวัยวะในระบบขับถ่าย อันได้แก่ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะได้ ผู้เขียนขอนำเสนอใช้แผนภาพสรุปต่อไปนี้

ขั้นตอน

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม ดังนี้

  1. แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 ทีม (ขึ้นกับครู)
  2. อุปมาอุปมัยกิจกรรมเข้ากับอวัยวะในระบบขับถ่ายของเสียของไต เช่น ของเสีย คือ ลูกแก้ว ฯลฯ
  3. จุดที่ 1: ไต มีหน้าที่กรอง "ของเสีย" โดยนักเรียนต้องใช้ช้อนกรอง "ของเสีย (ลูกแก้ว)" ออกจากชาม ดังภาพ
  4. จุดที่ 2: ท่อไต มีหน้าที่นำน้ำปัสสาวะจากไตไปกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งนักเรียนต้องใช้ช้อนขน "ของเสีย (ลูกแก้ว)" ไปตามเส้นทางที่กำหนดจากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 3 ดังภาพ
  5. จุดที่ 3: กระเพาะปัสสาวะ มีหน้าที่เก็บน้ำปัสสาวะ ซึ่งนักเรียนต้องใช้มือข้างใดข้างหนึ่งในการถือ "ของเสีย" ให้ได้มากที่สุด เมื่อนักเรียนรู้สึกว่าตนเองถือเริ่มไม่ไหว ให้นักเรียนไปนั่งเก้าอี้ยังจุดต่อไป
  6. จุดที่ 4: ท่อปัสสาวะ มีหน้าที่นำปัสสาวะออกจากร่างกาย ซึ่งผู้เขียนต้องการให้เกมเกิดความท้าทายจึงให้นักเรียนโยน "ของเสีย" ลงในถัง (เปรียบเสมือนโถ่ปัสสาวะ) ให้สำเร็จ ดังภาพ
  7. ทีมที่สามารถขน "ของเสีย" จากจุดที่ 1 แล้วสามารถโยน "ของเสีย" ลงในถังได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  • เติมแป้งลงไปในจุดที่ 1 ซึ่งจะทำให้นักเรียนตักได้ยากยิ่งขึ้น
  • ทำเส้นทางจุดที่ 2 ให้ซับซ้อนโดยเพิ่มจำนวนเก้าอี้ เพื่อให้นักเรียนต้องใช้ฝีมือในการควบคุมช้อนไม่ให้ลูกแก้วตก


ภาพประกอบ

สามารถจัดสถานที่ ดังภาพต่อไปนี้


ไฟล์ที่แบ่งปัน

    วิทยาศาสตร์ชีววิทยาเกมและกิจกรรมมัธยมต้นประถมทักษะการร่วมมือ

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    0
    ได้แรงบันดาลใจ
    0
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    ครูชอล์กสอนวิทย์มั้ง
    ครูชอล์ก ชอบการวิจัย ชอบการวัดและประเมินทางการศึกษา และชอบเกมมิฟิเคชั่นในบทเรียน

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ