icon
giftClose
profile

ที่มาของไอเดีย หรือ จุดประสงค์การสอน

คาบเรียนนี้เราต้องการทบทวนเนื้อหาเรื่องสารผสม ก่อนที่จะเริ่มเรียนเรื่องการแยกสารเนื้อผสมค่ะ

ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียนด้วยคำถามว่า สารคืออะไร? นักเรียนสังเกตรอบตัวว่า ในห้องมีสิ่งใดที่จัดว่าเป็นสารบ้าง


ขั้นที่ 2 กิจกรรมนักสร้างสาร (กิจกรรมกลุ่ม)

ครูเตรียมสาร ได้แก่ เกลือ พริก น้ำตาล น้ำเปล่า

โจทย์ คือ ให้นักเรียนใช้สารดังกล่าวมาสร้างสารผสม 2 ชนิด ชนิดที่ 1 เนื้อสารกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ชนิดที่ 2 เนื้อสารไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน แค่นี้เลยย

ผ่านไป5นาที มีนักเรียน1กลุ่มเริ่มใช้น้ำเปล่ามาผสมกับเกลือ/น้ำตาลเพื่อให้เนื้อสารกลมกลืนกัน ส่วนอีก2กลุ่ม ใช้เกลือผสมกับน้ำตาล เพราะดูแล้วสีคล้ายๆกัน

เราใช้คำถามว่า เอ๊ะ! ถ้าเรามองดูใกล้ๆ หรือใช้แว่นขยายมาส่อง จนเห็นลักษณะเม็ดเกลือ/น้ำตาลชัดๆ แบบนี้เรียกกลมกลืนมั้ยนะ?


นักเรียน : ถ้าดูใกล้ๆหนูแยกออกค่ะ

ขั้น 3 กล่องสุ่มสาร (ล้วง อ่าน แปะ)
  • นำข้อมูลจากการทำกิจกรรมนักสร้างสารมาจัดกระทำ นักเรียนทราบว่ามีสารผสม 2 ประเภทคือ 1. เนื้อสารกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน 2. เนื้อสารไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน
  • ต่อด้วยกิจกรรม…กล่องสุ่มสาร… นักเรียนทุกคนเขียนชื่อสารผสมที่นักเรียนรู้จักหรือพบในชุมชน ชีวิตประจำวัน ลงในกระดาษแผ่นจิ๋ว หลังจากนั้นม้วนแล้วนำมาหย่อนลงกล่องสุ่ม
  • นักเรียนจับสลากชื่อสารผสม แล้วเพิ่มข้อมูลว่าสารผสมในสลาก มีสถานะใดบ้าง
  • คำตอบส่วนใหญ่คือเมนูอาหาร/ ดินผสมกรวด
  • นำสลากที่เติมข้อมูล(สถานะของสาร)เสร็จแล้วติดลงในผังกราฟิกแบบ เวนน์ ไดอะแกรม เพื่อจัดกลุ่ม

ล้วง อ่าน แปะ

ผลลัพธ์ที่เกิด หรือ คาดว่าจะเกิดขึ้น

  • นักเรียนสามารถบอกและจำแนกสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสมที่พบในชีวิตประจำวันได้
  • ทุกคนสนุกกับการสร้างสารผสมเพราะพริกเกลือคือสิ่งที่เด็กๆชอบทานกับมะม่วงค่ะ 😂 ทุกวันจริงๆ

(ต้องมีแอบแซ่บแอบชิมกันบ้างล่ะ)

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(2)