ห้องเรียนแห่งความสุข
ด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้
ที่ครูโค้ช ต้องเชิญผู้เรียนให้กล้าออกจาก Comfort zone
กล้าที่จะก้าวออกมา เพื่อการเรียนรู้
แม้พื้นที่ถัดมาคือ Fear zone โดยต้องใช้ความกล้าหาญ
แต่หากผู้เรียนรู้ว่ามีครูโค้ช เป็นผู้ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานต์
คอยรับฟัง ถาม สะท้อนกลับ และชื่นชม (สนใจอ่าน คลิกที่นี่ )
การเปิดใจ เข้าสู่ Learning zone ก็เป็นเรื่องง่าย
สู่ Growth zone เพื่อการเติบโตต่อไปได้
ครูโค้ช จึงต้องมีทักษะในการสื่อสาร
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
การตระหนักรู้ (Awareness) ของผู้เรียนจึงเกิดขึ้น
หากเรามาดู Learning Journey
บันไดขั้นแรก ไม่มีใครรู้ว่ายังไม่รู้อะไร
ความสนใจ กระหายอยากรู้จึงไม่เกิดขึ้น
ถ้าครูโค้ช สร้างแรงบันดาลใจ (Passion) ให้ผู้เรียนได้
ผู้เรียนก็จะรู้ว่ามีสิ่งใดที่เขายังไม่รู้อีกบ้าง ซึ่งเป็นบันไดขั้นที่ 2
โดยครูโค้ชอาจใช้ Inquiry Based Learning สร้างโจทย์ปัญหา
หรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องในชีวิต (Life Situations)
เมื่อศิษย์พร้อม ครูก็ปรากฏเอง เพราะผู้เรียนอยากเรียนรู้กับเราแล้ว
นำสู่การฝึกฝืน ฝึกฝน และเรียนรู้ ซึ่งเป็นบันไดขั้นที่ 3
จนเกิดความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ เรียกได้ว่า
Unconscious Competence ซึ่งเป็นบันไดขั้นที่ 4
คือทำโดยอัตโนมัติ จากความเชี่ยวชาญอย่างมืออาชีพ
จุดเปลี่ยน คือ ความสุข
ความสุขในห้องเรียน เกิดจาก ครู
ครู จึงต้องเปลี่ยนบทบาทเป็น ครูโค้ช
ที่ต้องนำพาให้ผู้เรียนของเรา
กล้าที่จะก้าว แล้วเดินร่วมทางไปด้วยกัน
⇧ เพื่อขยายความให้เข้าใจง่ายขึ้น คลิกชมคลิปด้านบน
โดย ดร.เทอดทูน ไทศรีวิชัย กันก่อนนะครับ 🥰
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!